Artificial Intelligence, Innovation
จริงหรือไม่ที่ Google กำลังสร้าง AI ให้กลายเป็น Skynet#6 Fishing / Wildlife
Alan walker – Darkside
สหภาพยุโรป (European Union : EU) ได้ตรวจสอบการควบคุม “ การทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing : IUU) ” ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2554 และพบว่ารัฐบาลไทยไม่มีการปรับปรุงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายการออกกฎหมาย และการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมมาเป็นระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นในเดือนเมษายน 2558 สหภาพยุโรป (EU) ประกาศอย่างเป็นทางการโดยขึ้นบัญชีประเทศไทย เป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และไร้การควบคุม ทั้งนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยมีความล้มเหลวต่อเรื่องนี้
การให้ใบเหลืองแก่ประเทศไทยครั้งนี้สหภาพยุโรป (EU) ให้เวลา 6 เดือนกับรัฐบาลไทยในการดำเนินแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหา หมายความว่า หากยังไม่มีการดำเนินการใดๆภายในเวลาที่กำหนด สหภาพยุโรป (EU) จะให้ใบแดง และระงับการสั่งซื้อสินค้าประมงจากประเทศไทยทันที เช่นเดียวกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับประเทศกัมพูชา กินี และศรีลังกา
pmdu.soc.go.th
เพื่อที่จะปลดใบเหลือง IUU นี้ รัฐบาลไทยมุ่งมั่นผลักดันให้การประมงทั้งระบบของไทยมีมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับในหมู่ประชาคมระหว่างประเทศ ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาไทยได้มีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) จนก้าวหน้าในหลายด้าน ทั้งการออกกรอบกฎหมาย การบริหารจัดการประมง การบริหารจัดการกองเรือ การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง การตรวจสอบย้อนกลับ และการบังคับใช้กฎหมาย ในที่สุดในเดือนมกราคม 2562 “EU” ประกาศปลดล็อกใบเหลืองไอยูยูประมงไทย หลังไทยสอบผ่านการปฏิรูปเพื่อควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)
repository.seafdec.or.th
การติดตั้งระบบติดตามตำแหน่งเรือ (Vessel Monitoring System : VMS) โดยใช้ระบบดาวเทียม เป็นอีกหนึ่งในแผนปฏิบัติการที่กรมประมงเร่งดำเนินการเพื่อให้ประเทศไทยได้บรรลุการเป็นประเทศปลอดการทำการประมงผิดกฎหมายโดยแท้จริง (IUU-free Thailand)
เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) นำมาซึ่งผลกระทบด้านลบต่อ เศรษฐกิจ สังคม ระบบนิเวศทางการประมง และยังส่งผลต่อความมั่งคงทางอาหาร การทำการประมงที่ผิดกฎหมาย IUU ทำให้เกิดการลดลงของปริมาณสัตว์น้ำ และทำลายระบบนิเวศน์อย่างรุนแรง
Vessel Monitoring System หรือ VMS คือระบบติดตามเรือประมงที่หลายประเทศนำมาใช้ควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมงแบบผิดกฎหมาย (IUU) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้การผสมผสานระหว่างอินเทอร์เน็ต จุดพิกัดบอกตำแหน่งด้วยดาวเทียม (GPS) ร่วมกับสัญญาณเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือ (Global Service Mobile : GSM)
ในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้มีการนำระบบติดตามตำแหน่งเรือประมง VMS มาใช้งาน เครื่องมือและอุปกรณ์ของระบบจะถูกติดตั้งบนเรือประมง เพื่อใช้บอกข้อมูลตำแหน่งของเรือและการทำกิจกรรมต่างๆ ของเรือข้อมูลการเดินเรือที่ติดตามนี้จะถูกส่งไปยังศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวังและคาดการณ์สถานการณ์ด้านการประมง สังกัดกรมประมง โดยอัตโนมัติ
Global Fishing Watch
youtube.com
Global Fishing Watch เป็นแพลตฟอร์มเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาโดย Google, SkyTruth (กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม) และ Oceana (องค์กรอนุรักษ์ทะเลระหว่างประเทศ) โดยใช้ข้อมูลที่ถูกส่งมาจาก AIS (Automatic Identification System)
Global Fishing Watch ถูกออกแบบมาให้เป็นเสมือนดวงตาบนท้องฟ้า อยู่ในรูปของ website เผยแพร่ข้อมูลฟรีแก่สาธารณะชน ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ สามารถใช้ตรวจสอบเรือประมงเชิงพาณิชย์ในเวลาจริง (Real time) คอยติดตาม สอดส่อง ดูแล กิจกรรมการทำประมงในน่านน้ำทะเลทั่วโลก
อุปกรณ์ AIS ภาพจาก marinethai.net
AIS (Automatic Identification System) คือระบบระบุตัวตนอัตโนมัติของเรือ โดยใช้ดาวเทียมและตัวรับสัญญาณที่ถูกติดตั้งบนเรือ เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของเรือในช่วงเวลาหนึ่ง AIS ถูกนำไปใช้ในกิจการเดินเรือภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ หน่วยงานทางทะเลระหว่างประเทศ IMO (International Maritime Organization) กำหนดให้ เรือเดินทะเลระหว่างประเทศขนาดตั้งแต่ 300 ตันขึ้นไปและเรือเดินทะเลที่ในประเทศขนาดตั้งแต่ 500 ตันขึ้นไป (ซึ่งมีทั้งเรือประมง, เรือโดยสาร, เรือขนส่งสินค้า ฯลฯ) ต้องติดตั้งอุปกรณ์ AIS ในเรือ มาตั้งแต่ปี 2002
blog.google.com
ในทุกๆวัน ระบบ Global Fishing Watch จะ download “ข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล (Big Data)” ซึ่งเป็นสัญญาณที่ถูกส่งมาจาก AIS จำนวน 22 ล้านสัญญาณ จากเรือมากกว่า 200,000 ลำในทะเล ให้กับ Machine Learning ของ Google ทำการวิเคราะห์และประมวลผลออกมา ทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวในการทำประมงของพื้นที่ต่าง ๆ เราสามารถดูได้ว่า มีการทำประมงที่ไหน เมื่อไร จากทุกมุมโลก เครื่องมือนี้จะมีประโยชน์มาก “รัฐบาลสามารถใช้มันเพื่อตรวจจับการทำประมงผิดกฎหมายในน่านน้ำของประเทศนั้นๆ” นักข่าวและประชาชนสามารถใช้มันเพื่อค้นหากิจกรรมการประมงที่น่าสงสัย เช่น เรือที่ดูเหมือนว่าจะหายไปหรือที่ไม่ได้มาที่ท่าเรือ ด้านผู้จัดจำหน่ายอาหารทะเลก็สามารถใช้ระบบดังกล่าวตรวจสอบได้ว่าสัตว์น้ำที่รับซื้อมาจากแหล่งใด รวมทั้งบริษัทประกันภัยก็สามารถติดตามเรือที่ทำประกันกับบริษัทได้
Luke Bryan – Huntin’, Fishin’ And Lovin’ Every Day
พะยูน (Dugong) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและหายใจด้วยปอด อาศัยอยู่ในทะเลบริเวณชายฝั่งเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน มีการแพร่กระจายตั้งแต่บริเวณชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาอ่าวเปอร์เซีย อินเดีย เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย อาหารหลักของพะยูนคือหญ้าทะเลซึ่งขึ้นตามชายฝั่งที่ตื้น ปัจจุบันพะยูนเป็นสัตว์สงวน ในประเทศไทยพะยูนส่วนใหญ่ถูกล่าเพื่อตัดเขี้ยวไปทำเครื่องรางของขลัง หลายหน่วยงานของไทยเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ทะเลชนิดนี้ ร่วมกันจัดตั้งโครงการปลูกหญ้าทะเลเพื่อหวังต่อชีวิตของพะยูนและฟื้นฟูระบบนิเวศของท้องทะเลไทย
Phys.org
ที่ผ่านมานักชีววิทยาทางทะเลได้ใช้ทีมผู้สังเกตการณ์ผู้เชี่ยวชาญในเครื่องบินลำเล็ก บินสำรวจจำนวนประชากรพะยูน ซึ่งวิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูงและมีความเสี่ยงต่อผู้สังเกตการณ์ที่บินในที่ห่างไกลสำหรับประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ใช้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของสำนักฝนหลวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ บินสำรวจนับจำนวนประชากรของพะยูน รวมทั้งเฝ้าสังเกตและบันทึกพฤติกรรมของพะยูน ทิศทางการเคลื่อนที่ การกินอาหาร การอยู่รวมฝูง การตอบสนองต่อกิจกรรมของมนุษย์ รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ
Google ร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Murdoch ของออสเตรเลีย พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียก Dugong Detector ซึ่งรวมการทำงานของ AI และโดรน เพื่อช่วยค้นหาและอนุรักษ์พะยูนในทะเล นักอนุรักษ์ต้องหาแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน และต้องรู้ให้ได้ว่าจำนวนของพวกมันเพิ่มขึ้นหรือลดลง
นักวิจัยกำลังปล่อยโดรนขึ้นบินเพื่อสำรวจและถ่ายภาพพะยูนในทะเล ภาพจาก qut.edu.au
เทคโนโลยีนี้ใช้โดรนราคาไม่แพงที่มาพร้อมกับกล้องความละเอียดสูงในการจับภาพพะยูนในทะเล พะยูนนั้นง่ายต่อการมองเห็นทางอากาศ เพราะมันชอบขึ้นมาอยู่ใกล้ผิวน้ำเพื่อหายใจ เมื่อได้ภาพถ่ายแล้ว Dugong Detector จะใช้ โครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ซึ่งเป็น AI ประเภท Deep Learning ในการวิเคราะห์และระบุพะยูนจากภาพถ่ายจำนวนนับหมื่นภาพ
วงกลมในภาพแสดงประชากรพะยูนที่ AI ระบุได้จากภาพถ่ายจากโดรน ภาพจาก qut.edu.au
นอกจากช่วยค้นหาและอนุรักษ์พะยูนในทะเลแล้ว Dugong Detector ยังช่วยตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบนิเวศหญ้าทะเล จากจำนวนประชากรของพะยูนที่ Dugong Detector ตรวจวัดได้
nicaonline.com
หญ้าทะเลถือเป็นทรัพยากรที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญมากต่อปริมาณและชนิดของสัตว์น้ำ และบ่งชี้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเล เพราะว่าในแหล่งหญ้าทะเลจะเป็นแหล่งเจริญเติบโต แหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน แหล่งหากินของสัตว์ทะเลนานาชนิด ได้แก่ กุ้ง หอย ปู และปลา นอกจากนี้หญ้าทะเลยังมีส่วนช่วยลดความรุนแรงของกระแสคลื่น ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล
หญ้าทะเลยังเป็นอาหารสำคัญของพะยูนและเต่าทะเล ซึ่งเป็นสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ สัตว์ทะเลทั้งสองชนิดนี้จะกินหญ้าทะเลเป็นอาหารโดยตรง ประชากรของเต่าทะเลและพะยูนกำลังลดลงเรื่อยๆ ซึ่งมักจะเสียชีวิตจากการติดเครื่องมือประมงบางชนิดเช่น อวนทับตลิ่ง อวนรุน อวนลอย และโป๊ะน้ำตื้นของชาวประมงโดยบังเอิญ
ปัจจุบันความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลลดลงและถูกทำลายเป็นจำนวนมาก อีกทั้งหญ้าทะเลในหลายพื้นที่และหลายสายพันธุ์ พบว่ามีการสร้างส่วนสืบพันธุ์น้อย เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม รวมถึงผลกระทบทางอ้อมที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ จากการศึกษาพบว่าหญ้าทะเลหายไปในอัตราร้อยละ 7 ต่อปีทั่วโลก
thoughtco.com
ในการตรวจสอบความอุดมสมบูรณ์ของหญ้าทะเลนั้น เนื่องจากพะยูนกินหญ้าทะเลเป็นอาหารหลัก ถ้าหญ้าทะเลหายไป พะยูนก็จะหายไปด้วย ฉะนั้นจำนวนประชากรของพะยูนจะเป็นเป็นเครื่องวัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศของหญ้าทะเล (Health of Seagrass Ecosystems) ที่ยอดเยี่ยมที่สุด นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้จาก Dugong Detector ยังนำไปสร้างเป็นแผนที่แสดงการกระจายตัวของพะยูนและหญ้าทะเล
Calvin Harris – Pray to God 3 สาว Witches/Vampires สวยแต่ดูน่ากลัวเนอะ
qz.com
Google ร่วมกับนักวิจัยของสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (Zoological Society of London, ZSL) พัฒนา AI ประเภท Machine Learning ขึ้นมาช่วยปกป้องสัตว์ป่าจากนักล่าสัตว์ (Poacher) ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้พิทักษ์และอนุรักษ์สัตว์ป่าด้วยการช่วยให้ระบุชนิดสัตว์ได้เร็วขึ้น
การเฝ้าระวังและปกป้องสัตว์ป่าในที่อาศัยอยู่ตามผืนป่าอันกว้างใหญ่และห่างไกลถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และท้าทายมาก นักอนุรักษ์สัตว์ของ ZSL ใช้กล้อง (Camera traps) จับภาพสัตว์ป่ามาระยะหนึ่งแล้ว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำความเข้าใจการเดินทาง เคลื่อนย้ายของสัตว์ และช่วยให้นักวิทยาศาสตร์พัฒนาแผนการอนุรักษ์สัตว์แต่ละสายพันธุ์
ตัวกล้อง (Camera traps) จะมีเซ็นเซอร์ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวและความร้อนของสิ่งมีชีวิต เมื่อมีสัตว์ป่าหรือมนุษย์เคลื่อนไหวผ่านตัวกล้อง กล้องหนึ่งๆสามารถถ่ายภาพสัตว์หรือมนุษย์ได้ 60 ภาพต่อวัน ถ้าติดตั้งกล้องจำนวน 30 ตัวกระจายทั่วผืนป่า จะได้ภาพประมาณ 500,000 ภาพ ภายใน 6 เดือน ที่ผ่านมานักอนุรักษ์ของ ZSL ใช้วิธีทำเครื่องหมายระบุชนิดสัตว์ลงบนรูปสัตว์แต่ละรูปด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นวิธีที่กินแรงงานคนและใช้เวลานาน บ่อยครั้งที่ใช้เวลาหลายเดือนถึงจะทำงานเสร็จ
แสดงกล้องที่ถูกนำไปติดตั้งที่ต้นไม้เพื่อบันทึกภาพของสัตว์ที่ผ่านเข้ามา ภาพจาก cloud.google.com
แสดงสัตว์ชนิดต่างๆที่กล้องจับภาพได้ ภาพจาก cloud.google.com
ZSL จึงได้พยายามค้นหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลือพวกเขา และค้นพบว่า Machine Learning ของ Google สามารถช่วยพวกเขาในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภาพถ่ายจำนวนมหาศาลได้ภายในเวลาที่รวดเร็ว
Google ได้พัฒนา Machine Learning โดยใช้โปรแกรมที่ซับซ้อน Algorithm ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล ในการฝึกฝน Machine Learning ให้รู้จักสัตว์ชนิดต่างๆ นักวิจัยได้ป้อนภาพตัวอย่างของสัตว์จำนวน 1,500,000 ภาพให้มันเรียนรู้ เมื่อมันเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้ มันจะสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เป็นภาพของสัตว์ต่างๆที่กล้อง (Camera traps) บันทึกมา และระบุชนิดของสัตว์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้มันยังสามารถตรวจจับนักล่าสัตว์ที่บุกรุกเข้ามาในผืนป่าอนุรักษ์ในช่วงเวลาจริง (Real Time) และแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่พิทักษ์สัตว์ป่า ให้มาจัดการกับนักล่าสัตว์เหล่านี้ได้อย่างทันท่วงที