Newsletter subscribe

Artificial Intelligence, Innovation

จริงหรือไม่ที่ Google กำลังสร้าง AI ให้กลายเป็น Skynet#8 Deforestation

Posted: 09/09/2020 at 00:18   /   by   /   comments (0)

 

สืบทอดเจตนา (สืบ นาคะเสถียร) – คาราบาว

 

ป่าไม้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการคงอยู่ของโลก พื้นที่ป่ามีประมาณ 30% ของพื้นที่ๆเป็นแผ่นดินบนโลก (ข้อมูลจาก National Geographic) ป่าเป็นแหล่งผลิตก๊าซอ็อกซิเจน แหล่งที่อยู่อาศัย แหล่งอาหารของทั้งคนและสัตว์ รวมทั้งเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร

การทำลายป่า (Deforestation) มีส่วนสำคัญทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จากรายงานของ กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature – WWF)  15% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas emissions) มาจากการทำลายป่าโดยเฉพาะป่าฝนเขตร้อน

ป่าฝนเขตร้อน (Tropical Rainforest) เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก และยังเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนที่สำคัญที่สุดของโลก ในปัจจุบันป่าฝนเขตร้อนมีพื้นที่เหลืออยู่เพียง 6% ของพื้นผิวโลกและกำลังถูกบุกรุกทำลายอย่างรวดเร็ว ป่าฝนส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรได้แก่ ทวีปอเมริกาใต้  อเมริกากลาง แอฟริกา ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ป่าฝนของประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้

 

thehappyhypocrite.org

bagheera.com

ถ้าหากว่ายังคงมีการตัดไม้ทำลายป่าอยู่เรื่อยๆ จำนวนต้นไม้ที่ลดลง นั่นหมายถึง ตัวผลิตก๊าซออกซิเจนและตัวดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ลดลง ทำให้โลกมีก๊าซออกซิเจนน้อยลง และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากมา ซึ่งนำไปสู่ภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก นอกจากนี้ต้นไม้ที่กำลังย่อยสลายยังผลิตก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีผลกระทบรุนแรงต่อภาวะโลกร้อนร้ายแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เมื่อโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น สิ่งต่างๆ ที่เป็นผลร้ายต่อโลกก็จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นการเกิดไฟป่าที่ยิ่งเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับโลกมากขึ้นไปอีก น้ำแข็งจากขั้วโลกละลาย ภาวะน้ำป่าไหลหลาก เมื่อเวลาถึงฤดูฝนน้ำจะขึ้นสูงกว่าปกติ และส่งผลกระทบต่อการเข้าท่วมบ้านเรือนในพื้นที่จุดเสี่ยงต่างๆ บนโลก

ป่าฝนทั่วโลกกำลังถูกทำลายด้วยอัตราที่น่าตกใจ นี่เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะป่าฝนมีบทบาทสำคัญต่อสภาพภูมิอากาศของโลก และเป็นที่อยู่อาศัยของพืชสัตว์และแมลงหลากหลายชนิด มากกว่าหนึ่งในสามของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกอาศัยอยู่ในป่าฝนอเมซอน

 

earth.com

ป่าอเมซอนเป็นป่าฝนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ในทวีปอเมริกาใต้  60% ของพื้นที่ป่าอเมซอนอยู่ในประเทศบราซิล ปัญหาตัดไม้ทำลายป่าอเมซอนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของโลก จนนานาชาติต้องพยายามเข้ามาแทรกแซง เพราะป่าอเมซอนคือ “ปอดของโลก” ที่ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออคไซด์ออกจากบรรยากาศ

 

 

การทำฟาร์มปศุสัตว์เพื่อการส่งออกเนื้อวัวและเครื่องหนัง เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่าถึง 80% ของการทำลายป่าอเมซอนในบราซิล ที่เหลืออีก 20% ส่วนใหญ่เพื่อการเกษตรกรรม ได้แก่ การทำไร่ถั่วเหลือง การปลูกปาล์ม

 

 youtube.com

นี้เป็นภาพป่าอเมซอนในประเทศบราซิลที่ได้จากดาวเทียม โดยการเปรียบเทียบภาพจากดาวเทียม Landsat-5 ในปี 1985 กับภาพจากดาวเทียม Copernicus Sentinel-2 ในปี 2016 จะเห็นได้อยางชัดเจนถึงพื้นที่ป่าฝนแห่งนี้ถูกทำลายจากการตัดไม้ทำลายป่าไปอย่างมากในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา

 

  

แสดงการลักลอบตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่ป่าอเมซอน ประเทศบราซิล ถ่ายโดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (voanews.com)

 

 

ZAYN – Satisfaction

 

 

ประเทศบราซิลประสบความสำเร็จในการชะลออัตราการทำลายป่าในระหว่างปี 2004 – 2012 เนื่องจากรัฐบาลปราบปรามการตัดไม้ผิดกฎหมายอย่างจริงจัง โน้มน้าวและสร้างแรงจูงใจไม่ให้เกษตรตัดไม้ทำลายป่า รวมทั้งปราบปรามผู้ผลิตเนื้อวัวและถั่วเหลืองที่ผิดกฎหมายออกจากตลาด

แต่สถานการณ์กลับพลิกผันในระหว่างปี 2015 – 2017 อัตราป่าถูกทำลายเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 2 เท่า ส่วนหนึ่งมาจากไฟป่าที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในป่าอเมซอน  การทำลายป่า (Deforestation) และป่าเสื่อมโทรม (Forest degradation) จากน้ำมือของมนุษย์ ทำให้เกิดไฟป่าเผาผลาญทำลายป่าอเมซอน

 

psmag.com 

ในเวลา 1 ปี กันยายน 2017 – กันยายน 2018 พื้นที่ 7,900 ตารางกิโลเมตร ของป่าอเมซอนถูกทำลาย โดยเป็นอัตราการทำลายป่าที่สูงสุดในรอบ 10 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นายมิเชล เตเมร์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดีของบราซิล

 

Brasil records worst annual deforestation for a decade

 ภาพแสดงพื้นที่ป่าอเมซอนที่ถูกทำลายไปเนื่องจากการทำเมืองในบราซิล (rainforests.mongabay.com)

 

โดยเมื่อเดือน ส.ค. 2017 รัฐบาลบราซิลภายใต้การนำของนายมิเชล เตเมร์ ได้ประกาศยกเลิกคำสั่งเขตพื้นที่สงวนแห่งชาติในเขตป่าอเมซอน (National Reserve of Copper and Associates: Renca) ที่ถูกเขียนขึ้นตั้งแต่ปี 1984 เพื่อเปิดพื้นที่ดังกล่าวให้เอกชนเข้าไปทำเหมืองแร่ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่า นี่คือการทำลายผืนป่าอเมซอนครั้งรุนแรงที่สุด

นายมิเชล เตเมร์ รับตำแหน่งในเดือนสิงหาคม 2016 และเพิ่งถูกรัฐสภาปลดออกจากตำแหน่งเมื่อธันวาคม 2018 ที่ผ่านมา ในข้อหาคอร์รัปชั่น 

 

Bolsonaro spells ecological disaster for Brasil – and the world

worldpoliticsreview.com

สำหรับประธานาธิบดีคนใหม่ของบราซิลคือ นายชาอีร์ โบลโซนาโร  ซึ่งได้รับสมญาจากนานาชาติว่า “ทรัมป์แห่งบราซิล” ขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2019 ที่ผ่านมา ยิ่งสร้างความกลัวของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมว่า การทำลายป่าอเมซอนภายใต้การปกครองบราซิลของนายโบลโซนาโร จะยิ่งมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้นและจะมีผลต่อปัญหาภาวะโลกร้อน เพราะเป็นนักการเมืองฝ่ายขวาจัดและทุนนิยม

และในระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง นายโบลโซนาโร ประกาศจะเปิดพื้นที่ป่าอเมซอนเพื่อการพัฒนามากขึ้น จะลดอิทธิพลของหน่วยงานสิ่งแวดล้อม และจำกัดค่าปรับสำหรับความผิดจากการทำลายป่าไม้  ข่าวที่ออกมาในขณะนี้คือ นายโบลโซนาโร กำลังมีแผนที่จะยุบรวมกระทรวงสิ่งแวดล้อมและกระทรวงเกษตรเข้าด้วยกัน

รวมทั้งก่อนหน้านี้ นายโบลโซนาโร ยังเสนอให้บราซิลถอนตัวจากความตกลงปารีสปี 2015 ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2015 Paris Agreement on Climate Change) เขากล่าวว่าข้อตกลงของความตกลงปารีสนี้ บั่นทอนอำนาจอธิปไตยของบราซิลบนพื้นป่าอเมซอน

 

 ecowatch.com

และแล้วสิ่งที่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลัวก็มาอย่างรวดเร็วทันใจ ในวันแรกของการเข้าทำงาน นายโบลโซนาโร ได้ลงนามคำสั่งโอนย้าย “การแบ่งพื้นที่เขตสงวนของชนพื้นเมือง” ให้ไปอยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตร

นายโบลโซนาโร เคยกล่าวว่า “Where there is indigenous land, there is wealth underneath it.” “ที่ไหนมีที่ดินของชนพื้นเมือง ที่นั้นมีความมั่งคั่งอยู่ข้างใต้พื้นดินนั้น”

จากรายงานของสำนักข่าว The Guardian และ The New York Times กล่าวถึงกระทรวงเกษตรของบราซิล ที่ถูกควบคุมโดยนายทุนธุรกิจการเกษตรที่มีอำนาจ ซึ่งหวังเข้าไปทำผลประโยชน์ในที่ดินของชนพื้นเมือง  นั้นหมายถึงจะทำให้เกิดการทำลายป่าอเมซอนมากขึ้น และยังอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงต่อชนพื้นเมือง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ต่อต้านและปกป้องการทำลายพื้นป่าอเมซอนมาตลอด

 

 

 

 

Katy Perry – Roar

 

 

techgrover.com

การหยุดการตัดไม้ผิดกฎหมาย (illegal logging)และปกป้องป่าฝนของโลก อาจเป็นวิธีที่เร็วและถูกที่สุดสำหรับมนุษยชาติในการชะลอการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผู้ที่เหมาะสมที่สุดในการปกป้องป่าฝน ก็คือชาวบ้านและชนเผ่าพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ที่นั่นมาหลายชั่วอายุคน 

เป็นไปได้ไหมที่จะรักษาป่าฝนด้วยการฟังเสียงป่า” 

ชนเผ่า “Tembé” เป็นชาวพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในป่าอเมซอนทางตอนเหนือของบราซิล กว่า 30%ของพื้นที่ป่าที่พวกเขาอาศัยอยู่ถูกทำลายจากการทำฟาร์มปศุสัตว์ ไฟป่า และการตัดไม้ผิดกฎหมาย

ชนเผ่า “Tembé” มีการจัดการที่ดีในชุมชนของตัวเอง มีการศึกษา พวกเขาไม่กลัวที่จะใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ พวกเขาไม่ได้ต้องการความช่วยเหลือ แต่กำลังมองหาความร่วมมือ

 

 นาย Naldo  หัวหน้าเผ่า “Tembé” (news.mongabay.com)

ในปี 2014 นาย Naldo  หัวหน้าเผ่า “Tembé” ได้มาหานายTopher White ผู้ก่อตั้งองค์กร Rainforest Connect (RFCx) และร่วมกันริเริ่มโครงการที่มีความทะเยอทะยานในการปกป้องป่าอเมซอน โดยการใช้มือถือ Android เครื่องเก่าๆ และ TensorFlow ของ Google สร้างเป็นเครื่องมือให้ชนเผ่า “Tembé” ใช้ในการปกป้องผืนป่าอเมซอนจากพวกลักลอบตัดไม้ผิดกฎหมายด้วยการฟัง “เสียงป่า”

 

blog.google.com

ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญใช้โดรนและดาวเทียมเพื่อตรวจสอบการตัดไม้ผิดกฎหมาย (illegal logging) แต่เทคโนโลยีเหล่านี้ไม่ได้ข้อมูลสดหรือข้อมูลตามเวลาจริง (real time)

Rainforest Connect (RFCx) เป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงหากำไรในระดับโลก ได้คิดค้นอุปกรณ์การตรวจสอบที่มีราคาถูกและมีขนาดเล็ก ที่ดัดแปลงมาจากมือถือเครื่องเก่า และใช้พลังงานที่ได้จากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (solar panels) ได้เป็นอุปกรณ์ที่เรียก “Guardian” (ผู้พิทักษ์)

 

kickstarter.com

ใช้งานโดยการนำอุปกรณ์ Guardian ที่ได้รับป้องกันด้วยกล่องพลาสติกไปซ่อนตามต้นไม้ในป่า ไมโครฟอนของมือถือจะบันทึกเสียงต่างๆที่เกิดขึ้นในป่าฝน โดยองค์กรนี้ใช้ TensorFlow ของ Google ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นสัญญานเสียงที่ถูกส่งมาจากอุปกรณ์ Guardian ตามเวลาจริง (real time) ถ้า Machine Learning วิเคราะห์ว่าเป็นเสียงเลื่อยตัดไม้ เสียงรถบรรทุกของผู้ลักลอบตัดไม้ ก็จะส่งข้อความไปแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อให้พวกเขาไปยังที่เกิดเหตุทำการเข้าจับกุมผู้กระทำผิดกฎหมาย

หมายเหตุ : TensorFlow เป็นแหล่งโปรแกรมและข้อมูลของ Machine Learning ที่ Google เปิดให้สาธารณะชนเข้าถึงโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (open source machine learning library)

 

Ep 2: Beneath the Canopy | SEARCH ON

นี้เป็นวีดิโอที่ Google ทำขึ้น แสดงให้เห็นถึงความพยายามของชนเผ่าพื้นเมือง “Tembé” ในการปกป้องผืนป่าอเมซอนของพวกเขาโดยใช้เพียงมือถือเก่าๆ กับ Machine Learning เข้าต่อสู้กับพวกตัดไม้ผิดกฎหมาย (สามารถตั้งค่าแสดงคำบรรยายใน youtube)

 

Google Helps Students Become Rainforest Guardians 

 

news.mongabay.com

นอกจากนี้ Google ร่วมกับ Rainforest Connect  จัดตั้งโปรแกรม “Planet Guardians ผู้พิทักษ์โลก” ที่มีนักเรียนหลายร้อยคนจากโปรแกรมวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนต่างๆของรัฐ California เข้าร่วมในโปรแกรมนี้ในเดือนมีนาคม 2018 ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรแกรมที่ขับเคลื่อนด้วยนักเรียนที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเปิดตัวมาเพื่อปกป้องป่าฝนของโลก มีการสอนนักเรียนให้เรียนรู้วิธีการออกแบบและสร้างอุปกรณ์ Guardian รวมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับ TensorFlow 

อุปกรณ์ Guardian ที่นักเรียนเหล่านี้ประดิษฐ์ในเดือนมีนาคม 2018 จะถูกนำไปติดตั้งในป่าฝนของประเทศเปรู คอสตาริก้า บราซิล และอินโดนีเซีย ในเดือนเมษายน 2018 โดยตั้งเป้าว่าอุปกรณ์ฟังเสียงป่าเหล่านี้จะช่วยปกป้องผืนป่าได้ถึง 100,000 เอเคอร์ ไปจนถึงปี 2020

จากแอพฟรีของ Rainforest Connection (RFCx) นักเรียนใน California จะได้รับข้อความการแจ้งเตือนตามเวลาจริง (real time) เกี่ยวกับกิจกรรมของการตัดไม้ผิดกฎหมาย (illegal logging) ทีเกิดขึ้นในป่าที่ตรวจพบโดยอุปกรณ์ Guardian ของพวกเขา รวมถึงข้อความการแจ้งเกี่ยวกับเสียงของสัตว์ป่าสายพันธุ์หายากและใกล้สูญพันธุ์

 

 

education.seattlepi.com

kickstarter.com

การได้ยินเสียงของป่าจากผลงานของพวกเขาในดินแดนที่ห่างไกลคนละทวีป เป็นการเชื่อมโยงความพยายามของนักเรียนในการช่วยกันปกป้องป่ากับโลกกว้าง รวมทั้งให้เด็กๆได้ตระหนักถึงการต่อสู้ของนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและกลุ่มชนพื้นเมืองเพื่อปกป้องผืนป่า

 

 

Alvaro Soler – Sofia   นักร้อง So Cute!

 

  

 

themarysue.com

Global Forest watch (GFW) เป็นเว็บแอพพลิเคชั่นเพื่อตรวจสอบป่าไม้ทั่วโลก ถูกออกแบบมาเพื่อให้ข้อมูลแก่ทุกคนทุกที่บนโลก เพื่อช่วยในการจัดการและอนุรักษ์ป่าไม้  เป็นโครงการริเริ่มของสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute : WRI) โดยมีพันธมิตร ได้แก่ Google, USAID, University of Maryland (UMD), Esri และองค์กรด้านการศึกษาอื่น ๆ ที่ไม่แสวงผลกำไรทั้งของรัฐและเอกชน  

Global Forest Watch ใช้เทคโนโลยีของ Google Earth และ Google Maps ในการสร้างแผนที่ป่าของโลกจากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อให้ข้อมูลที่ทันเวลาและแม่นยำที่สุดเกี่ยวกับสถานะของป่าไม้ทั่วโลก รวมถึงการแจ้งเตือนที่ใกล้เคียงเวลาจริง (near-real time) ที่แสดงตำแหน่งที่สงสัยว่าป่าถูกทำลายในช่วงเวลาที่ผ่านไปไม่นาน ข้อมูลที่ใช้ในวิเคราะห์พื้นที่ป่าว่าที่ไหนมีจำนวนป่าไม้เพิ่มขึ้นหรือลดลง มาจากหลายแหล่งรวมทั้งจากองค์การนาซ่า 

หมายเหตุ :

  • Google Earth เป็น software ที่ใช้ติดตั้งใน Windows มันคือโปรแกรมขนาดค่อนข้างใหญ่ตัวนึงที่สามารถทำอะไรได้มาก ในเรื่องของการใส่ข้อมูลของผู้ใช้งาน นักวางแผน นักสำรวจ Google Earth เหมือนโมเดลแผนที่ แสดงพื้นผิวทางภูมิศาสตร์ได้ดีกว่า รวมถึงการใส่ภาพ 3 มิติ อาคารสถานที่เมืองต่างๆ ด้วย
  • Google map เหมือนกับกางแผนที่ในการเดินทาง เน้นเรื่องการใช้งาน live/online เอาไว้วางแผนการเดินทาง และการจราจร

 

Global Forest Watch นั้นฟรีและใช้งานง่ายทำให้ทุกคนสามารถสร้างแผนที่ที่กำหนดเองวิเคราะห์แนวโน้มของป่า สมัครรับการแจ้งเตือนหรือดาวน์โหลดข้อมูลสำหรับพื้นที่ใกล้เคียงหรือทั่วโลกตามความต้องการ GFW ให้บริการผู้ใช้ที่หลากหลาย ทั้งรัฐบาล, ภาคเอกชน, องค์กรพัฒนาเอกชน, นักข่าว, มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป

นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับ  Global Forest Watch (GWF)โดยการแบ่งปันข้อมูลและเรื่องราวของป่า ผ่านทางเครื่องมือการระดมทุนบล็อกและกลุ่มการสนทนาของ GFW

 

 Global Forest Watch | Monitoring Forests in Near Real Time