Artificial Intelligence, Innovation
จริงหรือไม่ที่ Google กำลังสร้าง AI ให้กลายเป็น Skynet#9 Air Pollution
มลพิษทางอากาศ (air pollution) เป็นสาเหตุของโรค การเสียชีวิตของมนุษย์ และทำลายสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เช่น พืชพันธุ์ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ภาพแสดงแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ (nps.gov.com)
สาเหตุการเกิดมลพิษทางอากาศ
(1) เกิดตามธรรมชาติ ได้แก่ พายุ ฝุ่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้ป่า และการเกิดอนุภาครังสีจากก๊าซต่างๆ เช่น ก๊าซเรดอน เป็นต้น
(2) เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ มนุษย์เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศมากที่สุด เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ส่งผลให้เกิดความต้องการบริโภคพลังงาน เชื้อเพลิง ทั้งในครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม และภาคเกษตรกรรม ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศทั้งสิ้น
สารมลพิษในอากาศ (air pollutant) ได้แก่
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) มักเกิดจากการเผาไหม้ของซัลเฟอร์ที่ปรากฏอยู่ในเชื้อเพลิงที่มาจากปิโตรเลียมและถ่านหิน โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นตัวการหลักในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งก่อให้เกิดควันพิษ ฝนกรด และปัญหาสุขภาพตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคปอดอักเสบ
ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ( NO2 ) และไนโตรเจนออกไซด์ (NO) เกิดจากการสันดาปที่อุณหภูมิสูงและเป็นสารหลักในกลุ่มนี้ที่ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางอากาศ เป็นตัวการสำคัญในการเกิดฝนกรด แก๊สโอโซน และควันพิษ เป็นก๊าซมลพิษที่มีแหล่งกำเนิดหลักมาจากโรงงานอุตสาหกรรม
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เป็นก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของคาร์บอนหรือสารประกอบคาร์บอนต่าง ๆ เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แหล่งกำเนิดคาร์บอนมอนนอกไซด์ที่สำคัญ คือ จากไอเสียของเครื่องยนต์เบนซิน รวมถึงสามารถเกิดขึ้นได้ภายในที่อยู่อาศัย ในกรณีที่ขาดการบำรุงดูแลรักษา ระบบแก๊สหุงต้ม เตาแก๊ส หรือเครื่องใช้อื่นๆ ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่ง ที่ปลดปล่อยมาจากเครื่องยนต์ โรงผลิตไฟฟ้า และกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ นับตั้งแต่ช่วงต้นของยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ถูกปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก และเป็นปัจจัยที่ให้เกิดภาวะโลกร้อน และสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ก่อมลพิษทางอากาศ ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนซึ่งปกป้องผิวโลก และก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนอันเนื่องมาจากอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกสูงขึ้น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นก๊าซชนิดที่ทำให้เกิดพลังงานความร้อนสะสมในบรรยากาศของโลกมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่น ๆ เป็นตัวการสำคัญที่สุดของปรากฎการณ์เรือนกระจกที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ และการตัดไม้ทำลายป่า
ส่วนประกอบของสารอินทรีย์ระเหย (Volatile Organic Compounds) สารเคมีที่มีธาตุคาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลักกลุ่มนี้ สามารถระเหยได้ง่ายภายใต้อุณหภูมิและความดันปกติ จึงมีการนำมาเป็นตัวทำละลายในผลิตภัณฑ์ครัวเรือนหลายประเภท เช่น สีทาบ้าน ผลิตภัณฑ์เคลือบเงาต่างๆ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เป็นต้น สารอินทรีย์ระเหยเหล่านี้จะก่อตัวเป็นโอโซนภาคพื้นดิน ซึ่งจะกลายเป็นมลพิษ ที่ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาวในสิ่งมีชีวิต และเป็นสารก่อมะเร็ง
ฝุ่นละออง ( Particle Matter : PM ) อนุภาคขนาดเล็กต่างๆ หรือที่เรามักเรียกว่า ฝุ่นละออง มักลอยตัวอยู่ในอากาศ ทำให้เกิดเป็นภาพขมุกขมัวเมื่อเรามองไปที่ท้องฟ้า รวมทั้งเป็นสาเหตุของคราบเขม่าดำตามตึกรามบ้านช่อง และส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของเรา อนุภาคในอากาศมีขนาดแตกต่างกันออกไป ในทางวิทยาศาสตร์จะแทนขนาดอนุภาคด้วยตัวอักษร PM แล้วตามด้วยตัวเลข เช่น PM2.5 หมายถึง ในอากาศเจือปนด้วยอนุภาคขนาดเล็กกว่าหรือเท่ากับ 25 ไมโครเมตร ในเมืองใหญ่ อนุภาคที่เจือปนในอากาศส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการปล่อยไอเสียของยานพาหนะ
แสดงจำนวนคนในแต่ละภูมิภาคของโลกที่เสียชีวิตเนื่องจากมลพิษทางอากาศ (ccacoalition.org)
มลพิษทางอากาศอยู่ในระดับสูงและอันตรายในหลายส่วนของโลก ข้อมูลใหม่จากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2018 แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ 9 ใน 10 คน หายใจอากาศที่มีสารมลพิษในระดับสูง ที่น่าตกใจคือ มลพิษทางอากาศทำให้คนเสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว 7 ล้านคนทุกปี จากการหายใจเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ และใน 7 ล้านคนนี้ มากกว่า 90% อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางโดยเฉพาะในทวีปเอเชียและแอฟริกา
ccacoalition.org
คนที่หายใจเอาสารมลพิษในอากาศเข้าไป จะทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาจนนำไปสู่การเสียชีวิต จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) จำนวนคนที่เสียชีวิต 34% จากโรคหัวใจ (heart disease) 21% จากโรคปอดอักเสบ (pneumonia) 20% จากโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) 19% จากโรคปอดอุดตันเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease; COPD) และ 7% จากมะเร็งปอด (lung cancer)
Linkin Park – Until It’s Gone
โดยทั่วไปฝุ่นละอองนั้นมีอยู่ในธรรมชาติ เช่น เกสรดอกไม้ ละอองดินทราย และฝุ่นที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรม การคมนาคม การเผาในที่โล่ง และโรงไฟฟ้าพลังงานฟอลซิล
จากการวิจัยพบว่า ฝุ่นละอองที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพ เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) และฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ซึ่งจะสามารถลอยอยู่ในชั้นบรรยากาศ สามารถเล็ดลอดผ่านขนจมูก เข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างง่ายดาย สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง ทั้งโรคภูมิแพ้ โรคหืด โรคถุงลมโป่ง และมะเร็งปอด นอกจากนี้ PM2.5 ในอากาศยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
weforum.org
แผนที่ล่าสุดปี 2018 ของ WHO แสดงระดับความเข้มข้นของฝุ่นละออง PM2.5 ทั่วโลก แสดงให้เห็นบางส่วนของแอฟริกา, ยุโรปตะวันออก, อินเดีย, จีนและตะวันออกกลาง เป็นภูมิภาคที่มีฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ในระดับอันตรายร้ายแรง
ครั้งหนึ่งกรุงปักกิ่งเคยเป็นสัญลักษณ์ของเมืองหมอกควันพิษ แต่ตอนนี้กรุงปักกิ่งไม่อยู่ใน 100 อันดับแรกของเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดแล้ว จากข้อมูลของกรีนพีซ อินเดียกลายประเทศที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง PM2.5 มากที่สุด โดยกรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดีย เป็นเมืองหลวงที่คุณภาพอากาศเลวร้ายที่สุดในโลก ส่วนกรุงเทพฯ ของไทยเรา ติดอันดับ 9 เมืองที่อากาศแย่ที่สุดจากทั่วโลก
innnews.co.th
ช่วงเดือนมกราคม 2019 ท้องฟ้าทั่วกรุงเทพของเราปกคลุมไปด้วยหมอกหนาทึบ ที่เกิดจากค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่เกินมาตรฐาน
นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ค่าฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ที่เกินมาตรฐาน มักเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ของทุกปี เป็นเพราะความกดอากาศสูงจากจีนแผ่ลงมา ทำให้ฝุ่น PM2.5 ที่มีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบามาก เมื่ออากาศมากดทับทำให้ฝุ่นละอองลอยตัวสู่ด้านบนไม่ได้ ประกอบกับไม่มีแสงแดดส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองที่เป็นอยู่ในขณะนี้
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวต่อว่า ฝุ่น PM2.5 (ในกรุงเทพและปริมณฑล) ร้อยละ 60 เกิดจากรถยนต์ดีเซลที่การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ร้อยละ 35 เกิดจากการเผาในภาคเกษตร และร้อยละ 5 เกิดจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในพื้นที่กรุงเทพฯ สภาพการจราจรติดขัดมาก กทม.มีรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลจำนวน 2.5 ล้านคน และรถยนต์ทั่วไปจำนวน 9.8 ล้านคัน อีกทั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังมีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าเกือบทั่วพื้นที่ มีตึกสูงใหญ่สภาพอากาศไม่ปลอดโปร่งส่งผลให้ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน
ผู้เขียนชอบใจบทความส่วนหนึ่งที่เขียนโดยคุณพุธทรัพย์ในบล็อก OKnation ของวันที่ 20 มกราคม 2019 ที่เขียนไว้ว่า
“กรมควบคุมมลพิษ ทำอะไรอยู่ “
“จุดมุ่งหมายในการตั้งกรมควบคุมมลพิษก็เพื่อควบคุมดูแลมลพิษทุกๆ อย่างรวมทั้งมลพิษในอากาศให้ปลอดภัย ไม่ได้ตั้งขึ้นมาเพียงเพื่อให้ประกาศหรือออกข่าวว่าจังหวัดไหนเขตไหนมีมลพิษในอากาศเกินมาตรฐานแล้วบ้างเท่านั้น”
สำหรับค่ามาตรฐานของฝุ่น PM10 และ PM2.5 มีอยู่ 2 แบบคือ
1) ค่ามาตรฐานเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง (24-hour mean) คือ ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่ตรวจวัดได้ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยอย่างเฉียบพลัน
2) ค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายปี (annual mean) คือ ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่ตรวจวัดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี กำหนดขึ้นเพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาวหรือผลกระทบเรื้อรัง ที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัย
ค่ามาตรฐานของฝุ่น PM10 และ PM2.5 ของแต่ละประเทศมีค่าแตกต่างกัน
ตารางแสดงค่ามาตรฐานของฝุ่น PM2.5 ของประเทศต่างๆ รวมทั้งขององค์การอนามัยโลก (thaipublica.org)
จากตารางข้างบน จะเห็นว่าแต่ละประเทศตั้งค่ามาตรฐานของฝุ่น PM2.5 ในเกณฑ์ที่แตกต่างกัน น่าจะเป็นเหตุผลทาง งบประมาณ เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ที่ยังมีอยู่น้อย อย่างในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย
บรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว ตั้งค่ามาตรฐานของฝุ่น PM2.5 ใกล้เคียงกับขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา ค่ามาตรฐานของฝุ่น PM2.5 จะสูงกว่าที่ WHO กำหนดมากถึง 2 เท่า (รู้สึกตกใจมากกับค่ามาตรฐานของบราซิล)
ค่ามาตรฐานเฉลี่ยราย 24 ชั่วโมง ของไทยกำหนดที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ของ WHO กำหนดที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายปี ของไทยกำหนดที่ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ของ WHO กำหนดที่ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
มีผู้เชี่ยวชาญและองค์กรบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มกรีนพีซ ประเทศไทย เรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษเปลี่ยนค่ามาตรฐานของฝุ่น PM2.5 ให้เท่ากับที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด
ในความเห็นของผู้เขียน คิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะลดตัวเลขลงให้ใกล้เคียงกับตัวเลขของ WHO ได้ในระยะเวลารวดเร็ว จากความไม่พร้อมของไทย ทั้งทางด้าน งบประมาณ เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ดังที่ได้กล่าวมา
ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเลขของค่ามาตรฐานนั้น ไทยควรผ่าน “การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง” ก่อน การไปเปลี่ยนแปลงตัวเลข ในขณะที่หน่วยงานรัฐยังไม่ได้เข้าไป เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง สิ่งเดิมๆที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ นั้นไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง ในความเห็นของผู้เขียน
หน่วยงานรัฐของไทย ต้องรีบดำเนินการ จัดการ แผนงานต่างๆ ตามนโยบายที่วางไว้ อย่างจริงจังและรวดเร็ว เพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ถึงประเทศไทยยังไม่มีศักยภาพมากในด้านการเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาด แต่สิ่งที่หน่วยงานของรัฐทำได้และต้องทำอย่างรีบด่วน คือ ต้องควบคุมดูแลผู้ปล่อยหรือตัวปล่อยมลพิษ อย่างเข้มงวดและจริงจัง เพื่อให้ค่ามลพิษในอากาศอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
Ronan Keating – When You Say Nothing At All
อยากไปนั่งสูดอากาศบริสุทธิ์ ใกล้ๆหนุ่มจังเลย! หุหุ
Mapping air pollution with Google Street View cars
ภาพแสดงรถ Google Street View ที่มีเซ็นเซอร์เก็บข้อมูลสถาพอากาศติดตั้งบนหลังคารถ (google.com)
Google ร่วมมือกับกองทุนการป้องกันสิ่งแวดล้อม (Environmental Defence Fund; EDF) และ Aclima ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ ทำแผนที่คุณภาพอากาศ (air quality map) มาตั้งแต่ปี 2015 โดยติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อเก็บข้อมูลสภาพอากาศไปกับรถถ่ายภาพทำแผนที่เส้นทางถนน “Google Street View Car” ในทุกๆ 30 เมตรหรือแต่ละช่วงตึก (block-by-block) แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแสดงลงในแผนเพื่อแสดงดูว่าแต่ละสถานที่ในเมืองมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร
โดยสิ่งที่เซ็นเซอร์ทำการตรวจวัดจะเป็นสิ่งที่เป็นมลพิษต่อการหายใจ เช่น ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ไนตริกออกไซด์ (NO), โอโซน (O3), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และฝุ่นเขม่าดำที่อยู่ในอากาศ (black carbon particles : BC)
หมายเหตุ: โอโซน (O3) เป็นก๊าซที่ถือกำเนิดขึ้นมาโดยธรรมชาติ เช่น จากปรากฏการณ์ฟ้าผ่า แสงจากดวงอาทิตย์
ข้อมูลนี้ถูกสร้างเป็นแผนที่ที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศในเขตต่างๆของเมือง
potatotechs.com
จากแผนที่แสดงคุณภาพอากาศ (Air quality map) ในเมืองที่ได้จากรถ Google Street View จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพอากาศอย่างรุนแรง ในระยะทางที่ห่างกันเพียงแค่หนึ่งช่วงตึก (ให้สังเกตุความเข้มของสีในแต่ละจุด)
แผนที่แสดงคุณภาพอากาศ (Air quality map) ในตำแหน่งต่างของเมือง จะแสดงข้อมูลการเปลี่ยนแปลงตามวันและเวลา เพื่อแสดงให้เห็นว่าช่วงไหนที่มีมลพิษมาก เพื่อให้ผู้คนหลีกเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่น และจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานรัฐของแต่ละเมืองในการจัดการปัญหามลภาวะทางอากาศ
thenextweb.com
ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา Google ใช้รถ Google Street View วัดระดับมลพิษทางอากาศในเขตพื้นที่อ่าว San Francisco, เมือง Los Angeles และ Central Valley ซึ่งทั้งหมดอยู่ในรัฐ California
เมื่อปลายปี 2017 Google ได้พัฒนาการแสดงข้อมูลมลพิษทางอากาศไปอีกขั้นหนึ่ง โดยนำข้อมูลมลพิษทางอากาศของพื้นที่ทั้งสามแห่งมารวมกัน และแสดงลงใน Google Earth ดังรูปข้างบน
ecowatch.com
Google ประกาศเมื่อกลางปี 2018 ว่า บริษัทจะขยายโครงการทำแผนที่มลพิษทางอากาศ (Air pollution mapping) ให้ครอบคลุมทั่วโลก โดยรถยนต์ Google Street View จำนวน 50 คัน
James Bay – Us
Sometimes I’m beaten
Sometimes I’m broke
‘Cause sometimes this city is nothing but smoke
Is there a secret?
Is there a code?
Can we make it better?
‘Cause I’m losing hope
บางครั้งฉันก็พ่ายแพ้
บางครั้งฉันแตกสลาย
เพราะบางครั้งเมืองนี้ไม่มีอะไรนอกจากหมอกควัน
มีความลับหรือไม่?
มีรหัสหรือไม่?
เราสามารถทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่?
เพราะฉันสูญเสียความหวัง
Tell me how to be in this world
Tell me how to breathe in and feel no hurt
Tell me how ’cause I believe in something
I believe in us
บอกฉันหน่อยว่าจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร
บอกฉันถึงวิธีที่จะหายใจเข้าไปโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บ
บอกฉันหน่อย เพราะฉันเชื่อในบางสิ่งบางอย่าง
ฉันเชื่อในเรา
After the wreckage
After the dust
I still hear the howling, I still feel the rush
Over the riots, above all the noise
Through all the worry, I still hear your voice
หลังจากความพังพินาศ
หลังจากเกิดฝุ่น
ฉันยังคงได้ยินเสียงร้อง ฉันยังคงรู้สึกรีบเร่ง
เหนือการจลาจล เหนือเสียงทั้งหมด
ด้วยความกังวลทั้งหมด ฉันยังคงได้ยินเสียงของคุณ
So, tell me how to be in this world
Tell me how to breathe in and feel no hurt
Tell me how ‘cause I believe in something
I believe in us
Tell me when the light goes down
That even in the dark we will find a way out
Tell me now ’cause I believe in something
I believe in us
ดังนั้นบอกฉันหน่อยว่าจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร
บอกฉันถึงวิธีที่จะหายใจเข้าไปโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บ
บอกฉันหน่อย เพราะฉันเชื่อในบางสิ่งบางอย่าง
ฉันเชื่อในเรา
บอกฉันเมื่อไฟดับลง
แม้ว่าในความมืดเราจะหาทางออกไป
บอกฉันตอนนี้ เพราะฉันเชื่อในบางสิ่งบางอย่าง
ฉันเชื่อในเรา
We used to be kids living just for kicks
In cinema seats, learning how to kiss
Running through streets that were painted gold
We never believed we’d grow up like this
เราเคยเป็นเด็กที่อาศัยอยู่เพียงเพื่อความสนุกสนาน
นั่งอยู่บนที่นั่งในโรงภาพยนตร์เพื่อนเรียนรู้วิธีการจูบ
วิ่งผ่านถนนที่ทาด้วยสีทอง
เราไม่เคยเชื่อว่าเราจะเติบโตเป็นเช่นนี้
So tell me how to be in this world
Tell me how to breathe in and feel no hurt
Tell me how ’cause I believe in something
I believe in us
Tell me when the light goes down
That even in the dark we can find a way out
Tell me now ’cause I believe in something
I believe in us
I believe in something
And I believe in us
ดังนั้นบอกฉันหน่อยว่าจะอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร
บอกฉันถึงวิธีที่จะหายใจเข้าไปโดยที่ไม่รู้สึกเจ็บ
บอกฉันหน่อย เพราะฉันเชื่อในบางสิ่งบางอย่าง
ฉันเชื่อในเรา
บอกฉันเมื่อไฟดับลง
แม้ว่าในความมืดเราจะหาทางออกไป
บอกฉันตอนนี้ เพราะฉันเชื่อในบางสิ่งบางอย่าง
ฉันเชื่อในเรา
ฉันเชื่อในบางสิ่งบางอย่าง
และฉันเชื่อในเรา