Newsletter subscribe

A Brief History of Time, Universe

ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History Of Time) โดย สตีเฟน ฮอว์คิง#6 บทที่ 1 ภาพของจักรวาลของเรา : God Created The Universe?

Posted: 30/11/2020 at 15:34   /   by   /   comments (0)

The beginning of the universe had, of course, been discussed long before this. According to a number of early cosmologies and the Jewish/ Christian/ Muslim tradition, the universe started at a finite, and not very distant, time in the past. One argument for such a beginning was the feeling that it was necessary to have “First Cause” to explain the existence of the universe. (Within the universe, you always explained one event as being caused by some earlier event, but the existence of the universe itself could be explained in this way only if it had some beginning.) Another argument was put forward by St. Augustine in his book The City of God. He pointed out that civilization is progressing and we remember who performed this deed or developed that technique. Thus man, and so also perhaps the universe, could not have been around all that long. St. Augustine accepted a date of about 5000 B.C. for the Creation of the universe according to the book of Genesis. (It is interesting that this is not so far from the end of the last Ice Age, about 10,000 B.C., which is when archaeologists tell us that civilization really began.)

ในอดีตมีการถกเถียงกันมานานในเรื่องต้นกำเนิดของจักรวาล จักรวาลวิทยาในสมัยโบราณของชาวยิว/คริสเตียน/มุสลิม เชื่อว่าจักรวาลมีขอบเขตสิ้นสุดและมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ข้อโต้แย้งหนึ่งที่เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของจักรวาล คือความรู้สึกว่าจำเป็นต้องมี “สาเหตุแรก” เพื่ออธิบายการดำรงอยู่ของจักรวาล (ภายในจักรวาล คุณอธิบายเหตุการณ์หนึ่งเสมอว่า เกิดจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ แต่การมีอยู่ของจักรวาลนั้น สามารถอธิบายได้ด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อมีจุดเริ่มต้นเท่านั้น)

เซนต์ออกัสตินได้ให้การโต้แย้ง (เกี่ยวกับต้นกำเนิดของจักรวาล – ผู้เขียน) ในหนังสือ “เมืองของพระเจ้า (The City of God)” ของเขา เขาชี้ให้เห็นว่าอารยธรรมกำลังดำเนินไปข้างหน้า และเราจำได้ว่าใครเป็นผู้ทำสิ่งนี้ ดังนั้นมนุษย์และบางทีอาจจะเป็นเช่นนั้น จักรวาลก็ไม่สามารถดำรงอยู่ได้นานขนาดนั้น ในบทปฐมกาลของหนังสือ เซนต์ออกัสตินยอมรับว่ามีวันหนึ่งเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นวันสร้างจักรวาล (โดยพระเจ้า – ผู้เขียน)  (เป็นที่น่าสนใจว่าเวลานี่ใกล้เคียงกับจุดสิ้นสุดของยุคน้ำแข็งสุดท้ายประมาณ 10,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่นักโบราณคดีบอกเราว่าเป็นเวลาของการเริ่มต้นอารยธรรม)

Aristotle, and most of the other Greek philosophers, on the other hand, did not like the idea of a creation because it smacked too much of divine intervention. They believed, therefore, that the human race and the world around it had existed, and would exist, forever. The ancients had already considered the argument about progress described above, and answered it by saying that there had been periodic floods or other disasters that repeatedly set the human race right back to the beginning of civilization.

ในทางกลับกันอริสโตเติลและนักปรัชญาชาวกรีกคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่ชอบความคิดเรื่องการสร้าง เพราะเป็นการแทรกแซงของพระเจ้ามากเกินไป ดังนั้นพวกเขาจึงเชื่อว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์และโลกรอบตัวมีอยู่จริงและจะดำรงอยู่ตลอดไป คนสมัยก่อนได้พิจารณาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความก้าวหน้าตามที่อธิบายไว้ข้างต้นแล้วและตอบว่ามีน้ำท่วมเกิดขึ้นเป็นระยะๆหรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่ทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์กลับไปสู่จุดเริ่มต้นของอารยธรรม

 

 

Lindsey Stirling – First Light (YouTube)

 

 

แนวคิดเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของจักรวาลของนักบุญเซนต์ออกัสติน 

ในประวัติศาสตร์จักรวาลวิทยาและศาสนามีความเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด ต้นกำเนิดของจักรวาลเป็นอีกหนึ่งหัวข้อการศึกษาที่มีการถกเถียงอย่างมากมายตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา

เซนต์ออกัสติน (ค.ศ 354-430)  เป็นนักบวชและนักปรัชญาในยุคกลาง “เมืองของพระเจ้า (The City of God)”  เป็นหนึ่งในผลงานของเขาที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการของปรัชญาตะวันตกและศาสนาคริสต์ ไม่มีหนังสือใดนอกจากคัมภีร์ไบเบิลเองที่มีอิทธิพลต่อยุคกลางมากไปกว่า The City of God เนื่องจากยุโรปในยุคกลางเป็นแหล่งกำเนิดของอารยธรรมตะวันตก ผลงานชิ้นนี้จึงมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจโลกของเราและความเป็นมาของมัน

ในหนังสือเล่มแรกของ The City of God ออกัสตินเขียนเพื่อหักล้างข้อกล่าวหาของคนต่างศาสนาที่กล่าวหาว่าศาสนาคริสต์นำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของกรุงโรม ออกัสตินยืนยันในทางตรงกันข้ามว่าศาสนาคริสต์ช่วยเมืองจากการทำลายล้างโดยสิ้นเชิง และการล่มสลายของกรุงโรมเป็นผลมาจากความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม

หนังสือเล่มที่สองของ The City of God ออกัสตินอธิบายหลักคำสอนของสองเมือง เมืองของผู้ถูกเลือกในสวรรค์ “เมืองของพระเจ้า” และเมืองของคนที่ถูกสาปแช่งในโลก “เมืองแห่งมนุษย์” หัวใจของเรื่องคือ การเปรียบเทียบจักรวรรดิโรมันซึ่งเป็นเมืองแห่งมนุษย์ และเมืองของพระเจ้าหมายถึงคริสตจักร คริสตจักรได้รับการสถาปนาจากสวรรค์และนำมนุษยชาติไปสู่ความดีชั่วนิรันดร์ เมืองของพระเจ้ามีความมั่นคงเป็นนิรันดร์ เป็นเมืองภายใต้คำสั่งของพระเจ้า และด้วยเหตุนี้จึงเป็นเมืองที่ประสบความสำเร็จในที่สุด

หนังสือสามเล่มถัดไปของ The City of God เขาให้รายละเอียดว่าเมืองทั้งสองนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร

หนังสือสี่เล่มถัดไป อธิบายถึงประวัติศาสตร์ของเมืองสวรรค์ตั้งแต่ปฐมกาลจนถึงยุคของโซโลมอนซึ่งมีการเปรียบเทียบว่าเป็นพระคริสต์และคริสตจักร

หนังสือเล่มที่ XVIII ออกัสตินบรรยายประวัติศาสตร์ของเมืองของโลกตั้งแต่อับราฮัมไปจนถึงผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม ออกัสตินมุ่งเน้นว่าทั้งสองเมืองจะจบลงอย่างไร

หนังสือเล่มที่ XIX ออกัสตินสรุปลักษณะของสิ่งที่ดีที่สุด เขาเน้นย้ำแนวคิดที่ว่าความสงบและความสุขที่พบในเมืองสวรรค์สามารถสัมผัสได้บนโลกนี้เช่นกัน

หนังสือเล่มที่ XX เกี่ยวข้องกับการเสด็จมาครั้งที่สองของพระคริสต์ การพิพากษาครั้งสุดท้าย และหลักฐานที่พบในพระคัมภีร์

หนังสือเล่มที่ XXI อธิบายถึงการลงโทษชั่วนิรันดร์ของผู้ถูกสาป

หนังสือเล่มสุดท้าย XXII ออกัสตินเล่าถึงจุดจบของเมืองของพระเจ้า หลังจากนั้นผู้ที่ได้รับการบันทึกจะได้รับความสุขชั่วนิรันดร์และจะกลายเป็นอมตะ

ออกัสตินยืนยันว่าพระเจ้ามีอยู่จริงนอกอวกาศ พระเจ้าสร้างจักรวาลจากความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรเลยทั้งร่างกายหรือจิตวิญญาณนอกจากพระเจ้า จักรวาลและสิ่งมีชีวิตทั้งหมดรวมทั้งเวลาถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้า โดยพระองค์ทรงดำรงอยู่ในนิรันดรกาล ออกัสตินยืนยันว่าพระเจ้าไม่ได้สร้างความชั่วร้ายและไม่รับผิดชอบต่อการเกิดขึ้นของมัน ความชั่วร้ายนั้นเป็นผลมาจากบาปดั้งเดิมของมนุษยชาติ มนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนที่ละเมิดศีลธรรม โดยมีนรกเป็นโทษสำหรับความผิด

บทปฐมกาลในหนังสือ ออกัสตินเขียนว่า “พระเจ้าสร้างโลก พระเจ้าสร้างเวลาเป็นสิ่งแรก เวลามีอยู่ก่อนที่จะมีมนุษย์” ดังนั้นจุดเริ่มต้นของโลกคือจุดเริ่มต้นของเวลานั่นเอง เวลาเป็นตัวชี้วัดการเปลี่ยนแปลง เขาเชื่อว่าเวลาไม่มีที่สิ้นสุดเพราะพระเจ้า “สร้าง” มันขึ้นมา ออกัสตินยังเขียนว่า “พระเจ้าสร้างจักรวาลทั้งหมดในวันเดียวไม่ใช่ภายในหกวัน” (ดังที่สตีเฟน ฮอว์คิง เขียนไว้ว่าเป็นวันหนึ่งเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล)

 

 

Disturbed – The Sound Of Silence (YouTube)

 

 

แนวคิดเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของจักรวาลของอริสโตเติล

อริสโตเติล (384–322 ปีก่อนคริสตกาล) นักปรัชญาที่มีชื่อเสียงของกรีก สำหรับอริสโตเติล การมีอยู่ของจักรวาลต้องการคำอธิบายเนื่องจากไม่ได้มาจากความว่างเปล่า จำเป็นต้องมีสาเหตุสำหรับจักรวาล ไม่มีสิ่งใดมาจากความว่างเปล่า เขาเชื่อว่าจักรวาลไม่ใช่สิ่งที่สร้างขึ้นจากความว่างเปล่าหรือสร้างขึ้นใหม่ จักรวาลเป็นอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ชั่วนิรันดร์ เขาแย้งว่า “สูญญากาศ” (สถานที่ที่ไม่มีสสารหรือความว่างเปล่า) เป็นไปไม่ได้ มุมมองนี้ขัดแย้งกับมุมมองของคริสตจักรคาทอลิกที่ว่าโลกมีจุดเริ่มต้น ณ เวลาหนึ่ง

อริสโตเติลเชื่อว่าโลกกลม และคิดว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดวงดาวตรึง  (Fixed stars) ทั้งหมดโคจรรอบโลกเป็นวงกลม เขาได้แบ่งจักรวาลออกเป็นสองส่วน: ทรงกลมใต้ดวงจันทร์ลงมาคือโลกซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและการเสื่อมสลาย และทรงกลมท้องฟ้าเหนือดวงจันทร์ขึ้นไปคือสวรรค์อันเป็นนิรันดร์และไม่เปลี่ยนรูป

 

   

อริสโตเติลเหมือนนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เชื่อว่าเราสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับโลกของเราและสาระสำคัญของสิ่งต่างๆในโลกของเราผ่านการสังเกต เขาเชื่อว่าโลกถูกสร้างขึ้นจากองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ ดิน (หนักที่สุด) น้ำ อากาศ ไฟ (เบาที่สุด) ธาตุทั้งสี่ประกอบขึ้นเป็นทุกสิ่งทุกอย่างและมีอยู่ตลอดเวลา (ไม่ได้ถูกสร้างขึ้น) โดยมีคุณลักษณะพื้นฐานทั้ง 4  ได้แก่ ร้อน เย็น เปียกและแห้ง โดยดินจะทำให้แห้งและเย็น น้ำจะให้ความเย็นและเปรียก ไฟจะให้ความร้อนและแห้ง ส่วนลมจะให้ความเปรียกและความร้อน นอกจากนี้อริสโตเติลตั้งข้อสังเกตว่า การเคลื่อนไหวของร่างกายที่เคลื่อนขึ้นไปจะเป็นไฟและอากาศ และร่างกายที่เคลื่อนลงมาจะเป็นน้ำหรือดิน ธาตุทั้งสี่ต่างพยายามที่จะกลับไปอยู่ที่เดิมของมัน เช่น ไฟต้องอยู่บนท้องฟ้า มันจึงพยายามลอยสูงขึ้นเสมอ ธาตุดินอยู่ล่าง มันจึงพยายามหล่นลงมาอยู่ที่พื้น ยิ่งใหญ่หรือหนักมากยิ่งตกเร็ว (กาลิเลโอล้มล้างแนวคิดนี้ในภายหลัง – ของหนักกับของเบาตกถึงพื้นพร้อมกัน) 

 

อริสโตเติลเชื่อว่าทรงกลมท้องฟ้าหรือสวรรค์ประกอบด้วยสสารที่เป็นนิรันดร์ ไม่เปลี่ยนแปลง จะมีรูปร่างเช่นนั้นตลอดไป และไม่สามารถทำลายได้ สสารนี้เรียกว่า “อีเธอร์” นี่คือธาตุที่ห้าซึ่งประกอบขึ้นเป็นดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ และดวงดาว อีเธอร์ถูกอธิบายว่าเป็นสารบริสุทธิ์ที่สมบูรณ์แบบซึ่งไม่เหมือนกับสิ่งอื่นใดในโลก

อริสโตเติลให้เหตุผลว่า สสารพื้นฐานทั้งห้าของจักรวาลเกิดขึ้นได้จากสสารที่มีอยู่แล้วเท่านั้น การที่จะถือว่าสสารพื้นฐานของจักรวาลเกิดขึ้นนั้น จำเป็นต้องมีการสมมติว่ามีสสารพื้นฐานอยู่แล้ว และคงอยู่ตลอดไป มันเป็นนิรันดร์ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องถามว่าใครเป็นผู้สร้างและมาจากที่ใด นี้เป็นข้อโต้แย้งที่ว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก

 

 

Elements – Lindsey Stirling (YouTube)