Agriculture, พืชจีเอ็ม
พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GM Crops)#5 ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้นโดยใช้วิธีการทางเทคโนโลยีขั้นสูงในการแทรกยีนหนึ่งหรือหลายยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งชนิด (พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์) ไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น (ในกรณีนี้ถั่วเหลือง) ในพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็ม (Genetically modified crops; GM crops) ยีนที่แทรกมักจะเป็นยีนที่ต้านทานสารกำจัดวัชพืชหรือต้านทานศัตรูพืช ดังนั้นจากการโฆษณาทางการตลาดระบุว่าเกษตรกรสามารถใช้สารกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าแมลงน้อยลง เป็นการประหยัดต้นทุนและลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ส่งเสริมพืชจีเอ็มอ้างว่าเทคโนโลยีนี้ปลอดภัยอย่างสิ้นเชิง – ปลอดภัยสำหรับการบริโภคและปลอดภัยต่อโลก
ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมหรือถั่วเหลืองจีเอ็ม (Genetically modified soybean; GM soybean) คือถั่วเหลืองที่ได้รับการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรมด้วยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ในห้องทดลอง มอนซานโต (Monsanto) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรข้ามชาติที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิต Roundup สารกำจัดวัชพืชที่มีส่วนผสมของไกลโฟเสต Monsanto ยังเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 1996 Monsanto ได้เปิดตัวถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนต่อไกลโฟเสต “Roundup Ready (พันธุ์แรกมีชื่อว่า GTS 40-3-2)” สู่ตลาดสหรัฐอเมริกา ในช่วงไม่กี่ปีหลังจากนั้น Roundup Ready ฝ้าย ข้าวโพด และพืชอื่นๆ ก็เปิดตัวเช่นกัน
แม้ว่าราคาพืชผลจะต่ำกว่า แต่เหตุใดเมล็ดพันธุ์จีเอ็มที่แพงกว่าจึงเป็นที่ต้องการของเกษตรกรส่วนใหญ่?
ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่อย่างหนึ่งในการเกษตร คือการปรับปรุงถั่วเหลืองให้ทนทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช ในการปลูกถั่วเหลืองแบบดั้งเดิมเกษตรกรจะไถพรวนดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการควบคุมวัชพืชก่อนปลูก และจำเป็นต้องใช้สารกำจัดวัชพืชสำหรับวัชพืชทั้งใบแคบและใบกว้าง ในขณะที่การปลูกถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมโดยทั่วไปไม่ต้องไถพรวนและไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมดินใดๆ พวกเขาไม่จำเป็นต้องเพาะปลูกในทุ่งด้วยเครื่องมือเหล็ก ซึ่งหมายถึงการพังทลายของดินน้อยลง ใช้เชื้อเพลิงน้อยลง และเกษตรกรสามารถฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตในไร่ได้โดยไม่ทำร้ายพืชผลของตัวเอง เพียงสเปรย์ไกลโฟเสตเพียงครั้งเดียว ทำให้ต้นทุนลดลงทั้งเวลา เงิน และแรงงาน และให้ผลผลิตต่อต้นมากขึ้น เกษตรกรสามารถปลูกพืชได้สองครั้งต่อปีแทนที่จะปลูกเพียงอย่างเดียว นั่นคือเหตุผลหลักว่าทำไมเกษตรกรส่วนใหญ่จึงชอบปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม
การพัฒนานี้ทำให้เกิดแนวทางการผลิตแบบใหม่ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เกษตรกรในสหรัฐฯ สามารถเป็นซัพพลายเออร์ให้กับโลกในช่วงเวลาที่ความต้องการอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน 31 รัฐของสหรัฐอเมริกามีอุตสาหกรรมการผลิตถั่วเหลือง ผู้ผลิตอันดับต้นๆ ได้แก่ รัฐไอโอวา อิลลินอยส์ อินเดียนา และมินนิโซตา
Tom Walker – Leave a Light On (YouTube)
ประวัติความเป็นมาของถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองมีต้นกำเนิดในจีนเมื่อประมาณ 1100 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อถึงศตวรรษแรกถั่วเหลืองได้รับการปลูกในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ไทย มาเลเซีย พม่า เนปาล และอินเดีย การแพร่กระจายของถั่วเหลืองเกิดจากการสร้างเส้นทางการค้าทางทะเลและทางบก
ถั่วเหลืองตัวแรกมาถึงอเมริกาในปี 1850 เมื่อลูกเรือคนหนึ่งของเรือประมงญี่ปุ่นได้รับการช่วยเหลือในมหาสมุทรแปซิฟิกโดยชาวนาจากรัฐอิลลินอยส์ เขามอบเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองเป็นของขวัญให้กับเกษตรกรเหล่านี้ ซึ่งนำพวกมันกลับไปยังอิลลินอยส์และรัฐอื่นๆ ในแถบมิดเวสต์ จนกระทั่งปี 1879 เกษตรกรเพียงไม่กี่รายเริ่มปลูกถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลืองเจริญเติบโตได้ดีในฤดูร้อนที่มีอากาศร้อนชื้น ประมาณปี 1900 กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้ทำการทดสอบถั่วเหลืองและส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นอาหารสัตว์ ในปี 1904 GW Carver นักเคมีชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงได้ค้นพบว่าถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนและน้ำมันที่มีคุณค่า เขาสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชหมุนเวียนด้วยถั่วเหลือง สร้างความประหลาดใจให้กับเกษตรกรทำให้ผลผลิตดีขึ้น ในปี 1929 สหรัฐอเมริกาได้นำพันธุ์ถั่วเหลืองจากจีนเข้าประเทศกว่า 1,000 สายพันธุ์ เพื่อการผสมและคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีเมล็ดโต ผลผลิตสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดมากขึ้น จนกระทั่งในปี 1940 การทำฟาร์มถั่วเหลืองได้เริ่มแพร่หลายในอเมริกา เกษตรกรชาวอเมริกันนิยมปลูกถั่วเหลืองเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ ปัจจุบันถั่วเหลืองอยู่ในอันดับที่สองรองจากข้าวโพดในฐานะพืชไร่ที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลืองในแถบมิดเวสต์และตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยมากที่สุด
สำหรับประเทศไทย ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มปลูกถั่วเหลืองครั้งแรกเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าชาวจีนที่อพยพมาได้นำถั่วเหลืองเข้ามาด้วยเมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ทำให้มีถั่วเหลืองพันธุ์ดีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการผลิตถั่วเหลืองในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และทำให้ต้องมีการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาที่สำคัญในการเกษตรถั่วเหลืองคือถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมหรือถั่วเหลืองจีเอ็ม (Genetically modified soybean; GM soybean) ถั่วเหลืองพันธุ์ Roundup Ready ของบริษัท Monsanto ได้ออกสู่วางตลาดในปี 1996 และได้รับการยอมรับจากผู้ปลูกในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่ ขณะนี้ 90% ของถั่วเหลืองที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาเป็นถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งมีความทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสต
แม้ว่าถั่วเหลืองจะมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออก แต่สหรัฐฯและบราซิลกำลังแข่งขันกันเพื่อชิงตำแหน่งสูงสุดของการผลิตถั่วเหลือง ในปี 2016 ผลผลิตโดยรวมของทั้งสองประเทศนี้คิดเป็น 65% ของผลผลิตถั่วเหลืองทั้งหมดทั่วโลก การผลิตถั่วเหลืองในอาร์เจนตินาซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับสามให้ผลผลิตน้อยกว่าครึ่งหนึ่งในสหรัฐฯหรือบราซิล
การเพาะปลูกถั่วเหลืองทั่วโลก
wired.com
ปัจจุบันมี 94 ประเทศที่ปลูกถั่วเหลืองในโลก แม้ว่าการผลิตส่วนใหญ่กระจุกตัวในสามประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล และอาร์เจนตินา คิดเป็น 80% ของการผลิตถั่วเหลืองโดยเฉลี่ยของโลก และครองการส่งออก หากรวมจีนและอินเดีย ทั้งห้าประเทศนี้มีการผลิตรวมกันถึง 90% ของทั่วโลก
ประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองในปี 2016 (en.wikipedia.org)
นี่คือรายชื่อประเทศที่มีการผลิตถั่วเหลืองในปี 2018 ข้อมูลจากฐานข้อมูลสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)
มากกว่า 1,000,000 ตัน
100,000–1,000,000 ตัน
10,000–100,000 ตัน
ถั่วเหลืองเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็ม (Genetically modified crops; GM crops) ที่มีพื้นที่เพาะปลูกสูงสุดทั่วโลก ในปี 2017 มีการเพาะปลูกถั่วเหลืองในพื้นที่ 131 ล้านเฮกตาร์ การเพาะปลูกถั่วเหลืองต้องการที่ดินขนาดใหญ่ โดยผู้ปลูกส่วนใหญ่ 80% เป็นเกษตรกรรายใหญ่ ที่เหลืออยู่ในมือของเกษตรกรรายย่อย
ผลผลิตถั่วเหลืองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 0.26 ล้านถึงเกือบ 56 ล้านเฮกตาร์ในอเมริกาใต้ในช่วง 50 ปี จากปี 1961 ถึงปี 2014 เนื่องจากประชากรโลก การเติบโต และความต้องการเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้น นำไปสู่การผลิตอาหารสัตว์จากถั่วเหลืองมากขึ้น การเปิดตัวของถั่วเหลืองดัดแปลงที่ทนต่อไกลโฟเสตทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของพืชจีเอ็ม การผลิตถั่วเหลืองทั่วโลกเพิ่มขึ้น 237% จากปี 1990 ถึง 2016
ปัจจุบันมีการซื้อขายถั่วเหลืองประมาณ 350 ล้านตันต่อปี แต่มีเพียง 14% เท่านั้นที่ไม่ใช่ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม เนื่องจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ในอเมริกาใช้เมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมมากถึง 94% ของถั่วเหลืองที่ปลูกทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลปี 2018) ถั่วเหลืองถือเป็นพืชผลที่ครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรมมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาแซงหน้าข้าวสาลีและข้าวโพด โดยได้รับแรงหนุนจากความต้องการอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของการส่งออกถั่วเหลืองไปยังประเทศจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุด
ยุโรปเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองสำหรับถั่วเหลือง ประเทศในยุโรปนำเข้าถั่วเหลืองเป็นหลัก เนื่องจาก EU ไม่อนุญาตให้มีการเพาะปลูกถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม มีไม่กี่ประเทศในสหภาพยุโรปที่ปลูกถั่วเหลืองไม่ดัดแปลงพันธุกรรม มีการนำเข้าถั่วเหลืองสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับสุกร สัตว์ปีก และวัว และผลิตเป็นน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อผลิตไบโอดีเซล 53 นอกจากนี้หลายๆ ประเทศในยุโรปเป็นศูนย์กลางการขนส่งทรานส์ฟอร์มที่สำคัญ หมายความว่าส่วนหนึ่งของการนำเข้าจะถูกส่งออกอีกครั้งในรูปของถั่วเหลืองแปรรูป
ประเทศผู้ส่งออกถั่วเหลืองรายใหญ่ที่สุดในปี 2017 ได้แก่ บราซิล (26.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ) สหรัฐอเมริกา (22.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และอาร์เจนตินา (3 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และประเทศที่นำเข้ารายใหญ่ที่สุดคือจีน (38.1 ดอลลาร์สหรัฐพันล้าน) เม็กซิโก (1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และเนเธอร์แลนด์ (1.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ) การพัฒนาเหล่านี้ทำให้การหาถั่วเหลืองที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ (GMOs) เป็นเรื่องยากมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสามประเทศผู้ผลิตถั่วเหลืองที่ใหญ่ที่สุดซึ่งครองตลาดส่งออกทั่วโลก
Charlie Puth – Girlfriend (YouTube)
ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง
85% ของการเพาะปลูกถั่วเหลืองทั่วโลกถูกนำมาเป็นอาหารสัตว์ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ใช้ “กากถั่วเหลือง” เป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนสูงสำหรับสัตว์ปีกและปศุสัตว์ ถั่วเหลืองส่วนที่เหลือ 15% สำหรับการบริโภคของมนุษย์ ด้วยราคาอาหารที่สูงขึ้นทั่วโลกและมีถั่วเหลืองพันธุ์ที่ไม่ใช่จีเอ็มโอ (GMOs) น้อยลง ผู้ผลิตอาหารในเอเชียและแม้แต่สหรัฐอเมริกาก็ใช้ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อทำผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่กลายเป็นหนึ่งในอาหารที่มีการบริโภคมากที่สุดในโลกเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติมักใช้ถั่วเหลืองเพื่อทดแทนเนื้อสัตว์สำหรับโปรตีน ถั่วเหลืองมีโปรตีน 40% น้ำมัน 20% ส่วนที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรต 35% นอกจากนี้ยังมีกรดอะมิโนที่จำเป็น 9 ชนิด รวมทั้งมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ไนอะซิน วิตามินบี 1 และบี 2 วิตามินเอและอี ซึ่งสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก ลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน และบำรุงระบบประสาทในสมอง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง สารสกัดจากถั่วเหลืองอบแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ ตามที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการใส่ถั่วเหลืองในอาหารประจำวันสามารถช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและความเป็นอยู่โดยรวมได้
ตลาดถั่วเหลืองสามารถแบ่งออกเป็นอาหารสัตว์ อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เภสัชภัณฑ์ และวัสดุชีวภาพรวมทั้งเชื้อเพลิงชีวภาพ (ไบโอดีเซล) ผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันดีและนิยมใช้มากที่สุดจากถั่วเหลืองคือ “น้ำมันถั่วเหลือง” ซึ่งถูกใช้ในน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
พืชจีเอ็มโอไม่เป็นอันตราย(?) ที่อันตรายคือสารเคมีตกค้างในพืชเหล่านี้
blendspace.com
มีความเห็นพ้องกันทางวิทยาศาสตร์ว่าอาหารที่ได้จากพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์มากกว่าอาหารทั่วไป แต่อาหารจีเอ็มโอแต่ละรายการต้องได้รับการทดสอบเป็นกรณีๆไปก่อนที่จะนำมาใช้ แต่มีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของสารเคมีตกค้างในพืชเหล่านี้ต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ป่า และการดำรงชีวิตของเกษตรกร คนในพื้นที่และนักวิทยาศาสตร์บางคนได้ตั้งข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้ทุ่งนาที่ถูกฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้กับถั่วเหลืองจีเอ็ม
ก่อนที่จะมีการปลูกพืชจีเอ็มโอที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืช โดยทั่วไปเกษตรกรจะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชหลังการเก็บเกี่ยวหรือระหว่างแถวพืชและพื้นที่อื่นๆ ที่พวกเขาต้องการกำจัดวัชพืชทั้งหมด ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมพันธุ์ Roundup Ready ช่วยให้เกษตรกรสามารถฉีดพ่นลงบนพืชได้โดยตรง ซึ่งนำไปสู่การใช้ไกลโฟเสตเพิ่มขึ้นอย่างมากและทำให้ระดับไกลโฟเสตตกค้างในอาหารสูงขึ้น นอกจากนี้บางครั้งเกษตรกรจะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตบนเมล็ดพืชในช่วงปลายฤดูเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติที่ไปเพิ่มสารตกค้างไกลโฟเสตในอาหาร โคมักจะได้รับอาหารสัตว์ GMO ที่มีสารตกค้างไกลโฟเสตซึ่งสามารถสะสมในอวัยวะและกล้ามเนื้อของสัตว์ได้
ในปี 2015 องค์การเพื่อการวิจัยโรคมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ขององค์การอนามัยโลกซึ่งได้ทบทวนการศึกษาที่เปิดเผยต่อสาธารณะหลายร้อยชิ้น ประกาศว่าไกลโฟเสต (Glyphosate) สารออกฤทธิ์ในยาฆ่าวัชพืช RoundUp เป็น “สารก่อมะเร็งในมนุษย์” การตรวจสอบโรคมะเร็งของ IARC ทำให้เกิดการฟ้องร้องหลายพันคดีโดยผู้บริโภคโต้แย้งว่าพวกเขาพัฒนามะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ไม่ใช่ Hodgkin ผ่านการสัมผัสกับยาฆ่าวัชพืช Roundup ของ Monsanto
สำหรับถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืชผลชนิดหนึ่งที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมและถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารจำนวนมากขึ้น มีความขัดแย้งมากมายเกี่ยวกับถั่วเหลืองจีเอ็มโอ อย่างไรก็ตามถั่วเหลืองจีเอ็มโอไม่เคยก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อสุขภาพของผู้คน นอกจากปริมาณสารเคมีตกค้างซึ่งเป็นปัญหาเดียวกันกับที่พบในพืชที่ไม่ไช่เอ็มจีโอ ด้านลบที่เป็นไปได้ของจีเอ็มโอคือ ธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจมากกว่า นั่นคือการพึ่งพาของเกษตรกรกับบริษัทข้ามชาติเพียงไม่กี่แห่งและการปนเปื้อนของพืชป่า
Monsanto โฆษณายาฆ่าวัชพืช Roundup มานานแล้วว่า “เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” และ “ปลอดสารพิษ” ต่อปลา นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จนกระทั่ง บริษัทถูกฟ้องร้องในปี 1996 โดยอัยการสูงสุดของนิวยอร์กในข้อหาโฆษณาเท็จ ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ Roundup และผลกระทบต่อระบบนิเวศของสารออกฤทธิ์ไกลโฟเสตมีมากมาย การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตอย่างกว้างขวางทำให้เกิดการปนเปื้อนในระบบนิเวศอย่างกว้างขวาง การศึกษาหนึ่งวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำในช่วง 10 ปีใน 38 รัฐและ District of Columbia พบไกลโฟเสตและสารเคมีที่เกี่ยวข้องในตัวอย่างน้ำผิวดิน 59% ตัวอย่างน้ำใต้ดินและน้ำในดิน 8.4% และมากกว่า 50% ของตัวอย่างดินและตะกอน
การสัมผัสกับ Roundup ในสิ่งแวดล้อมอาจเป็นพิษต่อสัตว์ป่า การศึกษาหนึ่งได้ทำการจำลองการพ่น Roundup ภาคสนามในกลุ่มลูกอ๊อด และลุูกกบ แอปพลิเคชั่น Roundup หนึ่งตัวฆ่าลูกอ๊อด 98% ภายในสามสัปดาห์และ 79% ของลูกกบภายในหนึ่งวัน การทดลองอื่นพบว่าการสัมผัส Roundup ฆ่าปลาคาร์พได้ 100% ภายในหนึ่งชั่วโมง
ปัญหาการดื้อยาของสุดยอดวัชพืช “Superweeds”
sustainablepulse.com
พืชจีเอ็มโอที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชได้รับการปลูกโดยเกษตรกรรายใหญ่จำนวนมากในอเมริกาเหนือและใต้ เนื่องจากในช่วงปีแรกๆ หลังจากการนำมาใช้ พวกมันทำให้ระบบการฉีดพ่นง่ายขึ้น กล่าวคือเกษตรกรต้องฉีดพ่นสารกำจัดวัชพืชชนิดเดียวเพียงครั้งเดียวซึ่งช่วยประหยัดค่าแรงและเพิ่มผลผลิตของพืช อย่างไรก็ตามในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา การใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดเดียวกันซ้ำหลายครั้งได้นำไปสู่การพัฒนาของ “สุดยอดวัชพืช (Superweeds)” ที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสต Superweeds เหล่านี้ทำให้ผลผลิตลดลง และต้องใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชหลายชนิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าและบางครั้งเกษตรต้องดึงพวกมันออกด้วยมือ เพื่อต่อสู้กับ Superweeds เกษตรกรได้ฉีดพ่นสารเคมีมากขึ้นเรื่อยๆ แทนที่จะลดลงตามที่บริษัทผู้พัฒนาพืชชนิดนี้อ้างว่าจะนำไปสู่การลดการใช้สารกำจัดวัชพืช
อย่างไรก็ตามเกษตรกรจำนวนมากติดอยู่กับการปลูกพืชจีเอ็มอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพันธุ์ที่ไม่ใช่จีเอ็มที่ให้ผลตอบแทนสูงหาได้ยาก เนื่องจากบริษัทต่างๆ ทำกำไรได้น้อยจากการขายเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ใช่จีเอ็ม ปัญหาการดื้อยาของวัชพืชกำลังระบาดในฟาร์มของสหรัฐฯ และผู้ปลูกต้องการเทคโนโลยีใหม่ในขณะนี้เพื่อรักษาผลผลิต
การใช้ไกลโฟเซตทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 15 เท่าระหว่างปี 1995 ถึง 2014 ซึ่งสัมพันธ์กับการเปิดตัวพืช Roundup Ready ในปี 1996 ในตอนแรกไกลโฟเสตมีประสิทธิภาพในการฆ่าวัชพืชได้หลากหลายชนิดและใช้ง่ายกว่าเพราะเกษตรกรไม่ต้องกังวลว่าการฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชไกลโฟเสตจะไปทำลายพืชผลของพวกเขา อย่างไรก็ตามในปี 2018 มีวัชพืช Superweeds 42 ชนิดทั่วโลกที่ได้รับการระบุว่าต้านทานต่อไกลโฟเสต และ 1 ใน 3 ของ Superweeds เกิดขึ้นในรอบ 5 ปี (2556 ถึง 2561) การศึกษาของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดและถั่วเหลืองที่รายงานปัญหาวัชพืชที่ต้านทานไกลโฟเสต ประสบปัญหาต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นและผลผลิตที่ลดลงเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รายงานปัญหาวัชพืช
เพื่อต่อสู้กับ Superweeds ที่เกิดจากการใช้สารกำจัดวัชพืชชนิดเดียวมากเกินไป วิธีแก้ปัญหาของบริษัทผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมคือ การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้มากขึ้นโดยรวมส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิดเข้าด้วยกัน อย่างเช่น บริษัท Dow AgroSciences ของสหรัฐอเมริกาได้แนะนำสารเคมีกำจัดวัชพืช Enlist Duo ซึ่งเป็นส่วนผสมของไกลโฟเสตและสารกำจัดวัชพืชรุ่นเก่าที่เรียกว่า 2,4-D เพื่อต่อสู้กับ Sperweeds ที่ต้านทานไกลโฟเสต
สำหรับบริษัทมอนซานโต (Monsanta) ได้เปิดตัวถั่วเหลือง Roundup Ready 2 Xtend ในเชิงพาณิชย์ในปี 2016 ซึ่งเป็นถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมที่มีความทนทานต่อสารกำจัดวัชพืชทั้งไดคัมบาและไกลโฟเสต บริษัทให้สัญญาว่า มันจะเป็นเครื่องมือใหม่ของเกษตรกรถั่วเหลืองเพื่อต่อสู้กับ Superweeds ที่มีการพัฒนาในการต้านทานสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสต