Newsletter subscribe

About World, Humanity

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์#2 โปรแกรมสุขภาพโลก

Posted: 19/01/2020 at 09:21   /   by   /   comments (0)

นิโคลาส คริสตอฟ (Nicholas Kristof) นักข่าวชาวอเมริกันเจ้าของสองรางวัลพูลิตเซอร์ ได้ลงบทความในหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทม์ส “สำหรับโลกที่สาม น้ำยังคงเป็นเครื่องดื่มที่ทำให้ตายได้” เมื่อปี 1997

ครั้งหนึ่งเมื่อคริสตอฟทำงานที่อินเดีย เขาถามผู้หญิงคนหนึ่งถึงสถานที่ๆเขาจะสามารถปัสสาวะได้ เธอชี้ไปที่รางน้ำที่ไหลลงสู่แหล่งน้ำดื่ม คริสตอฟช็อคเป็นอย่างมาก จากจุดนี้เองที่ทำให้เขาเริ่มศึกษาหาข้อมูลและพบว่า ในแต่ละปีมีเด็กกว่าสามล้านคนเสียชีวิตเนื่องจากโรคท้องร่วง โดยมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สุดของการเอาชีวิตรอดของมนุษย์ 

คริสตอฟตระหนักว่า พวกเราส่วนใหญ่ในอเมริกาไม่เคยรู้เลยว่ามีที่อื่นๆในโลกนี้ที่มีคนเสียลูกไปหลายล้านคน สาเหตุเพราะท้องเสีย มันช่างน่ากลัวจริงๆ! และมันสมควรได้ขึ้นหน้าแรกของหนังสือพิมพ์! เมื่อถามถึงเรื่องนี้อีก 20 ปีต่อมา คริสตอฟพูดถึงเรื่องนี้ว่า

“บทความนี้ถูกลืมไปอย่างรวดเร็วยกเว้นผู้อ่านสำคัญสองคนในเมืองซีแอตเทิล”

 

nytimes.com

บิลและเมลินดา เกตส์ อ่านบทความนี้เช่นกัน  บทความในหนังสือพิมพ์ที่เด็กหลายล้านคนในประเทศยากจนเสียชีวิตด้วยโรคที่ถูกกำจัดไปนานแล้วในสหรัฐอเมริกาที่เขาทั้งสองได้อ่านในปี 1990 เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจที่นำพวกเขาไปสู่การก่อตั้งมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ในปี 1994 ตั้งแต่นั้นมาวัคซีนได้กลายเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของมูลนิธิ การตระหนักว่าเด็กๆในประเทศที่พัฒนาแล้วสามารถเข้าถึงวัคซีน ในขณะที่เด็กๆในประเทศกำลังพัฒนากำลังจะตายเพราะขาดวัดซีน เป็นสิ่งกระตุ้นให้มูลนิธิลงทุนในเรื่องนี้
 

จากเว็บไซต์ของมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ เป้าหมายหลักของมูลนิธิคือ เพื่อ “ลดความไม่เท่าเทียมและปรับปรุงชีวิตของคนทั่วโลก” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ มูลนิธิจึงมุ่งเน้นไปที่ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ สุขภาพโลก, การพัฒนาทั่วโลก และโครงการของสหรัฐอเมริกาในด้านการศึกษาและการเข้าถึงเทคโนโลยีสำหรับชุมชนผู้มีรายได้น้อยในสหรัฐอเมริกา

โครงการระดับโลกของมูลนิธิมุ่งเน้นไปที่ “การปรับปรุงสุขภาพ ลดความยากจนขั้นรุนแรง และเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยีในห้องสมุดสาธารณะ”  มูลนิธิบรรพบุรุษก่อนหน้านี้คือ William H. Gates Foundation ได้บริจาคเงินมากกว่า 7.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการต่อสู้เชื้อ เอชไอวีและเอดส์ (HIV/AIDs) และมาลาเรีย 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับการฉีดวัคซีน และ 448 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับโครงการ GCGH

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ได้ลงทุนมากกว่า 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในด้านสุขภาพโลกมาตั้งแต่ปี 1994 ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 จากจำนวนการลงทุนทั้งหมด มูลนิธิให้การสนับสนุนการวิจัยที่มุ่งเน้นไปที่ความต้องการของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนนักวิจัยในสาขาชีวการแพทย์เพื่อให้นำความรู้และความเชี่ยวชาญไปใช้กับโรคที่มีความเสี่ยงสูง และมีผลกระทบอย่างสูงต่อสุขภาพของประชาชนทั่วโลก และมีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างที่เรียกว่า 90-10 ในการวิจัยทางการแพทย์ ซึ่งในแต่ละปีมีการใช้จ่ายงบประมาณในการทำวิจัย 70 พันล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก แต่มีเพียง 10% ของเงินจำนวนนี้ที่ใช้ในการวิจัยโรคที่ส่งผลต่อ 90% ของประชากรโลก

 

 

Tim McGraw – Humble And Kind

 

โปรแกรมต้านโรคมาลาเรีย โปลิโอ และเอดส์ ของมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์กับการต่อสู้กับโรคมาลาเรีย

แผนที่แสดงภูมิภาคที่มีการแผ่ระบาดของโรคมาลาเรียสูง (microbewiki.kenyon.edu)

ยุง (mosquitoes) เป็นแมลงดูดเลือดชนิดหนึ่งที่ก่อปัญหาให้กัมนุษย์ ยุงบางชนิดสร้างความรำคาญ บางชนิดเป็นพาหะนำโรค ยุงที่เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ได้แก่ ยุงลายเป็นพาหะนำโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ซิกา ยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย ยุงเสือเป็นพาหะนำโรคเท้าช้าง ซิกา โรคที่เกิดจากยุงที่คร่าชีวิตผู้คนปีละ 400,000 คน มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตอยู่ในแอฟริกาและกว่า 60 เปอร์เซ็นต์เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี 

ไข้มาลาเรียเป็นสาเหตุหนึ่งที่คร่าชีวิตคนจำนวนมากทั่วโลก จากรายงานองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ชี้ว่ามีคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคมาลาเรียประมาณ 400,000 – 500,000 คนต่อปี ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กในแอฟริกาแถบทะเลทรายซาฮารา คนที่ได้รับเชื้อมาลาเรียจะมีไข้สูงหนาวสั่นอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่และโรคโลหิตจางรุนแรง อาการเหล่านี้อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็ก โรคมาลาเรียที่รุนแรงสามารถทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาตลอดชีวิตในเด็ก ความเสี่ยงของโรคลดได้โดยการป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด โดยใช้มุ้งหรือสารขับไล่แมลง หรือด้วยมาตรการควบคุมยุง เช่น การฉีดพ่นยาฆ่าแมลงหรือการระบายน้ำนิ่ง

 

 

goodventures.org

ปกติยุงทั้งตัวผู้และตัวเมียจะกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ แต่ยุงตัวเมียจะต้องการโปรตีนจากเลือดมนุษย์หรือสัตว์เพื่อช่วยในการเจริญของไข่และสร้างพลังงาน ดังนั้นยุงตัวเมียเท่านั้นที่กัดคนและสัตว์ ยุงตัวเมียจะเริ่มกัดเมื่อพวกมันโตเต็มวัยเท่านั้น ยุงที่ได้รับเชื้อมาลาเรียจากการไปกัดผู้ป่วยโรคมาลาเรีย จะเป็นตัวนำเชื้อไปกระจายจากคนสู่คน เป็นเวลานานกว่าทศวรรษที่ผู้คนมีเพียงมุ้งและสเปรย์ยาฆ่ายุงเพื่อปกป้องพวกเขาจากมาลาเรีย มันไม่เพียงพอ การกำจัดแหล่งน้ำขังและใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดเป็นแนวทางที่นิยมกันมากที่สุด การควบคุมโรคด้วยวิธีนี้แม้จะประสบผลสำเร็จ แต่ก็ได้ผลเฉพาะในระยะสั้นและยังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย ไม่ใช่มีเพียงมนุษย์เท่านั้นที่มีลักษณะของการดื้อยา ยุงก็เช่นกันสามารถพัฒนาตัวเองจนสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อสารเคมีในยาฆ่าแมลง ทำให้มีผู้ป่วยโรคมาลาเรียเพิ่มขึ้น นี่เป็นปัญหาอย่างยิ่งสำหรับการต่อสู้กับโรคนี้

 

ยุงดัดแปลงพันธุกรรม เครื่องมือสำคัญในการลดการเสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย

sciencealert.com

ปัจจุบันการศึกษาวิจัยอย่างเข้มข้นกำลังเดินหน้าไปทั่วโลกเพื่อเสาะหาวิธีการใหม่ๆออกมาใช้ปราบไข้มาลาเรีย วิธีการทางพันธุกรรมเป็นกลยุทธ์ล่าสุดในการควบคุมประชากรยุงที่แพร่กระจายเชื้อมาลาเรียและไวรัส เช่น ไข้เลือดออก, ไข้ชิคุนกุนยา, ไข้เหลืองและซิก้า ในห้องแล็บนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลองกับ “ยุงจีเอ็ม” หรือยุงดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically modified (GM) mosquitos) 

ยุงจีเอ็มจะสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อมาลาเรียที่เข้าสู่ตัวยุงหลังจากไปดูดเลือดคนที่เป็นไข้มาลาเรีย นักวิทยาศาสตร์หวังให้ยุงจีเอ็มตัวผู้ไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียในธรรมชาติ เพื่อที่จะให้กำเนิดลูกยุงที่มีระบบภูมิคุ้มกันเชื้อมาลาเรียในร่างกายสูงกว่าเดิม ดังนั้นยุงจีเอ็มอาจกลายเป็นอาวุธต่อต้านไข้มาลาเรียที่มีประสิทธิภาพที่สุดวิธีหนึ่ง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์เหมือนยาฆ่าแมลง

 

knkx.org

บิล เกตส์ ให้ความสนใจในการต่อสู้กับโรคมาลาเรียที่ส่งผลกระทบต่อคนมากกว่า 200 ล้านคนในแต่ละปี มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ใช้จ่ายเงินมากกว่า 41 พันล้านดอลลาร์ในการต่อสู้กับโรคนี้นับตั้งแต่ก่อตั้งมูลนิธิ และเมื่อเร็วๆนี้ บิล เกตส์ ประกาศจะลงทุนอีก 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2023 เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อยุติโรคมาลาเรีย

ตัวอย่างของการทำงานของมูลนิธิในการต่อสู้กับโรคมาลาเรีย ได้แก่ การบริจาคเงินสนับสนุนโครงการวิจัยวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรีย, การลงทุนในโครงการยุงจีเอ็ม โดยทำข้อตกลงกับ Oxitec Ltd บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศอังกฤษ ซึ่งทำการพัฒนาแมลงจีเอ็มเพื่อใช้ในการควบคุมประชากรยุง, ร่วมมือกับพันธมิตรจัดหามุ้งกันยุงนวัตกรรมใหม่จำนวน 35 ล้านหลัง ให้กับประเทศในทวีปแอฟริกาแถบทะเลทรายซาฮาราซึ่งมีการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียสูง

 

 

Years & Years – Take Shelter

 

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์กับการต่อสู้กับโรคโปลิโอ

thaichildcare.com

โรคโปลิโอ (Polio) หรือโรคไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เชื้อจะเข้าไปในระบบประสาท และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการอัมพาตตามมา เชื้อไวรัสโปลิโอสามารถก่อให้เกิดโรคได้ในคนทุกกลุ่มอายุ แต่มักจะเกิดโรคในกลุ่มอายุต่ำกว่า 5 ปีมากที่สุด เนื่องจากยังไม่มีภูมิต้านทานหรือมีแต่ไม่สูงมากพอ เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมามีการระบาดของเชื้อไวรัสโปลิโอใน 125 ประเทศ ทำให้มีผู้ป่วยอัมพาต 350,000 คนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก เมื่อมีการค้นพบวัคซีนป้องกันโรคนี้ได้  โครงการกำจัดโรคโปลิโอทั่วโลก (GPEI) จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 1988 ตามมติการประชุมสมัชชาขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งองค์การอนามัยโลกและประเทศสมาชิกรวมทั้งประเทศไทยมีพันธะสัญญาร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมเพื่อกวาดล้างโปลิโอให้หมดไปจากโลก

ตั้งแต่นั้นมาความพยายามในการสร้างภูมิคุ้มกันโรคโปลิโอทำให้มีจำนวนผู้ป่วยโปลิโอลดลงมากกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยเด็กๆกว่า 13 ล้านคนพ้นจากการเป็นอัมพาต แม้ว่าปัจจุบันแหล่งระบาดหลักของโรคโปลิโออยู่ในประเทศแถบเอเชียใต้ อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปีที่ผ่านกลับมีการรายงานของโรคโปลิโอในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะล่าสุดที่มีการระบาดใหม่ของโรคโปลิโอที่ประเทศฟิลิปปินส์

สำหรับประเทศไทยไม่พบผู้ป่วยโรคโปลิโอมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยพบรายสุดท้ายในปี 1997 แต่ประเทศไทยยังจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรค เพราะมีอาณาเขตติดกับประเทศที่มีการระบาดของโรคโปลิโออย่างพม่าและลาวที่เพิ่งพบเชื้อโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธ์ุไปเมื่อปี 2015 ทำให้ยังมีความจำเป็นต้องรณรงค์ให้วัคซีนโปลิโอแก่เด็กไทยต่อเนื่องทุกปี 

 

gatesfoundation.org

แคมเปญวัคซีนโปลิโอ

สำหรับ บิล เกตส์ ได้กล่าวว่า แม้การกวาดล้างโรคโปลิโอจะมีความคืบหน้ามาก แต่ปัจจุบันโรคติดต่อร้ายแรงนี้ยังไม่ถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์ หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ ภายในระยะเวลา 10 ปี เราจะเห็นจำนวนผู้ป่วยโปลิโอรายใหม่เพิ่มขึ้นจนถึง 200,000 รายต่อปี แม้ว่าวัคซีนและเครื่องมือตรวจจับมีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดเชื้อไวรัสโปลิโอ แต่อาจไม่สามารถกำจัดโรคนี้ได้อย่างสมบูรณ์ มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) กำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อปรับปรุงเครื่องมือที่มีอยู่ พร้อมๆไปกับการเร่งพัฒนา วัคซีนที่ปลอดภัยกว่า เครื่องมือวินิจฉัยที่ดีกว่า ยาต้านไวรัสตัวใหม่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากนี้มูลนิธิยังทำงานร่วมกับพันธมิตรซัพพลายเออร์และรัฐบาลเพื่อประกันความมั่นใจในการจัดหาวัคซีนให้มีเพียงพอกับความต้องการ

โรคโปลิโอป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน โดยมีทั้งชนิดรับประทาน (Oral polio vaccine: OPV) และชนิดฉีด (Inactivated poliomyelitis vaccine: IPV) วัคซีนโปลิโอชนิดรับประทานซึ่งใช้กันมากที่สุดในประเทศกำลังพัฒนา มีความปลอดภัยมีประสิทธิภาพง่ายต่อการดูแลและราคาไม่แพง แต่วัคซีนชนิดรับประทานหรือ OPV ประกอบด้วยไวรัสที่มีชีวิตอ่อนแอ พบปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโปลิโอในวัคซีนชนิดนี้ซึ่งสามารถก่อโรคได้ ด้วยเหตุนี้มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ให้การสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอชนิดใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยง 

การเฝ้าระวังและติดตาม

ปัจจุบันมีเด็กร้อยละ 20 ของโลกไม่ได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็นทั้งหมด การเข้าถึงชุมชนทุกแห่งต้องเข้าใจอุปสรรคในท้องถิ่น รวมถึงการใช้เครื่องมือติดตามและการวางแผนที่ซับซ้อน ทางมูลนิธิกำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อเสริมสร้างโปรแกรมการฉีดวัคซีนเป็นประจำสำหรับโรคโปลิโอและโรคอื่นๆ ที่ป้องกันได้รวมถึงโรคคอตีบ บาดทะยักไอกรน และโรคหัด

การเฝ้าระวังและติดตาม

การเฝ้าระวังและติดตามในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุดมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ระบบเฝ้าระวังที่แข็งแกร่งช่วยให้ทางมูลนิธิกำหนดเป้าหมายแคมเปญเพื่อปรับเปลี่ยนโปรแกรมอย่างรวดเร็ว เพื่อเข้าจัดการกับการระบาดของโรคอย่างรวดเร็ว การเฝ้าระวังโรคโปลิโอนั้นมีความท้าทายเป็นพิเศษเพราะหากมีการติดเชื้อเพียงเล็กน้อย ก็สามารถที่ทำให้เป็นอัมพาตได้ เพื่อยืนยันโรคต้องวิเคราะห์ตัวอย่างอุจจาระเพื่อดูว่ามีเชื้อโปลิโออยู่หรือไม่

สิ่งที่มูลนิธิดำเนินการได้แก่ การทดสอบตัวอย่างน้ำเสียเพื่อหาหลักฐานการแพร่กระจายของโปลิโอในชุมชนโดยรอบ มูลนิธิได้ลงทุนในเครื่องมือเทคโนโลยีที่ให้ค่าการสุ่มตัวอย่างที่ละเอียดอ่อนมากขึ้นด้วยปริมาณตัวอย่างเพียงเล็กน้อย มูลนิธิยังให้ทุนสนับสนุนโครงการเพื่อการพัฒนาเครื่องมือห้องปฏิบัติการในราคาไม่แพงและเชื่อถือได้มากขึ้น เช่น ชุดวินิจฉัยที่ห้องปฏิบัติการในท้องถิ่นสามารถใช้เพื่อแยกแยะตัวอย่างเชิงลบ และส่งตัวอย่างเชิงบวกไปยังห้องปฏิบัติการหลัก

การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเข้าถึงตลาด

แม้ว่าวัคซีนและเครื่องมือตรวจจับในปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดไวรัส แต่ก็อาจไม่สามารถกำจัดโรคได้อย่างสมบูรณ์ มูลนิธิกำลังทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อปรับปรุงเครื่องมือที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งการพัฒนาวัคซีนที่ปลอดภัยกว่า เครื่องมือวินิจฉัยที่ดีกว่า ยาต้านไวรัสใหม่ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ นอกจากนี้มูลนิธิยังทำงานร่วมกับพันธมิตรซัพพลายเออร์และรัฐบาลเพื่อรับประกันความต้องการให้มีวัคซีนที่เพียงพอและเพื่อส่งเสริมการแข่งขันในตลาด

 

 

Calvin Harris, Sam Smith – Promises

 

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์กับการต่อสู้กับโรคเอดส์

twitter.com

โรคเอดส์ (AIDS) เป็นระยะสุดท้ายของการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตทั่วโลก และยังเป็นโรคที่คุกคามมนุษยชาติที่ร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่งในปัจจุบันนี้ โรคเอดส์เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HIV ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสทำลายจนร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคทั้งหลายที่เข้าสู่ร่างกายได้ ผู้ติดเชื้อ HIV อาจไม่พัฒนาอาการจนเป็นผู้ป่วยโรคเอดส์เต็มขั้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ของปี 2018 มีประชากร 38 ล้านคนที่มีเชื้อ HIV ในร่างกาย ประเทศในทวีปแอฟริกาที่ตั้งอยู่ตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด โดยมีประชากรมากกว่า 70% ของผู้คนทั่วโลกติดเชื้อ HIV

เป้าหมายของมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ในการต่อสู้กับโรคเอดส์ คือพยายามลดจำนวนผู้ติดเชื้อ HIV ลงทั่วโลก การทำงานของมูลนิธิจะมุ่งเน้นในบางประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดของ Sub-Saharan Africa และในกลุ่มประชากรหลักที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากที่สุด จนถึงปัจจุบันมูลนิธิได้ให้เงินช่วยเหลือแก่องค์กรทั่วโลกมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมากกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐกับกองทุนโลกเพื่อต่อสู้กับ โรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรีย

ประมาณครึ่งหนึ่งของคนที่มีเชื้อ HIV โดยเฉพาะผู้ชายไม่รู้ว่าตนเองติดเชื้อ มูลนิธิให้การสนับสนุนการพัฒนาและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสม นี้จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อ HIV รู้ตัวว่ามีเชื้ออยู่ในร่างกาย จะได้เข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที และเนื่องจากโปรแกรมการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่ยืดหยุ่น ทำให้ผู้ป่วยหลายคนหยุดการรักษาก่อนสิ้นสุดโปรแกรม มูลนิธิจึงสนับสนุนพันธมิตรที่ทำงานเพื่อลดความยุ่งยากในการส่งมอบการรักษา HIV และแนะนำรูปแบบการดูแลที่ปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของประชากร  ระบบข้อมูลผู้ป่วยที่ดีขึ้นก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV เข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

การทดสอบปริมาณไวรัส 

การวัดขนาดอนุภาค HIV ในเลือดมีความสำคัญต่อการช่วยให้ผู้คนที่ติดเชื้อ HIV เข้าใจสถานะสุขภาพของพวกเขาและมีแรงจูงใจในการรักษาต่อไป มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ได้ให้การสนับสนุนการใช้การทดสอบโหลดไวรัสที่ได้รับการปรับปรุง รวมถึงการพัฒนาระบบทดสอบโหลดไวรัสแบบใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

การขยายการใช้มาตรการป้องกันที่มีอยู่

มาตรการป้องกันการโรคเอดส์ที่มีอยู่หลายตัวพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HIV แต่มาตรการป้องกันโรคเอดส์เหล่านี้จะได้ผลก็ต่อเมื่อมีราคาไม่แพง การขลิบอวัยวะเพศมีบทบาทสำคัญในการจำกัดการแพร่กระจายของเชื้อ HIV มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์จึงให้การสนับสนุนการรณรงค์ขลิบอวัยวะเพศชายที่สมัครใจในหลายประเทศของภูมิภาคแอฟริกาซาฮารา นอกจากนี้มูลนิธิยังสนับสนุนการรณรงค์การใช้ถุงยางอย่างสม่ำเสมอ และการใช้ยาที่ลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ HIV 

การพัฒนาวัคซีน HIV

มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ให้การสนับสนุนการวิจัยเพื่อการพัฒนาวัคซีน HIV วัคซีนที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคเอดส์ทั่วโลกได้อย่างมาก