Hyperloop, Innovation
ระบบขนส่งไฮเปอร์ลูป#2 การออกแบบและหลักการทำงานของไฮเปอร์ลูปใน Hyperloop Alpha
casestudyhyperloop.com
ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) เป็นแนวคิดใหม่สำหรับการขนส่งความเร็วสูง ประกอบด้วย pod หรือแคปซูลโดยสารวิ่งด้วยความเร็วใกล้ความเร็วเสียงภายในท่อเกือบสูญญากาศ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ประกาศแนวคิดไฮเปอร์ลูปครั้งแรกในปี 2012 เนื่องจากเขาไม่เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนีย (California High-Speed Rail) ที่จะวิ่งระหว่างเมืองลอสแองเจอลิสและเมืองซานฟรานซิสโก ซึ่งอีลอน มัสก์ วิจารณ์ว่ามันเป็นหนึ่งในระบบการขนส่งที่ช้าที่สุดในโลกและแพงเกินไป
แนวคิดไฮเปอร์ลูปของ อีลอน มัสก์ สร้างความตื่นเต้น ความสนใจ เพราะเป็นการนำเสนอเทคโนโลยีการขนส่งแบบใหม่ แหวกแนว เดินทางในท่อด้วยความเร็วใกล้เสียง! มีเสียงวิจารณ์ต่างๆมากมายตามมา นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางการขนส่งส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า มันเป็นไปไม่ได้ในทางปฎิบัติอย่างสิ้นเชิง “ completely impractical ”
หนึ่งปีต่อมา ในเดือนกรกฎาคม 2013 บริษัท SpaceX ได้ออกเอกสารปกขาว ” Hyperloop Alpha” ซึ่งมี 57 หน้า โดย อีลอน มัสก์ ได้ให้รายละเอียดการออกแบบและหลักการทำงานของไฮเปอร์ลูป เพื่อเสนอให้เป็นระบบขนส่งอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับรัฐแคลิฟอร์เนีย
สามารถอ่าน “Hyperloop Alpha” ตามลิงค์ข้างล่างนี้
https://www.tesla.com/sites/default/files/blog_images/hyperloop-alpha.pdf
ในเอกสารปกขาว “Hyperloop Alpha” ระบบขนส่งไฮเปอร์ลูปเหมาะสำหรับการเดินทางระหว่างเมือง ระยะทางไม่เกิน 1,500 กม. ประกอบด้วย pods หรือแคปซูลโดยสารวิ่งภายในท่อเกือบสูญญากาศด้วยความเร็วสูงสุด 760 ไมล์/ชม. หรือ 1,220 กม./ชม. แคปซูลลอยตัวด้วยอากาศโดยใช้แอร์แบริ่ง (Air bearing) และมีมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้น (Linear induction motor) เป็นระบบขับเคลื่อน ผู้โดยสารเข้าและออกจากไฮเปอร์ลูป ที่สถานีต้นทางและปลายทางหรือสถานีสาขาระหว่างทาง
อีลอน มัสก์ ได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบขนส่งไฮเปอร์ลูปไว้ที่ 6 พันล้านดอลลาร์ เพียง 10% ของค่าใช้จ่ายในโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งอยู่ที่ 68 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ ปี 2012 สำหรับค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบขนส่งไฮเปอร์ลูป 6 พันล้านดอลลาร์ แบ่งเป็น 5.41 พันล้านดอลลาร์สำหรับการสร้างท่อขนส่งและระบบขับเคลื่อนของไฮเปอร์ลูป และ 54 ล้านดอลลาร์สำหรับการสร้างแคปซูลโดยสารสำหรับผู้โดยสาร 40 คนต่อหนึ่งแคปซูล
spacex.com
Hyperloop Transportation System
ในเอกสารปกขาว ” Hyperloop Alpha” อีลอน มัสก์ ได้ออกแบบระบบการขนส่งไฮเปอร์ลูปสำหรับการเดินทางระหว่างเมืองลอสแองเจอลิสและเมืองซานฟรานซิสโก เป็นระยะทาง 840 กม. ซึ่งจะใช้เวลาในการเดินทางเพียง 35 นาที จากปกติที่ใช้เวลา 6 ชั่วโมงหากเดินทางด้วยรถยนต์
Magzter.com
ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) เป็นการเดินทางด้วย pod หรือแคปซูลโดยสารที่วิ่งในท่อเหล็ก (tube) ที่วางตัวเป็นแนวยาวเหนือพื้นดินหรือใต้ดิน ในกรณีที่อยู่เหนือพื้นดิน ท่อจะถูกติดตั้งอยู่บนเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่เรียก Pylons หรือ Pillars ซึ่งถูกออกแบบมาให้สามารถรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว และทนทานต่อสภาพอากาศเลวร้าย เสาแต่ละต้นมีระยะห่างกัน 30 เมตร และจะมีความสูง 6, 15 และ 30 เมตรขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ถ้าระยะทาง 700 กม. ก็จะมีเสา 25,000 ต้น
spacex.com
ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) เป็นระบบการขนส่งประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้านบนของตัวท่อขนส่งติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถผลิตพลังงาน 52 MW เหลือเฟือสำหรับการทำงานของไฮเปอร์ลูปซึ่งใช้พลังงานเพียง 6 MW พลังงานไฟฟ้าที่เหลือจากการใช้งานจะถูกเก็บในแบตเตอรี่ที่อยู่ส่วนท้ายของแคปซูล
Hyperloop Pod or Capsule
Pod หรือแคปซูลโดยสารของไฮเปอร์ลูปแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหน้ามีพัดลมคอมเพรสเซอร์ (compressor fan) ซึ่งมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวจ่ายพลังงาน ตรงกลางเป็นห้องโดยสาร และส่วนท้ายเป็นพื้นที่วางแบตเตอรี่
ภาพแสดงส่วนประกอบสำคัญของแคปซูลโดยสารในเอกสารปกขาว Hyperloop Alpha (spacex.com)
แคปซูลโดยสารของไฮเปอร์ลูปที่มัสก์เสนอในเอกสารปกขาว Hyperloop Alpha มี 2 แบบคือ แบบที่มีแต่ผู้โดยสาร กับแบบที่มีทั้งผู้โดยสารและยานพาหนะ
แคปซูลแบบที่มีแต่ผู้โดยสารมีความกว้าง 1.35 เมตร สูง 1.10 เมตร (พี่แกให้ต้นแบบไว้แคบมากๆ แคปซูลโดยสารของจริงที่กำลังพัฒนาใหญ่และกว้างมาก) ส่วนแคปซูลแบบที่มีทั้งผู้โดยสารและยานพาหนะ มีการเพิ่มพื้นที่ส่วนหน้า 4 ตารางเมตร สำหรับบรรทุกรถยนต์ได้ 1 คัน แต่ละแคปซูลมีที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 28 คน และออกเดินทางทุกๆ 2 นาที ดังนั้นสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ 840 คน/ชั่วโมง หรือ 6 ล้านคน/ปี
ภาพสเก็ตแสดงการออกแบบแคปซูลของไฮเปอร์ลูปในในเอกสารปกขาว Hyperloop Alpha (spacex.com)
ภาพแสดงต้นแบบของแคปซูลโดยสารในในเอกสารปกขาว Hyperloop Alpha (spacex.com)
ภาพแสดงภายในแคปซูลโดยสารของไฮเปอร์ลูปที่มีประตูเปิดออกในเอกสารปกขาว Hyperloop Alpha (spacex.com)
James Bay – Peer Pressure ft. Julia Michaels (Youtube)
ฟังเพลงเบาๆ แต่คนละ Pressure นะจ๊ะ
The Importance of Aerodynamics in Hyperloop Design
ระบบขนส่งไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) เป็นแนวคิดใหม่ให้ pod หรือแคปซูลโดยสารวิ่งด้วยความเร็วใกล้ความเร็วเสียง (transonic speed) ในท่อเกือบสุญญากาศ หลักการของอากาศพลศาสตร์ (Aerodynamics) เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการออกแบบระบบขนส่งนี้
การออกแบบยานพาหนะที่วิ่งด้วยความเร็วสูง เช่น รถไฟความเร็วสูง ต้องออกแบบเพื่อลดแรงเสียดทาน 2 ชนิด คือ (1) แรงเสียดทานอากาศหรือแรงต้านอากาศ (air resistance or aerodynamic drag) ซึ่งเป็นแรงที่อากาศต่อต้านการเคลื่อนที่ของรถ (2) แรงเสียดทานระหว่างผิววัตถุ (friction force) ในที่นี้คือ รางกับล้อรถ
แรงต้านอากาศ (Aerodynamic drag) เป็นหนึ่งในพารามิเตอร์ที่สำคัญที่สุดในของการออกแบบเทคโนโลยี Hyperloop การลดแรงต้านอากาศลงอย่างมาก ไม่เพียงแต่ลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและการดำเนินงาน แต่ยังช่วยลดการใช้พลังงานของระบบขับเคลื่อน
ในเอกสารปกขาว Hyperloop Alpha อีลอน มัสก์ กล่าวว่า ยิ่งเดินทางด้วยความเร็วสูง ก็ยิ่งต้องการพลังงานมากขึ้นในการเอาชนะแรงเสียดทานอากาศที่เพิ่มขึ้นมา “ to travel twice as fast a vehicle must overcome four times the aerodynamic resistance, and input eight times the power ” ยานพาหนะที่เคลื่อนที่เร็วเป็นสองเท่า จะทำให้เกิดแรงเสียดทานอากาศเพิ่มขึ้น 4 เท่า ซึ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นถึง 8 เท่าเพื่อเอาชนะมัน
สิ่งที่ อีลอน มัสก์ พูดเป็นไปตามหลักการของอากาศพลศาสตร์ “ Aerodynamic drag increases with the square of speed and the power requirement increases with the cube of speed “ แรงต้านอากาศเพิ่มขึ้นตามความเร็วยกกำลังสอง (D ∝ v2) ซึ่งต้องการพลังงานมากขึ้นตามความเร็วยกกำลังสาม (P ∝ v3)
slideshare.com
เพื่อที่จะให้ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) วิ่งด้วยความเร็วสูง 1,220 กม./ชม. จะต้องลดแรงต้านอากาศกับตัวแคปซูลโดยสารลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการลดความหนาแน่นของอากาศหรือลดความดันอากาศในท่อให้เหลือน้อยที่สุด อากาศในท่อจะถูกดูดออกไปภายนอก จนความดันอากาศภายในท่อลดลง 1,000 เท่า อยู่ที่ระดับ 100 Palcals (0.001 atm หรือ 0.001 บรรยากาศ) เมื่อเทียบกับความดันอากาศภายนอกท่อซึ่งอยู่ที่ระดับ 100,000 Palcals (เกือบ 1 atm)
ทำไมท่อขนส่งของไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) ถึงไม่เป็นสูญญากาศ คำตอบคือ ในทางปฏิบัติไม่สามารถสร้างสภาวะสูญญากาศแบบ 100% ได้ เนื่องจากการสร้างและรักษาสภาวะสูญญากาศในท่อขนส่งที่มีความยาวหลายร้อยกิโลเมตร ต้องใช้พลังงานมาก นั่นหมายถึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก และยากแก่การรักษาสภาวะสูญญากาศไว้ได้ตลอดเวลา
Key factor that makes Hyperloop work – Overcoming “ Kantrowitz Limit ”
ตามหลักการของ aerodynamics เมื่อมีวัตถุวิ่งด้วยความเร็วเสียง จะเกิดคลื่นกระแทก (shock waves) ซึ่งส่งผลให้ความดันอากาศหรือแรงต้านอากาศ (drag) พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว คลื่นกระแทกเป็นอุปสรรคสำหรับการบินหนือเสียงมาก คลื่นนี้จะเริ่มปรากฎขณะที่ความเร็วของเครื่องบินเข้าใกล้ความเร็วเสียง นักบินเปรียบปรากฏการณ์นี้เหมือนกับกำแพงที่ต้องทะลุผ่านให้ได้
ภาพแสดงการเกิดคลื่นกระแทก (thechive.com)
สำหรับไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) สิ่งนี้ทำให้เกิดปัญหาเช่นกัน เมื่อแคปซูลวิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้นจนเข้าใกล้ความเร็วเสียง จะเริ่มปรากฏคลื่นกระแทกที่ส่วนท้ายของแคปซูลไปปิดกั้นการไหลของอากาศรอบๆแคปซูลหรือเกิด “ choked flow “ เมื่ออากาศไม่สามารถไหลผ่านทางด้านข้างแคปซูลได้ ส่งผลให้เกิดการสะสมตัวของอากาศขึ้นที่ส่วนหน้าของแคปซูล แรงต้านอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วที่ด้านหน้าแคปซูลจะไปต้านการเคลื่อนที่ของแคปซูล ทำให้มันเคลื่อนที่ช้าลงและหยุดในที่สุด
การที่การไหลของอากาศถูกปิดกั้น เรียกว่า airflow ถูก choked หรือ ถูก limited ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ “ Kantrowitz limit “
slideshare.com
ตัวกำหนดความเร็วสูงสุดของการเคลื่อนที่ในช่องแคบๆที่มีอากาศ คือ อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ของท่อ (กระบอกฉีดยา) กับแคปซูลโดยสาร (เข็มฉีดยา) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ Kantrowitz limit หรือ speed limit นั่นเอง
ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) เป็นการเคลื่อนที่ในท่อแคบๆเหมือนเข็มฉีดยา ถ้าออกแบบให้ผนังของท่อและแคปซูลโดยสารอยู่ใกล้กันเกินไป แคปซูลจะทำงานเหมือนเข็มฉีดยา ดันอากาศในท่อทั้งคอลัมน์ไปสะสมตัวที่ด้านหน้าแคปซูล ทำให้เกิดความดันอากาศสูงตรงส่วนนั้น เสมือนเป็นกำแพงอากาศที่แคปซูลไม่สามารถวิ่งทะลุผ่านไปได้
ในเอกสารปกขาว “Hyperloop Alpha” อีลอน มัสก์ ได้กล่าวว่า ในการออกแบบระบบขนส่งที่วิ่งในท่อที่ยังมีอากาศด้วยความเร็วใกล้ความเร็วเสียง (transonic speed) สิ่งสำคัญคือ ต้องเอาชนะ ” Kantrowitz limit ”
spacex.com
อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เขียนในเอกสารปกขาว Hyperloop Alpha ว่า วิธีการที่จะเอาชนะ Kantrowitz limit คือ ออกแบบให้ท่อขนส่งใหญ่ขึ้น หรือเพิ่มความเร็วในการเคลื่อนที่ของแคปซูล แต่ทั้งสองวิธีจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มความเร็วของแคปซูล ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการเอาชนะ Kantrowitz limit สำหรับไฮเปอร์ลูปคือ ต้องหาทางระบายอากาศที่อยู่ด้านหน้าแคปซูลออกไป ทำได้โดยการติดตั้งพัดลมคอมเพรสเซอร์ (compressor fan) ขนาดใหญ่บริเวณจมูกของแคปซูลเพื่อลดแรงต้านอากาศ
jebiga.com
พัดลมคอมเพรสเซอร์ (compressor fan) ซึ่งมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นตัวจ่ายพลังงาน จะทำหน้าที่ลดความดันอากาศสูงบริเวณด้านหน้าแคปซูล โดยการถ่ายโอนอากาศที่อยู่ด้านหน้าให้ออกไปทางหลังของแคปซูล ดังนั้นเมื่อแคปซูลเร่งความเร็วจนเข้าใกล้ความเร็วเสียง ถึงแม้นจะมี shock waves เกิดขึ้น แต่ไม่เกิด choked flow อากาศยังสามารถไหลผ่านด้านข้างแคปซูลไปได้ (ลูกศรในภาพข้างบนแสดง air flow) เพราะพัดลมคอมเพรสเซอร์ ทำหน้าที่เหมือนปั้มดูดอากาศที่อยู่ด้านหน้าแคปซูลและบีบอัดในอัตรา 20:1 จากนั้นอากาศถูกส่งผ่านไปยังส่วนต่างๆดังนี้
- ถูกส่งไปยังห้องโดยสาร
- ถูกส่งผ่านไปทางท่อเล็กๆใต้แคปซูลให้ไปออกทางหางแคปซูล
- ถูกจ่ายให้กับ air bearing skis ใต้แคปซูล ทำให้เกิดแรงดันอากาศยกตัวแคปซูลให้ลอยตัวเหนือพื้นเพื่อลดแรงเสียดทาน ทำให้แคปซูลสามารถวิ่งภายในท่อได้เร็วขึ้น
Harry Styles – Sign of the Times (Youtube)
Air Bearing Suspension System
อีลอน มัสก์ ตั้งเป้าหมายให้ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) เป็นระบบขนส่งที่ pod หรือแคปซูลโดยสารวิ่งในท่อเกือบสูญญากาศด้วยความเร็วสูงสุด 1,220 กม./ชม. (760 ไมล์/ชม.) ทำให้ไม่สามารถใช้ระบบล้อ-รางเหมือนรถไฟได้ เพราะสร้างแรงเสียดทานมาก
“ ลดแรงเสียดทานเพื่อวิ่งได้เร็วขึ้น “ เป็นหัวใจสำคัญในการออกแบบยานพาหนะที่ต้องการความเร็ว เทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปที่ อีลอน มัสก์ ให้แนวคิดในการออกแบบ คือ ต้องยกตัวแคปซูลให้ลอยตัวเหนือรางขณะวิ่ง“ ซึ่งเป็นงานเทคนิคที่ท้าทายมาก เทคนิคที่ใช้ได้ดีคือ คือ การลอยตัวด้วยพลังแม่เหล็ก (magnetic levitation) เทคโนโลยีเดียวกับที่ใช้ในรถไฟ Maglev แต่เทคโนโลยีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง อีลอน มัสก์ จึงได้เสนอทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุดสำหรับไฮเปอร์ลูปคือ “การลอยตัวด้วยอากาศโดยใช้แอร์แบริ่ง (Air bearing suspension system) โดยการใช้ประโยชน์จากอากาศที่อยู่ภายในท่อในการรับน้ำหนักและยกตัวแคปซูลให้ลอยตัวเหนือราง ทำให้เกิดแรงเสียดทานอากาศที่น้อยอย่างยิ่งยวดและมีความเสถียร ด้วยค่าใช้จ่ายของการก่อสร้างที่มีความเป็นไปได้
ภาพแสดง air bearing skis ใน Hyperloop Alpha (spacex.com)
พัดลมคอมเพรสเซอร์ (compressor fan) ทำหน้าที่จ่ายอากาศให้กับ air bearing skis ที่มีอยู่ 28 ตัวข้างใต้แคปซูลโดยสารของไฮเปอร์ลูป อากาศที่ถูกอัดลงไปภายใต้พื้นด้านล่างของแคปซูลจะสร้างฟิล์มบางๆที่เรียก “air cushion” ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นเบาะพยุงให้แคปซูลลอยตัวอยู่เหนือพื้นได้ตลอดเวลาเพื่อลดแรงเสียดทาน ช่วยให้แคปซูลวิ่งด้วยอัตราเร็วสูง และ air bearing skis แต่ละตัวทำงานเป็นอิสระแยกจากกัน ทำให้การเคลื่อนที่ของแคปซูลราบเรียบ ไม่สร้างการสั่นสะเทือน
K-391 & Alan Walker – Ignite (Youtube)
Propulsion System
เทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป (Hyperloop) ใช้ระบบมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้น “ Linear Induction Motor “ (LIM) ในการเร่งความเร็วหรือลดความเร็วสำหรับการขับเคลื่อน pod หรือแคปซูลโดยสารให้วิ่งภายในท่อ
หมายเหตุ : ระบบมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้นมักถูกใช้เป็นระบบขับเคลื่อนในยานพาหนะที่มีการเร็วสูง เช่น รถไฟเหาะในสวนสนุก และรถไฟพลังแม่เหล็ก Maglev เป็นต้น
h2wtech.com
ระบบมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้น (Linear Induction Motor : LIM) คล้ายกับระบบโรตารีมอเตอร์ (Rotary motor) เหมือนการนำโรตารีมอเตอร์มาตัดออกและแผ่วางราบเหนือรางแสดงดังภาพข้างบน
LIM ประกอบด้วยส่วนที่อยู่กับที่ “สเตเตอร์ (Stator)” และส่วนที่วิ่ง “โรเตอร์ (Rotor)”
มอเตอร์นิ่ง (Stator) ประกอบด้วยแท่งเหล็กถูกวางเป็นช่วงๆ บนรางวิ่งตลอดความยาวท่อของไฮเปอร์ลูป เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กถาวรที่มีขั้วสลับวิ่งข้ามช่องว่างอากาศ มอเตอร์วิ่ง “โรเตอร์ (Rotor)” ติดอยู่ที่ตัวแคปซูล ประกอบด้วยแผ่นอลูมิเนียมแบนยาวเป็นตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่าน Stator และ Rotor จะเกิดสนามแม่เหล็กถาวรของ Stator จะไปทำปฏิสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กของ Rotor อำนาจแม่เหล็กที่เกิดจาก Stator และ Rotor จะทั้งดูด (N-S) กัน หรือผลัก (N-N หรือ S-S) กัน ผลิตแรงผลักให้ Rotor พุ่งไปข้างหน้าในแนวเส้นตรง ไปขับเคลื่อนการวิ่งของแคปซูล
slideshare.com
ภาพแสดงสนามแม่เหล็กที่เกิดในระบบมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้น (LIM) ของไฮเปอร์ลูป (spacex.com)
scienceabc.com
ใน Hyperloop Alpha อีลอน มัสก์ เขียนว่าระบบมอเตอร์เหนี่ยวนำเชิงเส้น (linear induction motor system : LIM) สำหรับไฮเปอร์ลูปต้องได้รับการพัฒนาขั้นสูงสำหรับ
- เร่งความเร็วจาก 0 ถึง 480 กม./ชม. สำหรับการเดินทางความเร็วต่ำ ในขณะเข้าและออกจากเขตเมือง
- รักษาความเร็วที่ 480 กม./ชม ตามความเหมาะสม รวมถึงในขณะวิ่งข้ามภูเขา
- เพื่อเร่งความเร็วจาก 480 กม./ชม ถึงความเร็วสูงสุด 1,220 กม./ชม. ในระหว่างการเดินทาง
“Hyperloop Alpha” ถูกเผยแพร่แบบ “open sourced paper” ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและศึกษาได้ อีลอน มัสก์ กล่าวว่า เขาแค่นำเสนอต้นแบบของการออกแบบและหลักการทำงานของไฮเปอร์ลูป และขอคำติชม คำแนะนำ แก้ไขข้อผิดพลาดและขัดเกลาการออกแบบเพื่อทำให้ดีขึ้น เขายังไม่มีแผนที่จะพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากยังมีภาระงานมากในบริษัท Tesla และ SpaceX
อีลอน มัสก์ กล่าวว่าเขาพร้อมจะสนับสนุนบุคคลหรือองค์กรอื่นที่ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปให้เป็นจริง อาจจะเป็นเงินทุนหรือคำแนะนำในโครงการไฮเปอร์ลูป การสร้างต้นแบบนั้นไม่แพงเลย แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วยังไม่มีใครก้าวหน้า หรือทำตามแนวคิดไฮเปอร์ลูปของเขาได้ เขาอาจกลับมาพัฒนาไฮเปอร์ลูปด้วยตัวเองในเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า
“นับถือน้ำใจนาย อีลอน มัสก์ ถึงนายจะ weird ตามแบบฉบับอัจฉริยะ แต่นายเป็นคนมีจิตใจดีคนหนึ่งนะ มุ่งมั่นคิดค้นเทคโนโลยีต่างๆเพื่อช่วยแก้ปัญหาสำคัญของโลก ออกจากมาตรการควบคุมความประพฤติเร็วๆนะ นายคือสีสันของโลกนี้นะ แล้วอย่าเล่นอะไรแผลงๆ เอาวันฉลองการสูญกัญชามาเป็นตัวเลขหุ้นอีกนะ ทำไปได้” Kid!
OneRepublic – Kids (Youtube)