Hyperloop, Innovation
ระบบขนส่งไฮเปอร์ลูป#4 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป
ความหนาแน่นของการจราจรและการปล่อยมลพิษทางอากาศเป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่ต้องเข้าแก้ไขและควบคุมอย่างเร่งด่วน ปัญหานี้เป็นแรงผลักดันให้มีการคิดค้นพัฒนานวัตกรรมการขนส่งแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมออกมา เช่น รถยนต์ไฟฟ้า รถไฟ Maglev ซึ่งเป็น “Green transportation” รวมทั้งระบบขนส่งแห่งอนาคตที่ยังมาไม่ถึง “ไฮเปอร์ลูป (Hyperloop)”
แนวคิดการขนส่งผ่านทางท่อไม่ใช่เรื่องใหม่มีมานานกว่า 100 ปี ในปี 1799 นาย George Medhurst วิศวกรเครื่องกลชาวอังกฤษและนักประดิษฐ์ ได้จดสิทธิบัตรในการขนส่งสินค้าผ่านทางท่อเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี 1812 เขาตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับแนวคิดในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าผ่านท่ออากาศโดยใช้แรงขับลม อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เองก็ได้เคยออกตัวเช่นกันว่า แนวคิดนี้มีมานานนับร้อยปีแล้ว
แนวคิดไฮเปอร์ลูปของ อีลอนส์ มัสก์ เป็นแนวคิดแบบปฏิวัติระบบการขนส่งที่บรรดาผู้เชี่ยวชาญมีความเคลือบแคลงในความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีนี้ และอันตรายระดับ catastrophic ที่จะเกิดขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุใดๆกับระบบของไฮเปอร์ลูป รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและการดำเนินงานที่คาดว่าจะสูงกว่าที่ อีลอน มัสก์ ประเมินไว้หลายเท่าตัว
แม้นเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปจะยังอยู่ในขั้นของการทดสอบและพัฒนา แต่การเปลี่ยนไฮเปอร์ลูปให้เป็นโหมดการขนส่งจริงๆ จากที่เห็นในปัจจุบันยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี เราก็ต้องมาลุ้นกันว่า มันจะสามารถเกิดขึ้นจริงและจะเป็นระบบขนส่งเชิงพาณิชย์ที่คุ้มแก่การลงทุนหรือไม่
Jess Glynne – Hold My Hand
ขอเป็นกำลังใจแก่ผู้กำลังคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมใหม่ๆ
Hyperloop Companies
แม้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเห็นว่าแนวคิดไฮเปอร์ลูปของ อีลอน มัสก์ (Elon Musk’s Hyperloop concept) ไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ในทางปฏิบัติอย่างสิ้นเชิง แต่มีคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่มีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีนี้และกำลังทำงานอย่างขมักเขม้นเพื่อพัฒนามัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วโลกได้ยึดเอาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปเป็นตัวสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษาวิศวกรรมของตน
Virgin Hyperloop One
buyingbusinesstravel.com
Hyperloop One เป็นบริษัทด้านระบบขนส่งเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปของอเมริกาตั้งขึ้นเมื่อปี 2014 ต่อมาในปี 2017 กลุ่มลงทุน Virgin ของประเทศอังกฤษได้เข้าถือหุ้นใน Hyperloop One และนายริชาร์ด แบรนสัน ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Virgin ได้เข้ามาเป็นประธานบริหารและเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Virgin Hyperloop One
แต่ภายหลัง นายริชาร์ด แบรนสัน ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานบริหารของบริษัท หลังไปวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ซาอุดิอาระเบียว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของ นายจามาล คาชอกกี ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ของอเมริกา ที่ถูกสังหารในสถานกงสุลซาอุดิอาระเบียในประเทศตุรกีที่เคยเป็นข่าวดังเมื่อปี 2018 ซึ่งสร้างความไม่พอใจต่อรัฐบาลซาอุดิอาระเบียและประกาศจะยกเลิกข้อตกลงกับบริษัท Virgin Hyperloop One ในโครงการไฮเปอร์ลูปของประเทศซาอุฯ
โครงการไฮเปอร์ลูปของ Virgin Hyperloop One นอกจากที่สหรัฐอเมริกา ในต่างประเทศ ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รัสเซีย อังกฤษ สวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ เม็กซิโก และอินเดีย
Hyperloop Transportation Technologies (HTT)
boldbusiness.com
คู่แข่งสำคัญของบริษัท Virgin Hyperloop One คือบริษัท Hyperloop Transportation Technologies (HTT) ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกันเช่นเดียวกัน แต่จัดตั้งบริษัทช้ากว่า HTT ตั้งขึ้นจากความร่วมมือของกลุ่มคนต่างๆ ที่เรียก “crowdsourcing” ซึ่งเป็นองค์กรที่มีพนักงานจำนวนมาก ปัจจุบัน HTT มีวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆกว่า 800 คน จากหลายๆบริษัททั้งที่ทำงานแบบ full-time และแบบ part-time เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป
โครงการไฮเปอร์ลูปของ HTT นอกจากที่สหรัฐอเมริกา ในต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยูเครน สาธารณะรัฐเช็ก สโลวาเกีย จีน เกาหลี อินโดนีเซีย และอินเดีย
หมายเหตุ: การเกิด crowdsourcing การทำงานร่วมกันแบบกลุ่ม มักเกิดในกรณีที่มีการแข่งขันกันวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งมีการระดมมาทั้งความคิดและเงินทุน
The Boring Company
ndtv.com
นอกจากบริษัท SpaceX และ Tesla อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้ตั้งบริษัทที่สามของตัวเองในปี 2017 คือบริษัท Boring ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการขุดเจาะอุโมงค์ เดิมทีเขาก่อตั้งบริษัทนี้จากแรงบันดาลใจที่ว่า รถยนต์ควรวิ่งในอุโมงค์ใต้ดินเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรที่ติดขัด
เมื่อเดือนตุลาคม 2017 บริษัท Boring ของ อีลอน มัสก์ ได้รับอนุญาตให้เริ่มการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินในโครงการไฮเปอร์ลูปเพื่อเชื่อมระหว่างมหานครนิวยอร์กและกรุงวอชิงตันดีซี ซึ่ง อีลอน มัสก์ อ้างว่าจะใช้เวลาในการเดินทางเพียง 29 นาที
ปัจจุบัน อีลอน มัสก์ มัวแต่ยุ่งอยู่กับความพยายามเพิ่มความเร็วในการขุดเจาะอุโมงค์ใต้ดินและลดต้นทุนในโครงการก่อสร้าง เพื่อเพิ่มความเป็นไปได้ของโครงการไฮเปอร์ลูปใต้ดิน จากการที่ค่าใช้จ่ายในการสร้างอุโมงค์สูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์/ไมล์ (3 หมื่นล้านบาท/1.6 กิโลเมตร เฮอะๆ)
TransPod
betakit.com
TransPod บริษัทสัญชาติแคนาดา กำลังมีโครงการไฮเปอร์ลูปหลายเส้นทางในแคนาดา แต่ยังไม่มีโครงการไฮเปอร์ลูปในประเทศอื่น
นอกจากผู้เล่นหลักดังที่กล่าวมา ยังมี start-up น้องใหม่อื่นๆที่ทยอยจัดตั้งบริษัทขึ้นมา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอดีตทีมนักศึกษาวิศวกรรมที่ประสบความสำเร็จมาจากรายการแข่งขัน “SpaceX Hyperloop Pod Competition” ได้แก่
Hardt Global Mobility เป็นบริษัทที่จัดตั้งโดยอดีตทีมนักศึกษาวิศวกรรมของ Delft university ประเทศเนเธอร์แลนด์
Zeleros เป็นบริษัทที่จัดตั้งโดยอดีตทีมนักศึกษาวิศวกรรมของ Universitat Politècnica de València ประเทศสเปน
Hyper Poland เป็นบริษัทที่จัดตั้งโดยอดีตทีมนักศึกษาวิศวกรรมของ Hyper Poland university ประเทศโปแลนด์
และหนึ่งเดียวของเอเชียคือ บริษัท DGWHyperloop ของประเทศอินเดีย DGWHyperloop ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ บริษัท เอกชน และสถาบันเพื่อการวิจัย ในการพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป
Hyperloop Pod Prototype
สภาวะปกติของโลกที่เราอาศัยอยู่มีแรง G หรือ G-forces เท่ากับ 1 G (อัตราเร่ง = 9.8 m/s2) โดยทั่วไปร่างกายของเราจะสามารถทนต่อแรง G ได้ประมาณ 3 G ถ้าเรานั่งในรถยนต์ขณะหยุดนิ่งแล้วค่อยๆเร่งความเร็วก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเร่งความเร็วแบบพุ่งพรวด ผู้ที่อยู่ในรถจะได้รับแรงกระชากและเกิดเหตุการณ์หลังติดเบาะอย่างแรง นี้คือผลที่เกิดจากแรง G นั่นเอง ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับนักบินมากที่สุดโดยเฉพาะการบินผาดโผนที่บินด้วยความเร็วสูงและมีการเปลี่ยนแปลงท่าทางการบินไปมาอย่างรวดเร็ว อาจทำให้มีแรง G มากถึง 8-9 G นั่นหมายถึงว่าทุกอย่างของร่างกายจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 8 – 9 เท่าของสภาวะปกติ หากร่างกายไม่พร้อมหรือไม่แข็งแรง เลือดจะไม่สามารถสูบฉีดขึ้นไปเลี้ยงสมองได้นำไปสู่การหมดสติได้ในที่สุด ดังนั้นนักบินจึงต้องใส่ชุดต่อต้านแรง G รวมทั้งต้องฝึกการเกร็งกล้ามเนื้อและการหายใจ
ในกรณีของไฮเปอร์ลูปที่เดินทางในท่อด้วยความเร็วสูงใกล้ความเร็วเสียง 1,200 กิโลเมตร/ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนว่าการเร่งความเร็วของแคปซูลอาจทำให้เกิดแรง G ในระดับที่ทำให้ผู้โดยสารเป็นอันตรายได้ อย่างไรก็ตามผู้บริหารของบริษัทเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปต่างพากันกล่าวให้ความมั่นใจในความปลอดภัยของการเดินทางด้วยระบบขนส่งไฮเปอร์ลูปว่า จะให้ความรู้สึกราบเรียบเหมือนกับการอยู่ในลิฟต์ หรือเครื่องบินโดยสาร
ปัจจุบันมีเพียง 2 บริษัทที่ได้เปิดตัวต้นแบบแคปซูลโดยสารของไฮเปอร์ลูป (Hyperloop pod prototype)
Virgin Hyperloop One’s Hyperloop Pod Prototype
nbcnews.com
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2017 บริษัท Virgin Hyperloop One ได้เผยแพร่รูปภาพต้นแบบแคปซูลโดยสารขนาดเท่าของจริงเป็นครั้งแรก ขณะนำมาทำการทดสอบในทะเลทรายของรัฐเนวาด้า สหรัฐอเมริกา
en.mogaznews.com
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018 บริษัท Virgin Hyperloop One ร่วมกับหน่วยงานด้านขนส่งของนครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดตัวต้นแบบแคปซูลโดยสารที่แสดงห้องโดยสารจำลองภายในที่หรูหรา มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันตามสไตส์ของประเทศที่ร่ำรวย มีที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร 19 คนต่อแคปซูล 5 คนในชั้น gold และ 14 คนในชั้น silver
theverge.com
newatlas.com
เมื่อเดือนเมษายน 2018 ณ ทะเลทรายในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บริษัท Virgin Hyperloop One ได้นำ Pod prototype หรือต้นแบบแคปซูลโดยสารขนาดเท่าของจริงอีก version หนึ่งมาแสดงต่อมกุฎราชกุมารแห่งซาอุดิอาระเบียซึ่งทรงสนพระทัยในระบบขนส่งไฮเปอร์ลูป จะเห็นได้ว่าเป็นแคปซูลโดยสารแบบเดียวกับที่บริษัทเคยนำมาทำการทดสอบในรัฐเนวาด้า ต่างกันเพียงลวดลายที่ออกแบบมาเพื่อซาอุฯโดยเฉพาะ
HTT’s Hyperloop Pod Prototype
robbreport.com
เมื่อเดือนตุลาคม 2018 บริษัท Hyperloop Transportation Technologies (HTT) ได้เปิดตัวต้นแบบแคปซูลโดยสารขนาดเท่าของจริงเป็นครั้งแรกในประเทศสเปน บริษัท HTT จะนำต้นแบบแคปซูลไฮเปอร์ลูปนี้ไปวิ่งทดสอบบนรางทดสอบที่สร้างไว้ในประเทศฝรั่งเศสในปี 2019 ตามแผนที่วางไว้
The Wanted – Chasing The Sun
Hyperloop Test
อีลอน มัสก์ (Elon Musk) ได้ให้คำมั่นว่าระบบขนส่งไฮเปอร์ลูปสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 760 ไมล์/ชม. หรือ 1,200 กม./ชม. แต่หลายปีผ่านมาความเร็วสูงสุดที่ได้จากการทดสอบเพียง 387 กม./ชม เร็วพอๆกับรถไฟ Maglev ที่ใช้พลังแม่เหล็กไฟฟ้าในการลอยตัวเหมือนไฮเปอร์ลูป แสดงให้เห็นว่าการทำให้ไฮเปอร์ลูปวิ่งให้ถึงความเร็วที่ อีลอน มัสก์ ฝันไว้นั้นยากกว่าที่คิด และระบบขนส่งไฮเปอร์ลูปที่ทำงานเต็มรูปแบบยังห่างไกลความเป็นจริงอีกหลายปี
hyperloop-one.com
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2017 บริษัท Virgin Hyperloop One ได้ทำการทดสอบไฮเปอร์ลูปเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรกของโลกในรางทดสอบที่มีความยาว 500 เมตร กลางทะเลทรายของรัฐเนวาด้า สหรัฐอเมริกา
https://www.youtube.com/watch?v=rkBntNu2VMc
Virgin Hyperloop One State 3 Testing | 387 kph (240mph)
การทดสอบมี 3 เฟส เฟสแรกทำความเร็วได้ 120 กม./ชม. เฟสที่ 2 ทำความเร็วได้ 310 กม./ชม. และเฟสที่ 3 ทำความเร็วสูงสุดที่ 387 กม./ชม. ความสำเร็จของการทดสอบครั้งนี้ทำให้ Virgin Group ซึ่งเป็นกลุ่มลงทุนสัญชาติอังกฤษเกิดความสนใจในเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปและมาร่วมลงทุนกับ Hyperloop One เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Virgin Hyperloop One
prnewswire.com
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2019 บริษัท Hyperloop Transportation Technologies (HTT) ได้เปิดเผยภาพของรางทดสอบไฮเปอร์ลูปที่มีความยาว 320 เมตร ในเมืองตูลูส ประเทศฝรั่งเศส บริษัทประกาศจะนำต้นแบบแคปซูลผู้โดยสารมาวิ่งทดสอบบนรางทดสอบนี้ในเดือนเมษายน 2019 แต่ปัจจุบันยังไม่มีการทดสอบเกิดขึ้น
Swedish House Mafia – Greyhound
SpaceX’s Hyperloop Pod Competition
technewsworld.com
game-leaks.com
เพื่อช่วยเร่งพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูป อีลอน มัสก์ ได้จัดให้มีรายการแข่งขัน “SpaceX Hyperloop Pod Competition” ขึ้นทุกปีเพื่อเปิดโอกาสให้ทีมนักศึกษาวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยต่างๆ และทีมวิศวกรอิสระจากทั่วโลก เข้าร่วมแข่งขันออกแบบต้นแบบ pod หรือแคปซูลโดยสารในสเกลเล็กของไฮเปอร์ลูป และนำมาวิ่งทดสอบในท่อความดันต่ำบนรางทดสอบยาว 1 ไมล์ (1.6 กิโลเมตร) หน้าสำนักงานใหญ่ของบริษัท SpeceX ในเมืองฮอว์ทอร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย
รายการแข่งขัน SpaceX Hyperloop Pod Competition ที่จัดโดยบริษัท SpaceX นี้ได้รับความสนใจมาก มีทีมต่างๆจากทั่วโลกมาสมัครเข้าร่วมแข่งขันเป็นจำนวนมากในแต่ละปี กระบวนการคัดเลือกเป็นดังนี้ เริ่มจากแต่ละทีมนำเสนอด้วยการบรรยายการออกแบบ Hyperloop pod ของพวกเขา จากนั้นส่งการออกแบบขั้นสุดท้าย ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะถูกเชิญให้มาสร้าง Hyperloop pod และนำมันไปวิ่งทดสอบบนรางทดสอบ
tipsgeneral.com
teslarati.com
spacex.com
จากการแข่งขัน ทีม WARR Hyperloop จากมหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิค (TUM) ประเทศเยอรมัน คว้าตำแหน่งแชมเปี้ยนของการแข่งขันประลองความเร็ว Hyperloop pod ทุกปี
การแข่งขันครั้งที่ 1 (201ุ6) ทีม WARR Hyperloop ทำความเร็วสูงสุด 58 ไมล์/ชม. (93 กม./ชม.)
การแข่งขันครั้งที่ 2 (2017) ทีม WARR Hyperloop ทำความเร็วสูงสุด 201 ไมล์/ชม. (324 กม./ชม.)
การแข่งขันครั้งที่ 3 (2018) ทีม WARR Hyperloop ทำความเร็วสูงสุด 284 ไมล์/ชม. (457 กม./ชม.)
การแข่งขันครั้งที่ 4 (2019) ทีม WARR Hyperloop ทำความเร็วสูงสุด 288 ไมล์/ชม. (464 กม./ชม.)
nextwider.com
ภาพของทีมนักศึกษาวิศวกรรมของไทยที่ส่งผลงานเข้าร่วมในรายการแข่งขัน SpaceX Hyperloop Pod Competition 2020
Kygo & Justin Jesso – Stargazing
มีคำถามว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้การทดสอบไฮเปอร์ลูปยังไม่สามารถวิ่งได้ถึงความเร็วเป้าหมาย 1,200 กม./ชม. คำตอบคือ รางทดสอบไฮเปอร์ลูป (Hyperloop Test Track) ยังไม่ยาวเพียงพอ ทำให้มีเวลาไม่พอในการเร่งความเร็วและทำความเร็วที่สูงขึ้นได้
บริษัทต่างๆที่กำลังพัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปรู้คำตอบนี้ดี และกำลังสร้างรางทดสอบไฮเปอร์ลูปให้ยาวขึ้น
เมื่อเดือนกรกฏาคม 2019 บริษัท Virgin Hyperloop One ได้ประกาศแผนการสร้างรางทดสอบไฮเปอร์ลูปที่ยาวที่สุดในโลก 35 กิโลเมตร ในประเทศซาอุดิอาระเบีย
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2018 บริษัท Hyperloop Transportation Technologies (HTT) ได้เซ็นสัญญากับรัฐบาลจีน เพื่อจะสร้างรางทดสอบไฮเปอร์ลูป ระยะทาง 10 กิโลเมตร ในมณฑลกุ้ยโจวของจีน
เมื่อเดือนมกราคม 2019 บริษัท TransPod ประกาศแผนการสร้างรางทดสอบไฮเปอร์ลูป ระยะทาง 3 กิโลเมตร ในประเทศฝรั่งเศส เพื่อจะทำการทดสอบในปี 2020
อีลอน มัสก์ เองก็ได้ประกาศว่า ในปี 2020 เขาจะสร้างรางทดสอบที่มีความยาว 10 กิโลเมตร สำหรับการแข่งขัน SpaceX Hyperloop Pod Competition ซึ่งรางทดสอบใหม่นี้จะมีความโค้งด้วย
Charlie Puth – “How Long”