Newsletter subscribe

For Thailand, เจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา หนทางแก้อีสานแล้ง#6 ธนาคารน้ำใต้ดิน

Posted: 23/11/2020 at 14:55   /   by   /   comments (0)

ธนาคารน้ำใต้ดินคืออะไร

slideplayer.com

ภูมิภาคต่างๆของโลกมีปัญหาการขาดแคลนน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธนาคารน้ำใต้ดินกำลังได้รับความสนใจ แต่มันคืออะไรกันแน่? 

ธนาคารน้ำใต้ดิน “Groundwater Bank” เป็นกระบวนการกักเก็บน้ำไว้ในชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดิน (aquifer) แทนที่จะอยู่ในอ่างเก็บน้ำแบบเปิดโล่งเหนือพื้นดิน น้ำที่กักเก็บไว้จะเป็นแหล่งจ่ายน้ำที่สามารถ “ถอนน้ำ” ได้ผ่านทางบ่อ เหมือนกับการเติมเงินในบัญชีออมทรัพย์แล้วถอนเงินมาใช้ในวันที่ฝืดเคือง

ธนาคารน้ำใต้ดินเป็นกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่มีการใช้แหล่งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินสลับกัน โดยการฝากน้ำไว้ในชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินในช่วงหน้าฝนที่มีน้ำมาก เป็นการอนุรักษ์น้ำที่ไม่ได้ใช้ แทนที่จะปล่อยให้ไหลออกสู่ทะเลหรือสูญเสียไปกับการระเหย เมื่อถึงช่วงหน้าแล้งก็สามารถสูบน้ำมาใช้ได้

ปัจจุบันมีโครงการธนาคารน้ำใต้ดินที่มีการจัดการรูปแบบต่างๆ ทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกาโครงการธนาคารน้ำใต้ดินมีการเพิ่มจำนวนจาก 3 แห่งในปี 1985 เป็น 72 แห่งในปี 2005 และอีกหลายแห่งอยู่ในขั้นตอนต่างๆ ของการพัฒนา ในแอฟริกามีการพัฒนาโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในหลายประเทศรวมทั้งนามิเบียและแอฟริกาใต้

 

 

Låpsley – My Love Was Like The Rain (Youtube)

 

ธนาคารน้ำใต้ดินที่ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีพารามิเตอร์ทางอุทกธรณีวิทยาที่เหมาะสมในการเติมน้ำ จัดเก็บน้ำ และจัดการน้ำ ในปริมาณมากอย่างมีประสิทธิภาพ

(1) ชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดินจะต้องเป็นชั้นหินอุ้มน้ำแบบเปิด (Unconfined Aquifer) คือ ชั้นหินอุ้มน้ำที่ไม่ถูกปิดทับโดยรอบด้วยชั้นหิน ทำให้น้ำจากผิวดินสามารถซึมลงไปได้โดยตรง ไร้แรงดัน และอยู่ตื้นพอสำหรับการสูบน้ำอย่างคุ้มค่า (ลดต้นทุนการสูบน้ำ)

indiangeology.com

(2) เป็นชั้นหินอุ้มน้ำที่ง่ายต่อการเติมเต็มน้ำ  และชั้นดินที่ปิดทับด้านบนต้องมีการซึมผ่านสูง

(3) เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการทรุดตัวของแผ่นดิน หรือการปนเปื้อนจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำบาดาล

(4) เป็นชั้นหินอุ้มน้ำที่ให้ปริมาณน้ำบาดาลสูง และมีอัตราการสูบต่ำ

 

มีข้อกังวลหลายประการที่เกี่ยวข้องกับการธนาคารน้ำใต้ดิน

(1) ผลกระทบต่อน้ำบาดาลในท้องถิ่นทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ

(2) การดึงน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ทำให้ระดับน้ำบาดาลลดต่ำลง อาจส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของชั้นดิน

(3) ความปลอดภัยของน้ำที่ฝากไว้ในชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดิน เนื่องจากในบางกรณีน้ำใต้ดินที่กักเก็บไว้อาจไม่สามารถกู้คืนได้ 100% หรืออาจไม่สามารถกู้คืนได้ในบางช่วงเวลา

 

 

Harry Styles – Falling (Youtube)

 

สำหรับประเทศไทย  เจ้าอาวาสสมาน สิริปัญโญ ซึ่งเคยพำนักในสหรัฐอเมริกาในตำแหน่งทูตพุทธศาสนาเป็นเวลา 13 ปี ในช่วงเวลานั้นรัฐเท็กซัสกำลังเผชิญกับภัยแล้งอย่างรุนแรง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นต้องแก้ปัญหา โดยการเติมน้ำฝนลงสู่พื้นดินเพื่อสร้างแอ่งเก็บน้ำใต้ดิน เมื่อท่านกลับมาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2537 เจ้าอาวาสสมาน สิริปัญโญ เริ่มดำเนินการสร้าง “ธนาคารน้ำใต้ดิน” ที่วัดของท่านในจังหวัดหนองคาย ความสำเร็จของโครงการธนาคารน้ำใต้ดินได้รับการยอมรับ เกษตกร ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล  ได้นำหลักการนี้ไปเป็นแนวทางการบริหารจัดการน้ำใต้ดินจนประสบความสำเร็จแล้วในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ เช่น จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม อุบลราชธานี สระแก้ว กำแพงเพชร แพร่   ชัยนาท และสตูล

 

ธนาคารน้ำใต้ดินในประเทศไทยมี 2 แบบ คือ ระบบเปิด และระบบปิด

ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด คือการกักเก็บน้ำโดยปล่อยให้น้ำซึมผ่านไปยังชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดิน (aquifer) โดยตรง ลักษณะเป็นบ่อเปิดโดยทั่วไป ขนาดความกว้างยาวของบ่อเติมน้ำขึ้นอยู่กับพื้นที่และชั้นดิน พื้นที่บ่อเปิดควรเป็นที่รับน้ำเมื่อตอนฝนตก สิ่งสำคัญคือความลึกของบ่อเติมน้ำควรจะลึกถึงชั้นดินที่มีรูพรุนจำนวนมาก (Vadose Zone) เพื่อให้น้ำสามารถกรองผ่านชั้นดินลงไปสู่ชั้นหินอุ้มน้ำซึ่งเป็นชั้นหินที่มีน้ำบาดาลอยู่ จากนั้นน้ำจะถูกสูบออกเมื่อมีความต้องการในหน้าแล้ง การนำน้ำขึ้นมาใช้ สามารถใช้เครื่องสูบน้ำทำการสูบน้ำขึ้นมาจากบ่อน้ำโดยตรง หรือผ่านการสูบน้ำจากบ่อน้ำบาดาล

 

todayhighlightnews.com

 

ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ใช้หลักการขุดบ่อเพื่อส่งน้ำไปเก็บไว้ที่ชั้นหินอุ้มน้ำใต้ดิน ซึ่งการขุดไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มาก ไม่ต้องเปิดหน้าดินเป็นวงกว้าง

การทำธนาคารน้ำแบบปิด เน้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในครัวเรือน มีข้อดีคือสามารถทำให้น้ำไหลลงบ่อใต้ดินได้รวดเร็วมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝน และสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

โดยมีขั้นตอนดังนี้

(1) ขุดบ่อให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ จากก้นหลุมให้ขุดสะดือหลุมลงอีก กว้างประมาณ 20 เซนติเมตร ลึกประมาณ10เซนติเมตร นำหินกรวดเทลงในหลุมสะดือหลุมให้เต็ม

(2) นำท่อ PVC ขนาด 1-3 นิ้ว  มาวางตรงกลางหลุม เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ ทำให้น้ำเข้าไปแทนที่อากาศ ส่งผลให้น้ำไหลลงลงหลุมได้ดีขึ้น จากนั้นนำเศษหิน อิฐ ขวดน้ำ มาเติมใส่ช่องว่างด้านในให้เต็ม

(3) คลุมด้วยผ้าไนล่อน แล้วทับด้วยก้อนหิน และตามด้วยหินละเอียดอีกที เพื่อเป็นตัวกรองไม่ให้เศษดินหรือขยะเข้าไปอุดตันในบ่อ เมื่อฝนตกลงมาน้ำจะไหลสู่ชั้นใต้ดินโดยตรง

 

facebook.com

kasetvoice.com

thairath.co.th