Newsletter subscribe
การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายและทางเลือกทดแทน

การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตราย#3 คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)

Posted: 14/07/2020 at 17:01   /   Agriculture, การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายและทางเลือกทดแทน

คลอร์ไพริฟอส คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช (insecticides) ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate compound) ที่เป็นสารอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ใช้เพื่อฆ่าแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส (acetylcholinesterase) ในระบบประสาทของแมลง องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้คลอร์ไพริฟอสเป็นสารประกอบที่มีอันตรายในระดับปานกลางตามความเป็นพิษเฉียบพลันของมัน การได้รับสารชนิดนี้ที่สูงกว่าระดับที่แนะนำนั้น เชื่อมโยงกับผลกระทบทางระบบประสาท, ความผิดปกติของพัฒนาการแบบถาวร และความผิดปกติของภูมิต้านทานผิดปกติ การได้รับสารนี้ในระหว่างตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อพัฒนาการทางประสาทของเด็ก คลอร์ไพริฟอสได้รับการจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี 1966 โดย Dow Chemical Company ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น Corteva ตามการควบรวมกิจการกับ DuPont ในปี 2019 ปัจจุบันคลอร์ไพริฟอสจดทะเบียนในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกทั้งประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา  การใช้ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมากทางการเกษตรเพื่อกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชในพืชผลต่างๆ มากกว่า 50 ชนิด  และใช้ประโยชน์ในด้านสาธารณสุขเพื่อกำจัดแมลงในที่อยู่อาศัยตามอาคารบ้านเรือน เช่น ปลวก มด แมลงสาบ เป็นต้น ในภาคการเกษตร คลอร์ไพริฟอสเป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืชที่ใช้ฉีดพ่นลงในแปลงเกษตร จากคุณสมบัติของสารคลอร์ไพริฟอสในการออกฤทธิ์กำจัดแมลงได้หลายชนิด ทั้งเพลี้ย หนอนชนิดต่างๆ […]

No Comments read more

การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตราย#2 พาราควอต (Paraquat)

Posted: 29/06/2020 at 23:43   /   Agriculture, การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายและทางเลือกทดแทน

พาราควอต (Paraquat) เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าหญ้าที่นิยมใช้ในภาคเกษตรกรรมทั่วโลกมานานหกสิบปี เนื่องจากพาราควอตมีราคาถูก และมีประสิทธิภาพสูงสำหรับการกำจัดวัชพืช มันจึงเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เป็นที่ยอมรับกันว่า “พาราควอตเป็นสารกำจัดวัชพืชที่เป็นอันตรายมากที่สุด มีพิษรุนแรงที่สุด และไม่มียาแก้พิษ” เพียงจิบน้อยกว่าหนึ่งช้อนชาก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ พาราควอตก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและความตายในหมู่คนงานและเกษตรกรทั่วโลก โดยมีอัตราการเสียชีวิตจากการสัมผัสโดยตรงสูงถึง 40% การได้รับสารเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคทางสมองที่รักษาไม่หาย เช่น โรคพาร์กินสัน พาราควอตจึงถูกห้ามการใช้ในหลายประเทศ แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังอนุญาตให้ใช้พาราควอต พาราควอตถูกผลิตและจำหน่ายครั้งแรกในปี 1962 โดยบริษัทเคมีของอังกฤษ Imperial Chemical Industries (ICI) ซึ่งกลายเป็นบริษัทซินเจนทา (Syngenta) ในปี 2000 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองบาเซล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  ปัจจุบันซินเจนทามีพนักงานกว่า 27,000 คนในประเทศต่างๆ ครอบคลุมกว่า 90 ประเทศทั่วโลก ซินเจนทาเป็นผู้ผลิตหลักของพาราควอตภายใต้ชื่อการค้า กรัมม็อกโซน (Grammoxone) แต่สารกำจัดวัชพืชพาราควอตก็มีขายภายใต้ชื่อการค้าที่แตกต่างกันไปโดยผู้ผลิตต่างๆ ปัจจุบันประเทศจีนเป็นผู้ผลิตพาราควอตรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยผลิตได้มากกว่า 100,000 ตันต่อปี   ความเป็นพิษของพาราควอต พาราควอต (Paraquat) เป็นยาปราบศัตรูพืชแบบไม่เลือกทำลาย (non-selective herbicide) คือจะเป็นอันตรายกับพืชทุกชนิดที่รับสารนี้เข้าไป ผลิตภัณฑ์พาราควอตอยู่ในรูปแบบของเหลวและใช้ฉีดพ่นบนพื้นดินเท่านั้น […]

No Comments read more

การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตราย#1 ไกลโฟเซต (Glyphosate)

Posted: 13/06/2020 at 10:58   /   Agriculture, การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายและทางเลือกทดแทน

การควบคุมวัชพืช (Weed Control) ศัตรูพืช ได้แก่ วัชพืช แมลง หรือโรคพืช ในบรรดาศัตรูพืชทั้งสามประเภท “วัชพืช” เป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่แย่งชิงผลผลิตทางการเกษตร  ลองนึกภาพหากเราเป็นเกษตรกรที่ปลูกพืชผลจำนวนหลายร้อยไร่ การป้องกันไม่ให้วัชพืชเข้ายึดนาและทำลายพืชผลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง! วัชพืชเป็นพืชที่ไม่พึงประสงค์ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในไร่นาสวน มักสร้างความเสียหายแก่พืชเศรษฐกิจโดยเฉพาะในช่วงแรกของการเจริญเติบโต เนื่องจากวัชพืชจะขึ้นแข่งขันกับพืชผลเพื่อแย่งชิงอากาศ สารอาหาร น้ำ และแสงแดด ทำให้พืชผลของเกษตรกรเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ และทำให้ผลผลิตลดลง ทำให้เกษตรกรต้องหาหนทางและวิธีการต่างๆ มาใช้เพื่อการควบคุมวัชพืช ในแต่ละปีเกษตรกรได้ใช้จ่ายทั้งเงิน เวลา และความรู้ต่างๆ ในการควบคุมวัชพืช ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากการควบคุมวัชพืชเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำการเกษตร ช่วยให้เกษตกรสามารถเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของพืชเศรษฐกิจ วิธีควบคุมวัชพืชที่เกษตรกรใช้ปกป้องพืชผลของพวกเขาแบ่งได้เป็น 4 ประเภทดังนี้ (1) การควบคุมวัชพืชเชิงป้องกัน (Preventative Weed Control): ได้แก่การปลูกพืชคลุมดิน อาจเป็นหญ้าหรือพืชตระกูลถั่ว จะช่วยกำจัดวัชพืช เนื่องจากพืชคลุมดินส่วนใหญ่จะมีใบเป็นจำนวนมาก และหล่นทับถมบนผิวดินจนแสงสว่างส่องไม่ถึงผิวดิน เมื่อเป็นเช่นนี้วัชพืชก็จะไม่มีโอกาสงอกได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราปลูกถั่วลายคลุมดิน จะทำให้หญ้าคาตายได้ เพราะถูกบังแสงแดด จนมีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ (2) การควบคุมวัชพืชโดยวิธีกล (Mechanical weed control): การกำจัดวัชพืชแบบนี้ […]

No Comments read more