Newsletter subscribe
Origin and Evolution of The Universe

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#39 จักรวาลมีขนาดใหญ่แค่ไหน?

Posted: 07/10/2021 at 11:22   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

Historic Views โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล (ก่อนคริสตกาล) ภาพแกะสลัก Flammarion (1888) แสดงให้เห็นผู้แสวงบุญในยุคกลางที่แอบมองผ่านทรงกลมท้องฟ้าเพื่อดูสวรรค์ ชาวกรีกโบราณคิดว่าท้องฟ้าเป็นเพียงทรงกลมหรือโดมที่ล้อมรอบโลกและมีดวงดาวติดอยู่ ดวงดาวเคลื่อนจากตะวันออกไปตะวันตกผ่านด้านในของโดมหรือทรงกลม ทรงกลมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน บริเวณเหนือดวงจันทร์เป็นอาณาจักรสวรรค์ และบริเวณใต้ดวงจันทร์เป็นโลก เมื่อมองดูท้องฟ้ายามค่ำคืน ชาวกรีกโบราณพบวัตถุท้องฟ้าสองประเภทหลัก ดาวพเนจรและดาวประจำที่ อริสโตเติล (Aristotle) และ ปโตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์ชาวกรีก เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ ต่างเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบโลก ดาวเคราะห์ห้าดวงที่รู้จักในเวลานั้น คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์  ดาวเคราะห์เหล่านี้ถูกเรียกว่าดาวพเนจร คำว่า “ดาวเคราะห์ (planets)” มาจากคำในภาษากรีก “planetos” หมายถึงผู้พเนจร เนื่องจากผู้คนเห็นดาวเคราะห์เหล่านี้มีการเคลื่อนที่ข้ามฟากฟ้า ส่วนดาวฤกษ์ทั้งหลายถูกตรึงอยู่กับทรงกลมชั้นนอกสุดของจักรวาล ผู้คนจะเห็นดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่ตรงตำแหน่งเดิมบนท้องฟ้าเสมอ จึงเรียกดาวฤกษ์เหล่านี้ว่า “ดาวประจำที่ (Fixed stars)”   โลกของเราเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง (1514)  เมื่อห้าร้อยกว่าปีที่แล้ว […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#38 อายุของจักรวาล

Posted: 13/09/2021 at 11:01   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

นับตั้งแต่ทฤษฎีบิกแบงปรากฏ นักดาราศาสตร์ได้รู้ว่าจักรวาลมีจุดเริ่มต้น แต่การหาจำนวนเทียนที่จะวางบนเค้กวันเกิดของจักรวาลนั้นพิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องยาก นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าจักรวาลที่สังเกตได้นั้นมีอายุระหว่าง 13.7-13.8 พันล้านปี นักดาราศาสตร์ประเมินอายุของจักรวาลในสองวิธี: 1) โดยการมองหาดาวที่เก่าแก่ที่สุด และ 2) โดยการวัดอัตราการขยายตัวของจักรวาลและประมาณการกลับไปสู่บิกแบง      “Nothing Else Matters”     1. การมองหาดาวที่เก่าแก่ที่สุด 1.1 กระจุกดาวทรงกลม จักรวาลไม่สามารถมีอายุน้อยกว่าวัตถุที่อยู่ภายในได้ ด้วยการหาอายุของดาวฤกษ์ที่มีอายุมากที่สุด นักวิทยาศาสตร์สามารถรู้อายุของจักรวาลได้ กระจุกดาวทรงกลม (globular cluster) เป็นแหล่งรวมของดวงดาวที่มีรูปร่างเป็นทรงกลมที่โคจรไปรอบๆ แกนกลางกาแล็กซี่ ดาวฤกษ์ในกระจุกดาวทรงกลมมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดต่อกันค่อนข้างมาก ทำให้พวกมันรวมตัวเป็นกลุ่มทรงกลม มีความหนาแน่นของดาวค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในจุดศูนย์กลาง  เป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันว่า เมื่อดาวฤกษ์ดวงแรกก่อตัวขึ้นในจักรวาลของเราเมื่อประมาณ 13 พันล้านปีก่อน พวกมันมารวมกันเป็นกระจุกดาวทรงกลมอย่างรวดเร็ว จากนั้นกระจุกดาวเหล่านี้จึงรวมตัวกับกลุ่มอื่นเพื่อก่อตัวเป็นกาแล็กซี่แห่งแรก ซึ่งมีการเติบโตผ่านการควบรวมและพัฒนาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้ นักดาราศาสตร์จึงสงสัยมานานแล้วว่าดาวที่เก่าแก่ที่สุดในจักรวาลจะอยู่ในกระจุกดาวทรงกลม   ภาพกระจุกดาวทรงกลม Messier 15 (M15) จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล การซูมเข้าที่มุมขวาบนของภาพ แสดงให้เห็นว่าแกนกลางของกระจุกดาวทรงกลมประกอบด้วยดาวระยิบระยับมากกว่า 100,000 ดวง การศึกษาพบว่า Messier […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#37 โครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล

Posted: 23/08/2021 at 14:59   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

โครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล เมื่อมองขึ้นไปบนท้องฟ้ายามค่ำคืน ดูเหมือนว่าดวงดาวและกาแล็กซี่จะกระจัดกระจายไปอย่างไม่เป็นระเบียบ อย่างไรก็ตาม จริงๆ แล้ว จักรวาลไม่ใช่สถานที่ที่สับสนวุ่นวาย ในทางตรงกันข้าม จักรวาลประกอบด้วยโครงสร้างที่เป็นระเบียบในระดับต่างๆ กัน ตั้งแต่ระบบขนาดเล็กอย่างโลกและระบบสุริยะของเรา ไปจนถึงกาแล็กซีที่มีดาวนับล้านล้านดวง และสุดท้ายโครงสร้างที่ใหญ่มากซึ่งมีกาแล็กซีหลายพันล้านแห่ง แม้ว่าจะมีกาแล็กซีบางแห่งที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ส่วนใหญ่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกาแล็กซี (galaxy group) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 50 กาแล็กซี และกระจุกกาแล็กซี (galaxy cluster) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 100-1,000 กาแล็กซี สำหรับกาแล็กซีทางช้างเผือกของเรา เป็นสมาชิกของกลุ่มกาแล็กซีท้องถิ่น (Local group) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 50 กว่ากาแล็กซี กลุ่มกาแล็กซีและกระจุกกาแล็กซีจำนวนมากสามารถรวมตัวกันด้วยความโน้มถ่วง (gravity) เพื่อสร้างโครงสร้างที่ใหญ่ขึ้นถัดไป นั่นคือ กระจุกกาแล็กซีขนาดใหญ่ (supercluster) กระจุกกาแล็กซีขนาดใหญ่ (supercluster) สร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาลที่เรียกว่า “เส้นใย (filament)” ซึ่งถูกคั่นด้วย “ช่องว่าง (void)” ขนาดใหญ่สีดำ ทำให้เรามองเห็นจักรวาลที่สังเกตได้เป็นโครงสร้างเหมือนเส้นใย ที่เรียกว่า “โครงข่ายจักรวาล (Cosmic web)” ซึ่งเป็นชื่อที่นักดาราศาสตร์ตั้งให้กับโครงสร้างขนาดใหญ่ของจักรวาล เส้นใยแต่ละเส้นของ […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#36 ภาพลวงตาของดวงจันทร์

Posted: 10/08/2021 at 13:43   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

คุณเคยสังเกตหรือไม่ว่าดวงจันทร์ดูใหญ่กว่าเมื่ออยู่ใกล้ขอบฟ้า แต่หลายชั่วโมงต่อมาเมื่อคุณแหงนมองท้องฟ้ายามค่ำคืน คุณจะสังเกตเห็นว่าตอนนี้ดวงจันทร์ดูเล็กลงมาก ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “ภาพลวงตาของดวงจันทร์ (Moon illusion)” ซึ่งจะเด่นชัดมากขึ้นในช่วงพระจันทร์เต็มดวง อันที่จริง ดวงจันทร์เมื่ออยู่ใกล้ขอบฟ้าไม่ได้มีขนาดใหญ่กว่าเมื่ออยู่สูงขึ้นไปบนท้องฟ้า   ภาพลวงตาของดวงจันทร์ ปัญหากวนใจนับพันปี vox.com ภาพลวงตาของดวงจันทร์เป็นที่รู้จักกันและทำให้ผู้คนงุนงงมากว่า 2,000 ปี อริสโตเติล (Aristotle, 384–322 ปีก่อนคริสตกาล) ได้บันทึกเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้เป็นครั้งแรก เขาเชื่อว่าชั้นบรรยากาศของโลกทำหน้าที่เป็นเลนส์ขยาย ขยายภาพดวงจันทร์ ทำให้ดวงจันทร์ดูมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่ออยู่ใกล้ขอบฟ้า เช่นเดียวกับที่น้ำสามารถทำให้วัตถุที่แช่อยู่ดูเหมือนมีขนาดใหญ่ขึ้นในสายตาของเรา แต่เราได้เรียนรู้ว่าสิ่งนี้ไม่เป็นความจริง แม้ว่าบรรยากาศจะเปลี่ยนสีของดวงจันทร์ที่เรารับรู้ได้ แต่ก็ไม่ได้ขยายขนาดของดวงจันทร์ให้ใหญ่ขึ้น  ผลกระทบจากการกระเจิงของชั้นบรรยากาศ บางครั้งทำให้ดวงจันทร์ปรากฏเป็นสีส้มหรือสีแดง แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงขนาดที่ปรากฏของดวงจันทร์ เนื่องจากความหนาของชั้นบรรยากาศของโลกจะกรองแสงสีน้ำเงินที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าของแสงจันทร์ออก เหลือแสงสีแดงที่มีความยาวคลื่นยาวกว่าของแสงจันทร์ส่องผ่านมายังดวงตาของคุณ ดังนั้นดวงจันทร์ที่ลอยต่ำจึงมีแนวโน้มที่จะดูเป็นสีแดงหรือสีส้ม   ยืนยันขนาดของดวงจันทร์ด้วยตัวคุณเอง freethoughtblogs.com ไม่นานมานี้ นักจิตวิทยาระบุว่าดวงจันทร์ขนาดมหึมาใกล้ขอบฟ้านั้น เป็นกลลวงแห่งจินตนาการอย่างแท้จริง อันที่จริงแล้วมันมีขนาดเท่ากันไม่ว่าจะอยู่ใกล้ขอบฟ้าหรืออยู่บนท้องฟ้า คุณสามารถยืนยันได้ง่ายๆ ว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของดวงจันทร์เมื่ออยู่ใกล้ขอบฟ้าเทียบกับเมื่ออยู่บนท้องฟ้า โดยทำการทดลองง่ายๆ ตั้งกล้องไว้บนขาตั้งกล้องและถ่ายภาพดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่กำลังขึ้นหลายภาพ เมื่อดวงจันทร์อยู่สูงบนท้องฟ้า ให้ย้อนกลับไปและเปรียบเทียบขนาดของดวงจันทร์ในภาพถ่ายของคุณ คุณจะเห็นว่าภาพถ่ายของดวงจันทร์ที่กำลังขึ้นและเมื่ออยู่สูงบนท้องฟ้า แสดงให้เห็นว่าขนาดของดวงจันทร์ไม่มีความแตกต่างกัน อีกวิธีหนึ่งในการทดสอบคือ นำกระดาษแผ่นหนึ่งมาม้วน ให้ขอบของม้วนกระดาษที่เป็นวงกลมตรงกับขอบของพระจันทร์เต็มดวงที่ขอบฟ้า แล้วติดเทปกระดาษขนาดนั้นไว้ แล้วใช้ดูดวงจันทร์ที่กำลังขึ้น […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#35 กรวยแสง

Posted: 26/07/2021 at 15:06   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

ตลอดประวัติศาสตร์ แสงเป็นสัญญาณที่เชื่อมอดีต ปัจจุบัน และอนาคต และนำมาซึ่งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของเวลา คุณสมบัติของแสง: แสงมีความเร็วคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ประมาณ 300,000 กม./วินาที มันไม่มีมวล แสงเดินทางเป็นเส้นตรง (แต่มันจะโค้งงอเมื่อเข้าใกล้วัตถุขนาดใหญ่) และไม่มีสิ่งใดเดินทางได้เร็วกว่าแสง ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษและสัมพัทธภาพทั่วไป กรวยแสง (Light cone) เป็นแผนภาพของอวกาศ-เวลา (space-time) ซึ่งแสดงถึงการแพร่กระจายของแสงออกจากจุดกำเนิดไปในอวกาศ-เวลา เหตุการณ์ทั้งหมดภายในกรวยแสงมีความเชื่อมโยงกัน ให้เราจินตนาการถึงเหตุการณ์ที่มีการระเบิด ณ จุดใดจุดหนึ่งในอวกาศ แสงที่แผ่ออกมาจากเหตุการณ์นี้จะก่อตัวเป็นวงกลมที่ขยายตัวออกไป มันจะเหมือนกับระลอกคลื่นที่กระจายออกไปบนพื้นผิวของสระน้ำเมื่อโยนก้อนหินลงไป ระลอกคลื่นจะกระจายออกเป็นวงกลมที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ดังที่แสดงในแอนิเมชั่นด้านล่างนี้                 วิธีการง่ายที่สุดที่จะจินตนาการถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอวกาศ-เวลา (space-time) สามารถทำโดยการนำภาพถ่ายของระลอกคลื่นที่เกิดขึ้นในแต่ละวินาทีมาวางเรียงซ้อนกัน เราจะสามารถมองเห็นแสงที่แผ่กระจายออกจากเหตุการณ์หนึ่งๆ ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป จนได้เป็นรูปทรงกรวย  ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ไอน์สไตน์ระบุว่าความเร็วแสงมีค่าคงที่ ดังนั้นการแผ่ขยายตัวของกรวยแสงนั้น เป็นไปอย่างคงที่และแน่นอน             […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#34 การซ้อนทับควอมตัมและจักรวาลคู่ขนาน

Posted: 01/07/2021 at 10:31   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

การทดลองแบบ Double-slit ที่ยืนยันลักษณะทวิภาคของคลื่น-อนุภาคของแสงและสสาร ในกลศาสตร์ควอนตัมแสดงถึงความจริงที่ว่า “แสงและสสารแสดงพฤติกรรมของทั้งคลื่นและอนุภาค” ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สิ่งนี้เรียกว่า “ทวิภาคของคลื่น-อนุภาค (Wave–particle duality)” การศึกษาว่าแสงมีพฤติกรรมเป็นคลื่นหรืออนุภาคย้อนไปถึงศตวรรษที่ 17 ในยุคนั้นนักฟิสิกส์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทฤษฎีแสงของนิวตัน ที่เชื่อว่าแสงประกอบขึ้นด้วยอนุภาคเล็กๆ ที่เรียกว่า “คอพัสเคิล (corpuscles)” ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า “โฟตอน (photon)” อีกสองร้อยกว่าปีต่อมาในปี 1905 ไอน์สไตน์เป็นผู้ว่ายืนยันว่าแสงเป็นกลุ่มของอนุภาคที่มีพลังงานจากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ในปี 1801 นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ โธมัส ยัง (Thomas Young) ได้ออกแบบการทดลองที่เรียกว่า “การทดลองแบบ 2 ช่อง (Double-slit Experiment)” กับแสง (ซึ่งเป็นอนุภาคที่ไม่มีมวล) เพื่อแสดงให้เห็นว่า “แสงมีคุณสมบัติของคลื่น”  ในการทดลอง Young เล็งลำแสงไปที่สิ่งกีดขวางที่มีช่องเปิดเล็กๆ สองช่อง ซึ่งมีการวางฉากข้างหลังช่องเปิดทั้งสอง เขาให้เหตุผลว่า หากแสงประกอบด้วยอนุภาค อนุภาคเหล่านั้นควรเดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเปิด และปรากฎเป็นแสงเพียงสองเส้นบนฉากข้างหลังในแนวเดียวกับช่องเปิด แต่จากการทดลอง Young ได้สังเกตเห็นแสงบนฉากปรากฏเป็นแถบสว่างและแถบมืดเรียงสลับกัน ซึ่งเป็นรูปแบบที่สร้างได้ด้วยคลื่นเท่านั้น อธิบายได้ว่าเมื่อแสงจากแหล่งกำเนิดเดินทางผ่านช่องเปิดเล็กๆ 2 […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#33 งานวิจัยสุดท้ายของสตีเฟน ฮอว์คิง: จักรวาลคู่ขนาน

Posted: 13/06/2021 at 13:14   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

แนวคิดเรื่อง  “จักรวาลคู่ขนาน (Parallel universe)” เป็นทฤษฎีหนึ่งในแนวคิดมากมายในจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ หลายแนวคิดนำไปสู่แนวคิดเกี่ยวกับพหุภพ (multiverse) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่าจักรวาลของเราเป็นเพียงหนึ่งในจักรวาลจำนวนนับไม่ถ้วนที่ผุดขึ้นและออกจากการดำรงอยู่ เหมือนเช่นฟองสบู่ ทั้งหมดล่องลอยอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า “พหุภพ (multiverse)” การมีอยู่ของจักรวาลคู่ขนานยังไม่ได้รับการพิสูจน์ แต่บทความสุดท้ายของ สตีเฟน ฮอว์คิง อาจปูทางไปสู่การค้นพบหลักฐานของ multiverse    บทความสุดท้ายของ Stephen Hawking: เราอยู่ในพหุภพ สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2018 ในวัย 76 ปี เนื่องจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือ ALS (Amyotrophic Lateral Sclerosis) ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาท เถ้าถ่านของฮอว์คิงถูกฝังอยู่ภายใน Westminster Abbey ในลอนดอน ใกล้กับหลุมศพของนักวิทยาศาสตร์ Isaac Newton และ Charles Darwin ในปี 1988 ฮอว์คิงโด่งดังไปทั่วโลกหลังจากตีพิมพ์หนังสือ “ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#31 การแผ่รังสีฮอว์คิง

Posted: 12/05/2021 at 16:31   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

สตีเฟน ฮอว์คิง สตีเฟน ฮอว์คิง (Stephen Hawking) เป็นนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎี นักจักรวาลวิทยา และนักเขียน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของศูนย์จักรวาลวิทยาเชิงทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตเมื่อปี 2018 ผลงานทางวิทยาศาสตร์ของเขารวมถึงความร่วมมือกับโรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) สร้างทฤษฎีบทเอกฐาน (Penrose–Hawking singularity theorems) ในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป และการทำนายทางทฤษฎีว่าหลุมดำปล่อยรังสีซึ่งเรียกว่า “การแผ่รังสีฮอว์คิง (Hawking Radiation)” เขาเป็นคนแรกที่กำหนดทฤษฎีจักรวาลวิทยาที่อธิบายโดยรวมทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ (Einstein’s Theory of general relativity) และกลศาสตร์ควอนตัม (Quantum mechanics) เข้าด้วยกัน   ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปคาดการณ์การมีอยู่ของหลุมดำ หลุมดำ (Black holes) เป็นวัตถุที่แปลกประหลาดที่สุดในจักรวาล ทั่วทั้งกาแล็กซี่ทางช้างเผือกของเรามีหลุมดำหลายล้านแห่งโคจรอยู่ภายใต้กฎความโน้มถ่วงเดียวกันกับมวลอื่นๆ ในจักรวาล   ในปี 1915 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (Theory of general relativity) หนึ่งในการคาดการณ์จากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปที่ลึกลับและน่าประหลาดใจที่สุด คือการมีอยู่ของหลุมดำ […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#30 หลุมดำ

Posted: 23/04/2021 at 13:45   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

หลุมดำคืออะไร หลุมดำ (Black hole) เป็นวัตถุที่แปลกประหลาดและน่าสนใจที่สุดในอวกาศ พวกมันเป็นพื้นที่ของอวกาศ-เวลา (space-time) ในจักรวาลที่มีความหนาแน่นและความโน้มถ่วงสูงมากซึ่งไม่มีสิ่งใดสามารถหลุดรอดออกไปได้แม้แต่แสง เราไม่สามารถเข้าใจภายในของหลุมดำได้ เพราะหลุมดำเป็นสถานที่ที่กฎของฟิสิกส์ถูกทำลายลง แนวคิดเรื่องหลุมดำมีมานานหลายศตวรรษแล้ว ในปี 1783 จอห์น มิทเชล (John Michell) ได้ตั้งทฤษฎีเกี่ยวกับดาวมืดซึ่งเป็นดาวที่มีขนาดใหญ่มากจนแรงโน้มถ่วงของมันดักจับแสง ในขณะที่มิทเชลสร้างแนวคิดเรื่องหลุมดำแต่ก็ไม่ได้รับเครดิตเพราะเขาไม่เคยขยายความคิดของเขา เป็นเวลากว่าสองศตวรรษที่ทฤษฎีของวัตถุที่มีขนาดใหญ่พอที่จะดักจับแสงได้ถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพังในขณะที่นักฟิสิกส์มุ่งเน้นไปที่แง่มุมอื่นๆ ของจักรวาล จากนั้น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ได้ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปและความสนใจในหลุมดำก็ปะทุขึ้น   ประเภทของหลุมดำ หลุมดำมี 4 ประเภท มวลและขนาดของหลุมดำเป็นตัวกำหนดว่ามันจัดอยู่ในประเภทใด หลุมดำดึกดำบรรพ์ (Primordial black holes) หลุมดำที่เล็กที่สุดเรียกว่า “หลุมดำดึกดำบรรพ์ (Primordial black holes)” หลุมดำประเภทนี้ไม่ได้เริ่มต้นจากการเป็นดาวฤกษ์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหลุมดำดึกดำบรรพ์ก่อตัวขึ้นทันทีหลังจากการระเบิดบิกแบงซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล พื้นที่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วของจักรวาลเต็มไปด้วยพลังงานอย่างไม่น่าเชื่อ อาจบีบบางพื้นที่ให้กลายเป็นหลุมดำขนาดเล็กมากประมาณอะตอม แต่มีมวลเท่าภูเขาขนาดใหญ่  หลุมดำมวลดาวฤกษ์ (Stellar black holes) ชนิดของหลุมดำที่พบมากที่สุดและนักวิทยาศาสตร์เข้าใจมากที่สุดที่เรียกว่า “หลุมดำมวลดาวฤกษ์ (Stellar black […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#29 ระบบสุริยะ

Posted: 09/04/2021 at 16:18   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

ระบบสุริยะที่เราเรียกว่าบ้านตั้งอยู่ในแขนก้นหอยด้านนอกของกาแล็กซี่ทางช้างเผือก (Milky Way galaxy) ระบบสุริยะของเราประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง เช่น ดาวเคราะห์ (planets) ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดวงจันทร์ (moon) ดาวเคราะห์แคระ (dwarf planets) เช่น ดาวพลูโต  และดาวเคราะห์น้อย (asteroids) ดาวหาง (comets) และดาวตก (meteoroids)     Sofia Carson – Fool’s Gold     กำเนิดดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์อินฟราเรดตรวจสอบกลุ่มเมฆจำนวนมากในกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งเผยให้เห็นสภาพแวดล้อมในการเกิดของดาวดวงอื่น นักวิทยาศาสตร์ได้นำสิ่งที่พวกเขาเห็นในระบบอื่นมาใช้กับระบบสุริยะของเรา จากการศึกษาหลายสิ่งหลายอย่างส่วนใหญ่เป็นอุกกาบาต (meteorites) และใช้เทคนิคการหาอายุจากสารกัมมันตรังสี (radioactive dating techniques) นักวิทยาศาสตร์ได้ระบุว่าระบบสุริยะก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 4.6 ​​พันล้านปี ระบบสุริยะของเราก่อตัวขึ้นเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปี กลุ่มก๊าซและฝุ่นระหว่างดวงดาวที่มีความหนาแน่นมหาศาลทำให้เกิดเมฆโมเลกุลที่เรียกว่า […]

No Comments read more