ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History Of Time) โดย สตีเฟน ฮอว์คิง#13 บทที่ 2 อวกาศ-เวลา : ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์
สมมติฐานพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ว่า “กฎของวิทยาศาสตร์ควรเหมือนกันสำหรับผู้สังเกตการณ์ที่เคลื่อนที่อย่างอิสระ” ไม่ว่าพวกเขาจะมีความเร็วเท่าใดก็ตาม นี่เป็นเรื่องจริงสำหรับกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน แต่ตอนนี้แนวคิดนี้ได้ขยายออกไปเพื่อรวมทฤษฎีของ Maxwell และความเร็วของแสงไว้ “ผู้สังเกตการณ์ทุกคนควรวัดความเร็วแสงเท่ากันไม่ว่าจะเคลื่อนที่เร็วแค่ไหนก็ตาม” ความคิดง่ายๆนี้มีผลลัพธ์ที่น่าทึ่ง บางทีสิ่งที่รู้จักกันดีที่สุดคือ “ความเท่ากันของมวลและพลังงาน (equivalence of mass and energy)” ที่สรุปไว้ในสมการที่มีชื่อเสียงของไอน์สไตน์ E = mc2 (โดยที่ E คือพลังงาน m คือมวล และ c คือความเร็วแสง) และกฎที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าความเร็วแสง” เนื่องจากความเท่าเทียมกันของพลังงานและมวล พลังงานที่วัตถุมีเนื่องจากการเคลื่อนที่ของมันจะเพิ่มมวลของมัน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือจะทำให้เพิ่มความเร็วได้ยากขึ้น เอฟเฟกต์นี้มีความสำคัญมากสำหรับวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกับความเร็วแสงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ที่ 10% ของความเร็วแสง มวลของวัตถุจะมากกว่าปกติเพียง 0.5% ในขณะที่ความเร็วแสง 90% มวลของวัตถุจะมากกว่ามวลปกติถึง 2 เท่า เมื่อวัตถุเข้าใกล้ความเร็วแสง มวลของมันจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นจึงต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการเร่งความเร็วให้มากขึ้น ในความเป็นจริงมันไม่สามารถไปถึงความเร็วแสงได้ เพราะเมื่อนั้นมวลของมันจะกลายเป็นไม่มีที่สิ้นสุด จากความเท่าเทียมกันของมวลและพลังงาน มันจะต้องใช้พลังงานจำนวนไม่จำกัดเพื่อไปที่นั่น ด้วยเหตุนี้วัตถุใดๆ จึงถูกจำกัดความเร็วโดยทฤษฎีสัมพัทธภาพตลอดไปว่า จะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วช้ากว่าความเร็วแสง […]
ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History Of Time) โดย สตีเฟน ฮอว์คิง#12 บทที่ 2 อวกาศ-เวลา : การทดลองที่ปฏิเสธการดำรงอยู่ของอีเธอร์
มีการเสนอว่ามีสารที่เรียกว่า “อีเธอร์ (ether)” ปรากฏอยู่ทุกหนทุกแห่งแม้ในพื้นที่ “ว่างเปล่า” คลื่นแสงควรเดินทางผ่านอีเธอร์เหมือนคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านอากาศ ดังนั้นความเร็วของพวกมันจึงควรสัมพันธ์กับอีเธอร์ แต่จะแตกต่างกันไปตามผู้สังเกตที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่โลกเคลื่อนที่ผ่านอีเธอร์ขณะโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเร็วแสงที่เดินทางในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของโลกรอบดวงอาทิตย์ผ่านอีเธอร์ (เมื่อเราเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนิดแสง) ควรสูงกว่าความเร็วแสงที่เดินทางในทิศทางทำมุมฉากกับการเคลื่อนที่ของโลก (เมื่อเราเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิดแสง) ในปี 1887 อัลเบิร์ต มิเชลสัน (ซึ่งต่อมากลายเป็นคนอเมริกันคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์) และเอ็ดเวิร์ด มอร์ลีย์ ได้ทำการทดลองที่ School of Applied Science ในเมืองคลีฟแลนด์ พวกเขาเปรียบเทียบความเร็วของแสงที่เดินทางในทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของโลก กับความเร็วแสงที่เดินทางในทิศทางทำมุมฉากกับการเคลื่อนที่ของโลก พวกเขาประหลาดใจมากที่ได้ค่าเหมือนกันทุกประการ! ระหว่างปี 1887 ถึงปี 1905 มีความพยายามหลายครั้ง โดยเฉพาะนักฟิสิกส์ชาวดัตช์ เฮนดริก ลอเรนซ์ (Hendrik Lorentz) เพื่ออธิบายผลการทดลองของมิเชลสัน – มอร์ลีย์ ในแง่ของวัตถุที่หดตัวและนาฬิกาที่ช้าลงเมื่อเคลื่อนที่ผ่านอีเธอร์ อย่างไรก็ตามในบทความที่มีชื่อเสียงในปี 1905 อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เสมียนที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อนซึ่งทำงานอยู่ที่สำนักงานสิทธิบัตรสวิสได้แนะนำ (ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ-ผู้เขียน) ว่าไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องอีเธอร์หากคุณปฏิเสธแนวคิดเรื่องเวลาสัมบูรณ์ (absolute time) แนวคิดที่คล้ายกันนี้เกิดขึ้นใน […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#11 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 6 Time Travel
เดอะ ไทม์แมชชีน (The Time Machine) เป็นหนึ่งในนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่เขียนโดย เอช.จี เวลส์ (H.G Wells) ในปี 1895 ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อโลก ในนวนิยายของเวลส์ นักท่องเวลาได้สร้างไทม์แมชชีนที่สามารถย้อนกาลเวลากลับไปในอดีตและเดินทางผ่านข้ามกาลเวลาไปสู่อนาคต ความคิดของการเดินทางข้ามเวลาที่ยิ่งใหญ่นี้ เป็นสิ่งน่าท้าทายสำหรับนักวิทยาศาสตร์มากมาย นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ทำการวิจัยมานานหลายทศวรรษเพื่อค้นหาว่ามนุษย์สามารถเดินทางข้ามเวลาได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อเราคิดถึง “การเดินทางข้ามเวลา” เรามักจะคิดถึงการเดินทางที่เร็วกว่าความเร็วแสง การเดินทางข้ามเวลาแบบนั้น ดูเหมือนจะเห็นเฉพาะในภาพยนตร์หรือหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ มันจะเป็นจริงหรือไม่ วิทยาศาสตร์บอกว่า ได้! Maître Gims – Je te pardonne ft. Sia Time Travel In Physics spaceplace.nasa.gov กว่า 100 ปีมาแล้ว อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Theory of special relativity; […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#10 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 5 Mass, Energy, Speed of Light
ไอน์สไตน์ได้สร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Theory of special relativity; 1905) บนสมมุติฐาน 2 ข้อ คือ 1) กฎทั้งหมดทางฟิสิกส์จะเหมือนกันในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย 2) ความเร็วของแสงในสูญญากาศมีค่าคงที่ (ค่าเดียวคือ c = 300,000,000 เมตร/วินาที) สำหรับทุกผู้สังเกตการณ์ และความเร็วของแสงไม่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสง หรือ การเคลื่อนที่ของผู้สังเกตุการณ์ จากสมมุติฐานที่สอง ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดเคลื่อนที่เร็วกว่าแสง” ถ้าเราสังเกตุบางสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง สิ่งที่เราจะสังเกตุเห็น Time dilation เวลาของมันจะเดินช้าลง Length contraction ความยาวของมันหดสั้นลงในทิศทางที่เคลื่อนที่ Mass increase มวลของมันเพิ่มขึ้น Thomas Rhett – Star Of The Show Rest Mass & Relativistic Mass ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ (Einstein’s […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#6 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 1 Ether, Space-Time, Reference Frame
ความแตกต่างระหว่างฟิสิกส์คลาสสิก (Classical physics) กับ ฟิสิกส์สมัยใหม่ (Modern physics) โดยทั่วไปฟิสิกส์คลาสสิก (Classical physics) เกิดขึ้นก่อนศตวรรษที่ 20 มักเกี่ยวข้องกับสสารและพลังงานที่มองเห็นได้ ใหญ่กว่าอะตอม โมเลกุล อิเล็กตรอน และนิวคลีไอ และเคลื่อนที่ช้ากว่าความเร็วแสง มีความแม่นยำในการอธิบายในขนาดมองเห็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่อธิบายด้วย Newton’s laws ฟิสิกส์สมัยใหม่ (Modern physics) ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของสสารและพลังงานภายใต้สภาวะที่สุดขั้ว หรือกับวัตถุที่มีขนาดใหญ่มากหรือเล็กมาก atomic and subatomic scales ยกตัวอย่างเช่น ด้านฟิสิกส์อะตอม (Atomic physics) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของอะตอม (นิวเคลียสและอิเล็กตรอน) และด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ (์Nuclear physics) ซึ่งเป็นการศึกษาในระดับที่เล็กที่สุด คือการศึกษาคุณสมบัติของนิวเคลียสและกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียสที่เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (นิวเคลียส ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานคือ โปรตอน (proton) และนิวตรอน (neutron)) สาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์นี้เป็นฟิสิกส์พลังงานสูง เนื่องจากให้พลังงานที่สูงมากที่จำเป็นในการผลิตอนุภาคหลายชนิดในเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ ทฤษฎีหลักของฟิสิกส์สมัยใหม่มีอยู่ 2 ทฤษฎี นำเสนอภาพแนวคิดเรื่องอวกาศเวลาและสสารที่แตกต่างไปจากฟิสิกส์คลาสสิค […]