กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#11 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 6 Time Travel
เดอะ ไทม์แมชชีน (The Time Machine) เป็นหนึ่งในนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดที่เขียนโดย เอช.จี เวลส์ (H.G Wells) ในปี 1895 ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อโลก ในนวนิยายของเวลส์ นักท่องเวลาได้สร้างไทม์แมชชีนที่สามารถย้อนกาลเวลากลับไปในอดีตและเดินทางผ่านข้ามกาลเวลาไปสู่อนาคต ความคิดของการเดินทางข้ามเวลาที่ยิ่งใหญ่นี้ เป็นสิ่งน่าท้าทายสำหรับนักวิทยาศาสตร์มากมาย นักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ทำการวิจัยมานานหลายทศวรรษเพื่อค้นหาว่ามนุษย์สามารถเดินทางข้ามเวลาได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามเมื่อเราคิดถึง “การเดินทางข้ามเวลา” เรามักจะคิดถึงการเดินทางที่เร็วกว่าความเร็วแสง การเดินทางข้ามเวลาแบบนั้น ดูเหมือนจะเห็นเฉพาะในภาพยนตร์หรือหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์ มันจะเป็นจริงหรือไม่ วิทยาศาสตร์บอกว่า ได้! Maître Gims – Je te pardonne ft. Sia Time Travel In Physics spaceplace.nasa.gov กว่า 100 ปีมาแล้ว อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Theory of special relativity; […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#10 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 5 Mass, Energy, Speed of Light
ไอน์สไตน์ได้สร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Theory of special relativity; 1905) บนสมมุติฐาน 2 ข้อ คือ 1) กฎทั้งหมดทางฟิสิกส์จะเหมือนกันในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย 2) ความเร็วของแสงในสูญญากาศมีค่าคงที่ (ค่าเดียวคือ c = 300,000,000 เมตร/วินาที) สำหรับทุกผู้สังเกตการณ์ และความเร็วของแสงไม่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสง หรือ การเคลื่อนที่ของผู้สังเกตุการณ์ จากสมมุติฐานที่สอง ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดเคลื่อนที่เร็วกว่าแสง” ถ้าเราสังเกตุบางสิ่งที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้ความเร็วแสง สิ่งที่เราจะสังเกตุเห็น Time dilation เวลาของมันจะเดินช้าลง Length contraction ความยาวของมันหดสั้นลงในทิศทางที่เคลื่อนที่ Mass increase มวลของมันเพิ่มขึ้น Thomas Rhett – Star Of The Show Rest Mass & Relativistic Mass ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ (Einstein’s […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#9 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 4 Length Contraction
ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ (Einstein’s theory of special relativity; 1905) ใช้กับวัตถุในกรอบอ้างอิงเฉื่อยซึ่งไม่มีการเร่งความเร็ว หลักการสำคัญสองประการของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษคือ (1) กฎของฟิสิกส์นั้นเหมือนกันสำหรับผู้สังเกตการณ์ในกรอบอ้างอิงเฉื่อย (2) ความเร็วของแสงในสูญญากาศเป็นค่าคงที่ (300,000 กิโลเมตร/วินาที) สำหรับผู้สังเกตการณ์ทุกคน และไม่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ของผู้สังเกตการณ์หรือแหล่งกำเนิดแสง ผลจากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่เกิดขึ้นคู่กันเสมอ คือ ◦ การยืดออกของเวลา (Time dilation) ◦ การหดตัวของความยาว (Length contraction) สำหรับ Time dilation ผู้เขียนได้อธิบายไปแล้วในตอนที่ผ่านมา ในบทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ Length contraction Martin Garrix feat. JRM – These Are The Times การหดตัวของความยาว (Length Contraction) หนึ่งในแนวคิดที่แปลกประหลาดของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ (Einstein’s theory of special […]
ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) โดย สตีเฟน ฮอว์คิง#1 บทที่ 1 ภาพของจักรวาลของเรา : Turtles All The Way Down
บทที่ 1 ภาพของจักรวาลของเรา นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง (บางคนกล่าว เขาคือ เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์; Bertrand Russell) ครั้งหนึ่งในการบรรยายทางด้านดาราศาสตร์ เขาอธิบายว่าโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ได้อย่างไร และดวงอาทิตย์โคจรรอบ “ศูนย์กลางที่มีดวงดาวมาอยู่รวมกันมากมาย ที่เรียกว่า กาแล็กซีของเรา” ได้อย่างไร ในช่วงสุดท้ายของการบรรยาย หญิงชราคนหนึ่งซึ่งอยู่ด้านหลังของห้องยืนขึ้นและพูดว่า “สิ่งที่คุณพูดให้เราฟัง ช่างไร้สาระ” โลกเป็นแผ่นแบนที่วางตัวบนหลังเต่ายักษ์ตัวหนึ่ง” นักวิทยาศาสตร์ยิ้มก่อนจะพูดกลับไปว่า “แล้วเต่าตัวนั้นยืนอยู่บนอะไรหละ” หญิงชรากล่าว “คุณฉลาดมาก ชายหนุ่ม ฉลาดมาก” ” But it’s turtles all the way down” (มันเป็นเต่าตลอดทางลง) en.wikipedia.org ปล. เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ เป็นหนึ่งในนักคณิตศาสตร์ นักปรัชญา นักตรรกวิทยา ที่มีอิทธิพลอย่างสูงในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นนักปรัชญาการศึกษาหัวรุนแรงที่มีบทบาทสำคัญยิ่งคนหนึ่งของอังกฤษ เป็นผู้ที่ได้สร้างผลงานด้านการศึกษาในแนวปฏิรูปไว้มากมายหลายแขนง ซึ่งเป็นที่ยอมรับและมีอิทธิพลต่อการศึกษาในปัจจุบันอย่างมาก What Does […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#8 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ตอนที่ 3 Velocity Time Dilation
จาก ” กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#7 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 2 ” ไอน์สไตน์ใช้การทดลองทางความคิดมาแสดงให้เห็นว่า เวลามีความสัมพันธ์กันหรือสัมพัทธ์กัน Time is relative! เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันในกรอบอ้างอิงหนึ่ง จะเกิดขึ้นไม่พร้อมกันในกรอบอ้างอิงอื่น และไอน์สไตน์ยังได้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีอะไรที่เป็นการเคลื่อนที่สัมบูรณ์ หรือการอยู่กับที่สัมบูรณ์ การเคลื่อนที่ทั้งหมดมีความสัมพันธ์หรือสัมพัทธ์กัน Motion is relative! สมมติฐานในทฤษฏีสัมพัทธภาพพิเศษมี 2 ข้อดังนี้ 1) กฎทั้งหมดทางฟิสิกส์จะเหมือนกันในทุกกรอบอ้างอิงเฉื่อย 2) ความเร็วของแสงในสูญญากาศมีค่าคงที่ (ค่าเดียวคือ c = 300,000,000 เมตร/วินาที) และความเร็วของแสงไม่ขึ้นกับการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสงนั้นหรือการเคลื่อนที่ของผู้สังเกตุการณ์ จากสมมุติฐานที่สอง ไอน์สไตน์กล่าวว่า “ไม่มีสิ่งใดเคลื่อนที่เร็วกว่าแสง” ONUKA – TIME การทดลองทางความคิดของไอน์สไตน์ที่นำไปสู่การยืดออกของเวลาอันเนื่องจากความเร็ว (Einstein’s thought experiment leading to Velocity Time Dilation) quora.com quora.com […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#7 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 2 Einstein’s Thought Experiments
แต่เมื่อวัตถุมีขนาดเล็กกว่าอะตอมหรือมีความเร็วที่สูงใกล้เคียงกับความเร็วแสง กลศาสตร์ดั้งเดิม (Classical Mechanics) จะมีความถูกต้องน้อยลง ต้องใช้กลศาสตร์ควอนตัม (Quantum Mechanics) ในการศึกษาแทน เพื่อให้มีความถูกต้องในการคำนวณสูงขึ้น โดยกลศาสตร์ควอนตัมจะเหมาะสมที่จะศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งได้ถูกปรับแต่งให้เข้ากับลักษณะของอะตอมในส่วนของความเป็นคลื่น-อนุภาคในอะตอมและโมเลกุล แต่เมื่อกลศาสตร์ทั้งสองไม่สามารถใช้ได้ จากกรณีที่วัตถุขนาดเล็กเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง ทฤษฎีสนามควอนตัม (Quantum Field Theory) จึงเป็นตัวเลือกที่นำมาใช้ในการคำนวณแทนกลศาสตร์ทั้งสอง ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton) เป็นคนแรกที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงและความเร่ง การศึกษาความสัมพันธ์นี้เรียกว่า กลศาสตร์ของนิวตัน (Newtonian mechanics) ซึ่งกลศาสตร์นิวตันไม่สามารถใช้ได้สำหรับทุกสถานการณ์ และมีแค่ 3 มิติ ไม่มีมิติของเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างเหตุการณ์ที่ 1 และเหตุการณ์ที่ 2 เมื่อ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) พัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพเมื่อต้นปี 1900 ทำให้เกิดการปฏิวัติความเข้าใจใหม่ในเรื่องของอวกาศและเวลา (space-time) ในสมัยก่อน นิวตันมอง space-time ถูกตรึงอยู่กับที่ แต่ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Theory of special relativity; […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#6 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ตอนที่ 1 Ether, Space-Time, Reference Frame
ความแตกต่างระหว่างฟิสิกส์คลาสสิก (Classical physics) กับ ฟิสิกส์สมัยใหม่ (Modern physics) โดยทั่วไปฟิสิกส์คลาสสิก (Classical physics) เกิดขึ้นก่อนศตวรรษที่ 20 มักเกี่ยวข้องกับสสารและพลังงานที่มองเห็นได้ ใหญ่กว่าอะตอม โมเลกุล อิเล็กตรอน และนิวคลีไอ และเคลื่อนที่ช้ากว่าความเร็วแสง มีความแม่นยำในการอธิบายในขนาดมองเห็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่อธิบายด้วย Newton’s laws ฟิสิกส์สมัยใหม่ (Modern physics) ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของสสารและพลังงานภายใต้สภาวะที่สุดขั้ว หรือกับวัตถุที่มีขนาดใหญ่มากหรือเล็กมาก atomic and subatomic scales ยกตัวอย่างเช่น ด้านฟิสิกส์อะตอม (Atomic physics) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของอะตอม (นิวเคลียสและอิเล็กตรอน) และด้านฟิสิกส์นิวเคลียร์ (์Nuclear physics) ซึ่งเป็นการศึกษาในระดับที่เล็กที่สุด คือการศึกษาคุณสมบัติของนิวเคลียสและกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียสที่เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ (นิวเคลียส ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานคือ โปรตอน (proton) และนิวตรอน (neutron)) สาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์นี้เป็นฟิสิกส์พลังงานสูง เนื่องจากให้พลังงานที่สูงมากที่จำเป็นในการผลิตอนุภาคหลายชนิดในเครื่องเร่งอนุภาคขนาดใหญ่ ทฤษฎีหลักของฟิสิกส์สมัยใหม่มีอยู่ 2 ทฤษฎี นำเสนอภาพแนวคิดเรื่องอวกาศเวลาและสสารที่แตกต่างไปจากฟิสิกส์คลาสสิค […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#5 โนเบลสำหรับไอน์สไตน์ผู้ไขปริศนาปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
วิทยาการทางฟิสิกส์ถูกแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ “ฟิสิกส์ดั้งเดิมหรือฟิสิกส์คลาสสิก (Classical physics)” และ ฟิสิกส์ยุคใหม่ “(Modern physics)” หลักการและทฤษฎีต่างๆทางฟิสิกส์ที่พบก่อนศตวรรษที่ 20 ถูกจัดเป็น “ฟิสิกส์คลาสสิก (Classical physics)” ประกอบกับวิธีการทางคณิตศาสตร์โดยไอแซก นิวตัน เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งนักปรัชญาธรรมชาติคนอื่นที่อยู่ร่วมสมัยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้แก่ ทฤษฎีทางดาราศาสตร์ของโยฮันเนส เคปเลอร์ และการศึกษาในการเคลื่อนที่ต่างๆที่อยู่บนโลกของกาลิเลโอ สิ่งรอบกายในชีวิตประจำวันของเราล้วนเป็นสสารที่ประกอบไปด้วย โมเลกุล อะตอม นิวเคลียส และอิเล็กตรอน โดยทั่วไปฟิสิกส์คลาสสิก มักเกี่ยวข้องกับสสารและพลังงานในขนาดสเกลที่มองเห็นได้ อันได้แก่ การเคลื่อนที่อธิบายได้ด้วย “กลศาสตร์คลาสสิก (Classical mechanics)” ความร้อนและพลังงานอธิบายได้ด้วย “อุณหพลศาสตร์ (Thermodynamics)” แม่เหล็กและไฟฟ้าอธิบายได้ด้วย “ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetics)” สำหรับฟิสิกส์คลาสสิก “อนุภาค” และ “คลื่น” ถูกแบ่งแยกอย่างชัดเจน ระหว่างปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ผู้คนเริ่มสังเกตเห็นว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่เล่นไปตามกฎของฟิสิกส์คลาสสิก การสังเกตเชิงทดลองหลายอย่างเริ่มท้าทายฟิสิกส์คลาสสิก […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#4 กฎลูกกระสูนปืนใหญ่ของนิวตันและวงโคจรของดาวเทียม
ไอแซก นิวตัน ได้ใช้กฎความโน้มถ่วงสากล (Newton’s law of universal gravitation) อธิบายกฎข้อแรกการเคลื่อนที่ข้อแรกของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์ (Kepler’s first law of planetary motion) ถึงสาเหตุที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี นอกจากนี้นิวตันยังได้ขยายกฎข้อนี้อีก เขาพบว่าวงโคจรของวัตถุในอวกาศไม่ได้เป็นเพียงรูปวงรีเท่านั้น สมการของนิวตันให้วงโคจรที่เป็นไปได้อีกหลายแบบต่อไปนี้ slideplayer.com วงโคจรแบบปิดหรือแบบถูกยึดไว้ (Closed orbits or Bound orbits) ความเร็วของวัตถุจะน้อยกว่าความเร็วหลุดพ้นเสมอ เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์และจะกลับมาเสมอ วงโคจรแบบปิดมี 2 แบบคือ วงโคจรแบบวงกลม (circular orbit) : ในความเป็นจริงไม่มีวัตถุในอวกาศที่มีวงโคจรเป็นวงกลมสมบูรณ์แบบ เนื่องจากวัตถุทุกตัวได้รับอิทธิพลจากแรงโน้มถ่วงของวัตถุที่อยู่ข้างเคียง เห็นได้จากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะของเราที่มีวงโคจรแบบวงรี อย่างไรก็ตามมีวัตถุขนาดเล็ก เช่น ดาวเทียมที่โคจรไปตามเส้นศูนย์สูตรของโลกด้วยความเร็วคงจะมีวงโคจรเป็นรูปวงกลมที่สมบูรณ์แบบ วงโคจรแบบวงรี (elliptical orbit) : วงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงเป็นรูปวงรี แต่จริงๆแล้ววงโคจรเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีค่าความความเอียงของวงโคจรน้อยมากจะดูเกือบเป็นวงกลม ยกเว้นวงโคจรของดาวพุธและวงโคจรของดาวพลูโตซึ่งไม่ถูกนับว่าเป็นดาวเคราะห์แล้ว จะมีค่าความเอียงของวงโคจรมากจนดูเป็นวงรีชัดเจน วงโคจรแบบเปิดหรือแบบหลุดพ้น (Open orbits or […]
กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#3 ความสัมพันธ์ระหว่างกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ของเคปเลอร์กับกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน
ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton; 1641-1725) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษและ “นักปรัชญาธรรมชาติ” ในยุคนั้นเขามีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้มีความก้าวหน้าด้านฟิสิกส์ดาราศาสตร์คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติอย่างมาก คำว่า “นิวโตเนียน (Newtonian)” ถูกใช้โดยคนรุ่นต่อๆมาเพื่ออธิบายถึงองค์ความรู้จากทฤษฎีของไอแซค นิวตัน ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในนักวิชาการผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์ในช่วงสามศตวรรษต่อมา นิวตันได้เขียนหนังสือ “Mathematical Principles of Natural Philosophy” (หลักการทางคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1687 อันเป็นรากฐานสำหรับกลศาสตร์ดั้งเดิมหรือกลศาสตร์คลาสสิก (classical mechanics) ในนั้นเขาได้ประกาศกฎการเคลื่อนที่สามข้อ (Newton’s laws of motion) และกฎความโน้มถ่วงสากล (Newton’s law of universal gravitation) ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 โยฮันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ตีพิมพ์กฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ (Kepler’s laws of planetary motion) ซึ่งบรรยายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ด้วยสมการคณิตศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลการสังเกตุการณ์มาวิเคราะห์ แต่เคปเลอร์ไม่ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ดาวเคราะห์เคลื่อนที่อย่างนั้น แปดสิบปีต่อมา ไอแซก นิวตัน เป็นผู้มาอธิบาย […]