Newsletter subscribe
Agriculture

ทางเลือกในการกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี#4 การควบคุมวัชพืชด้วยวิธีชีวภาพ (Biological Weed Control)

Posted: 22/03/2021 at 11:17   /   Agriculture, ทางเลือกในการกำจัดวัชพืช

การควบคุมวัชพืชโดยวิธีทางชีวภาพ (Biological weed control) เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตที่เป็นศัตรูตามธรรมชาติของวัชพืชเพื่อควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช ยับยั้งการเจริญเติบโตหรือการแพร่กระจายของวัชพืช ซึ่งจะลดความหนาแน่นของวัชพืชให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เป็นการลดความสามารถในการแข่งขันกับพืชปลูก ตัวอย่างของศัตรูตามธรรมชาติของวัชพืชได้แก่ สัตว์กินหญ้า แมลง ไส้เดือนฝอย ไร เชื้อโรคพืช (รา แบคทีเรีย ไวรัส) วิธีการควบคุมทางชีวภาพไม่สามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งหมด แต่สามารถลดจำนวนประชากรวัชพืชได้ และไม่สามารถควบคุมวัชพืชได้ทุกชนิด วิธีนี้ดีที่สุดสำหรับวัชพืชที่เป็นเป้าหมาย มีประสิทธิภาพมากในการควบคุมวัชพืชในพื้นที่ที่ไม่มีการตัด เป็นเทคนิคการจัดการที่ประหยัดยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม     Caroline Jones – Rise     การควบคุมวัชพืชทางชีวภาพที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท: (1) การควบคุมวัชพืชทางชีวภาพแบบคลาสสิก (Classical biological weed control) การควบคุมวัชพืชทางชีววิทยาแบบคลาสสิก เป็น “การนำเข้าศัตรูธรรมชาติจากแหล่งกำเนิดอื่น” มายังพื้นที่ที่วัชพืชบุกรุกเพื่อลดการระบาดของวัชพืช เป็นรูปแบบการควบคุมทางชีวภาพที่โดดเด่นเหมาะสำหรับการใช้งานบนพื้นที่หลายพันถึงล้านเอเคอร์ และเป็นเทคนิคที่ใช้กันมากที่สุดและส่วนใหญ่ดำเนินการโดยรัฐบาลเพื่อสาธารณประโยชน์ แมลงมักถูกนำไปใช้ในการควบคุมวัชพืชทางชีวภาพ ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดของการควบคุมวัชพืชโดยวิธีคลาสสิก ได้แก่ การใช้มอดกระบองเพชร “Cactoblastis cactorum” ซึ่งนำเข้าจากอเมริกา เพื่อควบคุมต้นกระบองเพชร prickly pear […]

No Comments read more

ทางเลือกในการกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี#3 การควบคุมวัชพืชด้วยวิธีกล (Mechanical Weed Control)

Posted: 18/03/2021 at 12:19   /   Agriculture, ทางเลือกในการกำจัดวัชพืช

การควบคุมวัชพืชด้วยวิธีกล (Mechanical Weed Control) การควบคุมวัชพืชด้วยวิธีกลหมายถึงเทคนิคใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์ในฟาร์มเพื่อควบคุมวัชพืช เกษตรกรใช้วิธีนี้เพื่อควบคุมวัชพืชมานานหลายศตวรรษ เครื่องมือกำจัดวัชพืชด้วยวิธีกลมีตั้งแต่เครื่องมือช่างขั้นพื้นฐานไปจนถึงอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยรถแทรกเตอร์เช่น จอบ คราด เครื่องตัดหญ้า รถไถ การเลือกวิธีการกำจัดวัชพืชด้วยวิธีกลขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานจริง เช่น การปลูกพืช ชนิดของดิน ต้นทุน การดำเนินงาน และความต้องการแรงงาน ในฟาร์มขนาดเล็กหรือมีกำลังงานเพียงพอ การกำจัดวัชพืชด้วยมือยังคงมีความเป็นไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพืชปลูกที่มีมูลค่าสูง แต่ในฟาร์มขนาดใหญ่ที่แรงงานมีราคาแพงและมีจำนวนจำกัด ต้องมีการนำเครื่องจักรมาใช้ การควบคุมวัชพืชด้วยวิธีกลเหมาะสำหรับการกำจัดวัชพืชระหว่างแถว สามารถใช้เครื่องจักรเพื่อฆ่าวัชพืชได้โดยการฝัง ตัด หรือถอนราก และจำเป็นต้องมีการดำเนินการซ้ำๆ เพื่อการควบคุมวัชพืชอย่างมีประสิทธิภาพ   การดึงด้วยมือ (Hand Pulling) angelusnews.com เครื่องมือกำจัดวัชพืชที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือมือของคุณ การกำจัดวัชพืชด้วยมือถือเป็นรูปแบบการจัดการวัชพืชทางการเกษตรที่เก่าแก่ที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย ข้อดีบางประการของการดึง ได้แก่ เทคนิคนี้มีผลกระทบเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีผลต่อพืชที่อยู่โดยรอบ ผลกระทบต่อระบบนิเวศมีเพียงเล็กน้อย และต้นทุนต่ำ อย่างไรก็ตามอาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ ใช้แรงงานมาก และใช้เวลานาน ทำให้เป็นวิธีที่ใช้ได้เฉพาะในพื้นที่ที่ค่อนข้างเล็กเท่านั้น การดึงด้วยมือมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำจัดวัชพืชทั้งหมดรวมทั้งรากออกจากดิน สามารถใช้เพื่อควบคุมต้นกล้า พุ่มไม้ และไม้ล้มลุกบางชนิด วัชพืชหลายชนิดสามารถแตกหน่อใหม่ได้จากส่วนของรากที่เหลืออยู่ในดิน ดังนั้นประสิทธิภาพของวิธีนี้จึงขึ้นอยู่กับการกำจัดระบบรากให้ได้มากที่สุด วิธีนี้อาจใช้ไม่ได้กับวัชพืชยืนต้นเนื่องจากความยากลำบากในการกำจัดระบบรากและชิ้นส่วนพืชยืนต้นทั้งหมด ควรดึงวัชพืชด้วยมือหลังฝนตกเมื่อดินชื้น ควรสวมถุงมือที่แข็งแรงเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการทิ่มแทงแผลพุพองหรือแผลไหม้ที่ผิวหนัง   การตัดหญ้า […]

No Comments read more

ทางเลือกในการกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี#2 การควบคุมวัชพืชโดยวิธีเขตกรรม (Cultural Weed Control)

Posted: 12/03/2021 at 10:27   /   Agriculture, ทางเลือกในการกำจัดวัชพืช

การควบคุมวัชพืชโดยวิธีเขตกรรม (Cultural Weed Control) การควบคุมวัชพืชโดยวิธีเขตกรรมเป็นวิธีการสมัยโบราณซึ่งชาวไร่ชาวสวนทั่วๆ ไปปฏิบัติ คือการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อให้พืชเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง และคลุมพื้นที่ได้เร็ว มีความได้เปรียบในการแก่งแย่งแข่งขันกับวัชพืช โดยใช้วิธีการและปัจจัยในการปลูกพืชอย่างถูกต้อง วิธีนี้มีหลายอย่างได้แก่   การปลูกพืชหมุนเวียน (Crop rotation) eos.com การปลูกพืชหมุนเวียนคือ การปลูกพืชต่างชนิดกันบนพื้นที่เดียวกันหมุนเวียนกันไป ซึ่งการปลูกพืชหมุนเวียนที่หลากหลายเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน และทำลายวงจรของศัตรูพืชและวัชพืช การปลูกหมุนเวียนเป็นวิธีการเพาะปลูกที่สลับหมุนเวียนกันไปมาระหว่างพืชผลที่ปลูกในฤดูกาลต่างๆ ในปีหนึ่งๆ ไม่ปลูกพืชชนิดเดียวต่อเนื่องกันไป เช่น ปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชไร่  พืชแต่ละชนิดต้องการธาตุอาหารที่แตกต่างกันและสร้างธาตุอาหารที่ต่างกัน ดังนั้นการปลูกพืชหมุนเวียนเป็นการรักษาธาตุอาหารในดินให้สมดุล  การปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่ปลูกพืชชนิดเดียวกันในไร่เดียวกันปีแล้วปีเล่า ส่งผลให้เกิดการสะสมของพันธุ์วัชพืชที่ปรับให้เข้ากับสภาพการเจริญเติบโตของพืช เมื่อมีการปลูกพืชหมุนเวียนที่มีความหลากหลาย การงอกของวัชพืชและวัฏจักรการเจริญเติบโตของมันจะหยุดชะงัก ความหนาแน่นของประชากรวัชพืชจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นกลยุทธ์สำคัญในการควบคุมวัชพืชในระยะยาว   การแข่งขันระหว่างพืชปลูกกับวัชพืช (Crop-weed competition) youtube.com วัชพืชเมื่อขึ้นอยู่ร่วมกับพืชปลูก จะเกิดการแก่งแย่งทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น น้ำ สารอาหาร แสงแดด พื้นที่ ทำให้พืชปลูกไม่สามารถใช้ทรัพยากรนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่ การแข่งขันจากวัชพืชเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในบรรดาปัจจัยทางชีวภาพที่ทำให้ผลผลิตพืชผลทางการเกษตรลดลง โดยทั่วไปการเติบโตของวัชพืชที่เพิ่มขึ้นหนึ่งกิโลกรัมจะทำให้การเติบโตของพืชลดลงหนึ่งกิโลกรัม แนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้พืชผลของคุณชนะสงครามกับวัชพืช โดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับพวกมัน (1) สร้างพืชปลูกก่อนวัชพืชเป็นแนวทางปฏิบัติที่สำคัญที่สุดในการควบคุมวัชพืช […]

No Comments read more

ทางเลือกในการกำจัดวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี#1 การควบคุมวัชพืชด้วยความร้อน (Thermal Weed Control)

Posted: 06/03/2021 at 09:07   /   Agriculture, ทางเลือกในการกำจัดวัชพืช

การควบคุมวัชพืชด้วยความร้อน (Thermal Weed Control) การควบคุมวัชพืชด้วยความร้อนไม่ได้หมายถึงการเผาวัชพืชให้เป็นเถ้า เพียงแค่ให้ความร้อนแก่วัชพืชถึง 70ºC ประมาณหนึ่งวินาที ที่อุณหภูมินี้เซลล์พืชจะแตกออกและโปรตีนของพืชจะถูกทำลาย จากนั้นวัชพืชก็เหี่ยวเฉาและตาย เวลาที่เหมาะสมสำหรับการควบคุมวัชพืชด้วยความร้อนคือในช่วงแรกของการเจริญเติบโต การควบคุมวัชพืชด้วยความร้อนมีเพียงวัชพืชเท่านั้นที่ถูกทำลาย  การควบคุมวัชพืชด้วยความร้อนส่วนใหญ่มีผลต่อส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินของพืช แต่วัชพืชบางชนิด (เช่นวัชพืชยืนต้น) อาจงอกขึ้นมาใหม่ จำเป็นต้องใช้การควบคุมวัชพืชด้วยความร้อนซ้ำๆ การกำจัดวัชพืชด้วยความร้อนได้แก่ เปลวไฟ ไอน้ำ โฟมร้อน และน้ำร้อน   เปลวไฟ (Flame) การกำจัดวัชพืชด้วยไฟเป็นการใช้เปลวไฟเพื่อฆ่าหรือทำลายวัชพืช เครื่องเผาวัชพืชหรือเครื่องพ่นไฟเป็นเครื่องเป่าลมที่ดัดแปลงมาเพื่อส่งเปลวไฟไปยังระดับพื้นดิน โดยทั่วไปใช้โพรเพนเป็นเชื้อเพลิง ทันทีที่พืชสัมผัสกับเปลวไฟ เซลล์ของพืชจะแตกออกและพืชก็ตายอย่างรวดเร็ว การกำจัดวัชพืชด้วยเปลวไฟมีประสิทธิภาพในการกำจัดวัชพืชใบกว้างและวัชพืชที่มีลักษณะคล้ายหญ้า แม้ว่าการเผาจะไม่สามารถฆ่าวัชพืชยืนต้นได้ในครั้งเดียว แต่การเผาซ้ำสามารถใช้เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและทำให้คาร์โบไฮเดรตสำรองของวัชพืชที่เป็นไม้ยืนต้นหมดไป ข้อดี ควบคุมวัชพืชได้หลากหลาย ควบคุมวัชพืชที่ทนต่อสารกำจัดวัชพืช การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิในดินมีเพียงเล็กน้อย ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในดิน ก๊าซที่เผาไหม้ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อน้ำหรือดิน หรือเสี่ยงต่อการเกิดละอองลอย ไม่มีการผลิตก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของฝนกรด ข้อเสีย การเผาไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างวัชพืชและพืชที่ต้องการ อันตรายจากไฟไหม้ ห้ามใช้ในบริเวณที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ ความต้องการพลังงานสูง   ไอน้ำ (Steam)     การกำจัดวัชพืชด้วยไอน้ำเป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการจัดการวัชพืช เป็นเทคนิคการสัมผัสทางใบซึ่งใช้อุณหภูมิประมาณ […]

No Comments read more

พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GM Crops)#5 ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรม

Posted: 15/12/2020 at 14:47   /   Agriculture, พืชจีเอ็ม

สิ่งมีชีวิตที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมเกิดขึ้นโดยใช้วิธีการทางเทคโนโลยีขั้นสูงในการแทรกยีนหนึ่งหรือหลายยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งชนิด (พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์) ไปยังสิ่งมีชีวิตอื่น (ในกรณีนี้ถั่วเหลือง) ในพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็ม (Genetically modified crops; GM crops) ยีนที่แทรกมักจะเป็นยีนที่ต้านทานสารกำจัดวัชพืชหรือต้านทานศัตรูพืช ดังนั้นจากการโฆษณาทางการตลาดระบุว่าเกษตรกรสามารถใช้สารกำจัดวัชพืชหรือยาฆ่าแมลงน้อยลง เป็นการประหยัดต้นทุนและลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ส่งเสริมพืชจีเอ็มอ้างว่าเทคโนโลยีนี้ปลอดภัยอย่างสิ้นเชิง – ปลอดภัยสำหรับการบริโภคและปลอดภัยต่อโลก ถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมหรือถั่วเหลืองจีเอ็ม (Genetically modified soybean; GM soybean) คือถั่วเหลืองที่ได้รับการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรมด้วยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ในห้องทดลอง มอนซานโต (Monsanto) บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรข้ามชาติที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิต Roundup สารกำจัดวัชพืชที่มีส่วนผสมของไกลโฟเสต Monsanto ยังเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ดัดแปลงพันธุกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปี 1996 Monsanto ได้เปิดตัวถั่วเหลืองดัดแปลงพันธุกรรมที่ทนต่อไกลโฟเสต “Roundup Ready (พันธุ์แรกมีชื่อว่า GTS 40-3-2)” สู่ตลาดสหรัฐอเมริกา ในช่วงไม่กี่ปีหลังจากนั้น Roundup Ready ฝ้าย ข้าวโพด และพืชอื่นๆ ก็เปิดตัวเช่นกัน    แม้ว่าราคาพืชผลจะต่ำกว่า […]

No Comments read more

ระบบเกษตรพันธสัญญาในประเทศไทย (Contract Farming)

Posted: 10/11/2020 at 22:30   /   Agriculture, เกษตรไทย

เกษตรพันธสัญญาคืออะไร  เกษตรพันธสัญญา หรือ คอนแทรคฟาร์มมิ่ง (Contract Farming) คือ ระบบการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ หรือการเพาะปลูกพืช ที่มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงก่อนการผลิตระหว่างเกษตกรกับผู้ซื้อ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขสำหรับการผลิตและการตลาดของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เงื่อนไขเหล่านี้มักจะระบุราคารับซื้อผลผลิตจากเกษตรที่ตกลงกันตั้งแต่ต้น ที่เรียกว่า “ราคาประกัน” ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญา เกษตรกรตกลงที่จะให้ปริมาณและคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรตามที่ตกลงกันในสัญญา และส่งมอบตามเวลาที่ผู้ซื้อกำหนด โดยทั่วไปเกษตรกรตกลงที่จะทำตามคำแนะนำของผู้รับซื้อในด้านวิธีการผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต และการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพที่ผู้ซื้อต้องการ ส่วนผู้ซื้อจะสนับสนุนการผลิตของเกษตรกร เช่น หาแหล่งเงินทุนให้เกษตรกร จัดหาปัจจัยการผลิตได้แก่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ให้เทคโนโลยีการเกษตร และให้คำแนะนำด้านการผลิต ตลอดจนหาตลาดเพื่อกระจายผลผลิตให้เกษตรกร แนวคิดพื้นฐานของระบบเกษตรพันธสัญญาเชื่อว่าทั้งผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรกับเกษตรจะได้ผลประโยชน์ร่วมกัน   สาเหตุที่ต้องมีระบบเกษตรพันธสัญญา ทุกวันนี้โลกาภิวัตน์ได้นำโลกเข้ามาใกล้กันมากขึ้น ความต้องการอาหารและสินค้าเกษตรได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และแบบแผนการบริโภคอาหารของผู้บริโภคได้เปลี่ยนมาบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัย ตลาดอาหารในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งในเรื่องของการนำเสนอสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด การตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ในบริบทใหม่นี้ผู้ซื้อสินค้าเกษตรต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทานอาหาร (Food Supply Chain) เพื่อให้สามารถจัดหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีได้โดยตรงจากเกษตรกร เพื่อตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารจากลูกค้าของตนเอง เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร โรงแรม เป็นต้น   kissclipart.com จากการเปลี่ยนแปลงของโลกข้างต้น ทำให้เกิดรูปแบบของการบริหารจัดการทางธุรกิจสมัยใหม่ […]

No Comments read more

พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GM Crops)#4 ข้าวสีทอง ตอนที่ 3 ข้าวสีทองดีเบต

Posted: 31/10/2020 at 17:55   /   Agriculture, พืชจีเอ็ม

ข้าวสีทอง (Golden Rice) เป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมที่อุดมด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการขาดวิตามินเอ (Vitamin A Deficiency; VAD) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพในพื้นที่ที่ยากจนมาก ข้าวสีทองเกิดจากความคิดที่ว่าเทคโนโลยีชีวภาพสามารถแก้ปัญหาการขาดสารอาหาร ความอดอยาก และความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา Golden Rice มีชื่อตามสีทองซึ่งเกิดจากเบต้าแคโรทีน (β-carotene) ข้าวปกติไม่แสดงเบต้าแคโรทีนในเอนโดสเปิร์มซึ่งเป็นส่วนที่มีแป้งและใหญ่ที่สุดของเมล็ดข้าวซึ่งโดยปกติจะมีสีขาวนวล เบต้าแคโรทีนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโมเลกุลที่เรียกว่าแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายร้อยชนิดที่พืชสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติและมีสีเหลืองส้ม แคโรทีนอยด์เป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับมนุษย์เนื่องจากเป็นสารตั้งต้นของโมเลกุลที่จำเป็นในการเผาผลาญ ร่างกายมนุษย์เปลี่ยนเบต้าแคโรทีนหรือที่เรียกว่าโปรวิตามินเอ (pro-vitamin A) ให้กลายเป็นวิตามินเอ เมื่อผู้คนไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน เนื่องจากพวกเขากินพืชพันธุ์ธัญญาหารเป็นส่วนใหญ่ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวสาลี หรือข้าวฟ่าง พวกเขาจะเสี่ยงต่อการตาบอดและเป็นโรค พัฒนาการของข้าวสีทองเกิดจากความชุกของการขาดวิตามินเอ (VAD) ในเด็กทั่วโลก ในฟิลิปปินส์เพียงประเทศเดียวเด็กประมาณ 2.1 ล้านคนต้องทนทุกข์ทรมานจากการขาดวิตามินเอตามรายงานของ Ocampo ในปี 2017 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความยากจนในประเทศ แม้ว่าจะมีการแทรกแซงหลายอย่างเช่น โปรแกรมการเลี้ยงลูกด้วยนม การเสริมวิตามินเอ และการเสริมอาหาร อย่างไรก็ตามการแทรกแซงเหล่านี้ไม่เพียงพอในการต่อสู้กับการขาดวิตามินเอ ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ผู้สร้างและผู้เสนอข้าวสีทองได้เน้นย้ำโครงการข้าวสีทอง “Golden Rice Project” อย่างต่อเนื่องว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรเทา VAD […]

No Comments read more

พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GM Crops)#3 ข้าวสีทอง ตอนที่ 2 การพัฒนาและประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ “Golden Rice”

Posted: 29/09/2020 at 14:51   /   Agriculture, พืชจีเอ็ม

การเสริมวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน (β-carotene) จัดเป็นกลุ่มรงควัตถุ (pigment) ที่มีสีส้ม สีเหลือง เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ สารนี้เมื่อเข้าสู่รางกายจะได้รับการเปลี่ยนเป็นวิตามินเอจึงจะออกฤทธิ์ได้ เบต้าแคโรทีนเป็นแหล่งวิตามินเอที่มีประสิทธิภาพทั้งในอาหารทั่วไปและอาหารเสริมวิตามิน โดยทั่วไปถือว่าไม่มีพิษและไม่มีรายงานผลข้างเคียงที่เกิดจากการบริโภคเบต้าแคโรทีนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในอาหาร การขาดวิตามินเอ (Vitamin A Deficiency; VAD) ได้รับการยอมรับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญอย่างต่อเนื่องมานานกว่า 30 ปีในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ โดยเฉพาะในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประชากรบริโภคข้าวเป็นอาหารหลักคิดเป็นร้อยละ 80 ของอาหารประจำวัน ข้าวเป็นแหล่งแคลอรี่ที่สมบูรณ์แบบและมีโปรตีนและไขมัน แต่มีธาตุเหล็ก สังกะสี น้อยมาก และไม่มีวิตามินเอหรือสารตั้งต้นเบต้าแคโรทีน (β-carotene) จริงๆ แล้วต้นข้าวมีเบต้าแคโรทีนในเนื้อเยื่อสีเขียวส่วนที่เป็นใบและลำต้น แต่เอนโดสเปิร์มซึ่งเป็นส่วนที่กินได้ของเมล็ดข้าวไม่มีเบต้าแคโรทีนโดยสิ้นเชิง   เด็กและสตรีมีครรภ์มีความเสี่ยงสูงสุดจากการขาดวิตามินเอ (VAD) จากข้อมูลในปี 2005 ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มีเด็ก 190 ล้านคนที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ และหญิงตั้งครรภ์ 19 ล้านคนใน 122 ประเทศ ถูกประเมินว่าได้รับผลกระทบจากการขาดวิตามินเอ การขาดวิตามินเอเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการตาบอดที่ป้องกันได้ของเด็กเล็กในประเทศกำลังพัฒนา มีรายงานเด็กทั่วโลก 250,000-500,000 คนตาบอดในแต่ละปี […]

No Comments read more

พืชดัดแปลงพันธุกรรม (GM Crops)#2 ข้าวสีทอง ตอนที่ 1 การสร้างข้าวดัดแปลงพันธุกรรม “Golden Rice”

Posted: 23/08/2020 at 22:44   /   Agriculture, พืชจีเอ็ม

GMOs คืออะไร? สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (Genetically Modified Organism, GMOs) คือสิ่งมีชีวิตใดๆ ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมจากการใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ที่เกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งเข้าไปในยีนของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรมชาติ ทำให้ได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีคุณลักษณะที่เป็นประโยชน์ตามที่ต้องการ จีเอ็มโอถูกนำมาใช้ในการวิจัยและเพื่อผลิตพืชอาหารที่มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช ต้านทานต่อโรคพืช ต้านทานต่อสารเคมีกำจัดวัชพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อม รวมทั้งพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะผลิตและจำหน่ายหรือไม่ หลายกลุ่มต่อต้านการผลิตพืชอาหารดัดแปลงพันธุกรรมเนื่องจากกลัวความเสี่ยงด้านสุขภาพของมนุษย์และความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม มองไปรอบๆ ตัวเรา แตงโมไร้เมล็ด ข้าวโพดหวาน มันเทศอ้วน ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ล้วนเป็นตัวอย่างของการที่มนุษย์ได้ปรับปรุงลักษณะที่พึงปรารถนาในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยใช้พันธุวิศวกรรม ในทำนองเดียวกัน “ข้าวสีทอง (Golden Rice) ” ซึ่งเป็นพืชดัดแปลงพันธุกรรมหรือพืชจีเอ็ม (Genetically Modified Crops; GM Crops) ที่สร้างโปรวิตามินเอในเมล้ดข้าว การวิจัยที่นำไปสู่ข้าวสีทองดำเนินการโดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยปรับปรุงชีวิตของผู้คนนับล้านทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอฟริกาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งการขาดวิตามินเอเป็นโรคที่พบบ่อยและส่งผลกระทบต่อเด็กเล็กและสตรีมีครรภ์มากที่สุด ในช่วง 20 ปีนับตั้งแต่สร้างข้าวสีทองขึ้นมา การเปิดตัวโครงการข้าวสีทองในประเทศกำลังพัฒนาต้องเจออุปสรรค แม้โครงการข้าวสีทองจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการด้านมนุษยธรรมและปฏิบัติตามกฎข้อบังคับระดับชาติและนานาชาติที่ควบคุมสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ (GMOs) โครงการข้าวสีทองต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรงจากนักเคลื่อนไหวต่อต้านจีเอ็มโอที่มีกรีนพีซเป็นแกนนำ ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการนำพืชดัดแปลงพันธุกรรมมาบริโภค   วิตามินเอ วิตามินทั่วไปแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ […]

No Comments read more

การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตราย#3 คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)

Posted: 14/07/2020 at 17:01   /   Agriculture, การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอันตรายและทางเลือกทดแทน

คลอร์ไพริฟอส คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืช (insecticides) ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (organophosphate compound) ที่เป็นสารอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ใช้เพื่อฆ่าแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เนื่องจากมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส (acetylcholinesterase) ในระบบประสาทของแมลง องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้คลอร์ไพริฟอสเป็นสารประกอบที่มีอันตรายในระดับปานกลางตามความเป็นพิษเฉียบพลันของมัน การได้รับสารชนิดนี้ที่สูงกว่าระดับที่แนะนำนั้น เชื่อมโยงกับผลกระทบทางระบบประสาท, ความผิดปกติของพัฒนาการแบบถาวร และความผิดปกติของภูมิต้านทานผิดปกติ การได้รับสารนี้ในระหว่างตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อพัฒนาการทางประสาทของเด็ก คลอร์ไพริฟอสได้รับการจดสิทธิบัตรครั้งแรกในปี 1966 โดย Dow Chemical Company ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น Corteva ตามการควบรวมกิจการกับ DuPont ในปี 2019 ปัจจุบันคลอร์ไพริฟอสจดทะเบียนในกว่า 100 ประเทศทั่วโลกทั้งประเทศอุตสาหกรรมและประเทศกำลังพัฒนา  การใช้ คลอร์ไพริฟอส (chlorpyrifos) เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมากทางการเกษตรเพื่อกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชในพืชผลต่างๆ มากกว่า 50 ชนิด  และใช้ประโยชน์ในด้านสาธารณสุขเพื่อกำจัดแมลงในที่อยู่อาศัยตามอาคารบ้านเรือน เช่น ปลวก มด แมลงสาบ เป็นต้น ในภาคการเกษตร คลอร์ไพริฟอสเป็นยาฆ่าแมลงศัตรูพืชที่ใช้ฉีดพ่นลงในแปลงเกษตร จากคุณสมบัติของสารคลอร์ไพริฟอสในการออกฤทธิ์กำจัดแมลงได้หลายชนิด ทั้งเพลี้ย หนอนชนิดต่างๆ […]

No Comments read more