ประเทศจีนเป็นประเทศที่ค่อนข้างอุดมไปด้วยน้ำ ซึ่งความพร้อมของน้ำจืดต่อคนมีมากกว่าสองเท่าของเกณฑ์สากลสำหรับประเทศที่ขาดแคลนน้ำ อย่างไรก็ตามการกระจายตัวของแหล่งน้ำตามธรรมชาติเป็นปัญหาหลักของประเทศจีน แหล่งน้ำส่วนใหญ่ของจีนส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ คิดเป็น 81% ของแหล่งน้ำทั้งหมดในประเทศ ในขณะที่ภาคเหนือของจีนประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำ ดังนั้นการถ่ายโอนน้ำระหว่างลุ่มน้ำ (inter-basin water transfer) จึงเป็นวิธีสำคัญในการแก้ปัญหาวิกฤติน้ำของจีน
โครงการผันน้ำจากใต้สู่เหนือ (South–North Water Transfer Project; SNWT) เป็นหนึ่งในโครงการบริหารจัดการน้ำที่มีความทะเยอทะยานที่สุดเท่าที่เคยมีมาของโลก 4 ใน 5 แหล่งน้ำของประเทศจีนอยู่ทางตอนใต้ซึ่งมีจำนวนประชากรครึ่งหนึ่งของประเทศอาศัยอยู่ แต่ในภาคเหนือมีปัญหาการขาดแคลนน้ำ โครงการผันน้ำจากใต้สู่เหนือของประเทศจีนมีความซับซ้อนมาก จนรัฐบาลจีนต้องจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเพื่อพัฒนาโครงการ แนวคิดของโครงการคือ เป็นการลำเลียงน้ำที่เชื่อมโยงแม่น้ำสี่สายที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในภาคใต้ ไปยังภูมิภาคของภาคเหนือ ผ่านทางท่อ (pipelines), คลอง (canals) และอุโมงค์ (tunnels) รวมระยะทาง 2,400 กิโลเมตร และมีมูลค่าโครงการรวม 63,690 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.12 ล้านล้านบาท) ทำให้เป็นโครงการวิศวกรรมที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์
Chris Brown – Autumn Leaves (Explicit) ft. Kendrick Lamar
โครงการผันน้ำจากใต้สู่เหนือ (South–North Water Transfer Project) เป็นโครงการพื้นฐานของประเทศจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา มีเป้าหมายที่จะลำเลียงน้ำ 44.8 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี โครงการขนาดใหญ่นี้จะใช้เวลาก่อสร้างที่ยาวนานกว่า 50 ปี และจะแล้วเสร็จในปี 2050 ตามแผนงานที่วางไว้ งานของโครงการจะเชื่อมโยงแม่น้ำสายหลักสี่สายของจีน – แม่น้ำแยงซี, แม่น้ำเหลือง, หวู่เหอและไห่เหอ – และต้องมีการก่อสร้างเส้นทางผันน้ำ 3 เส้นทางซึ่งทอดยาวจากทิศเหนือจรดทิศตะวันออก ค่าใช้จ่ายในโครงการคาดว่าจะมีมูลค่าถึง 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2557 มีการใช้จ่ายไปแล้วกว่า 79 พันล้านดอลลาร์

จากภาพ พื้นที่สีฟ้าคือแอ่งน้ำ เส้นสีแดงคือเส้นทางน้ำ (economist.com)
เมกะโปรเจ็กต์ SNWT ประกอบด้วย เส้นทางคลองและอุโมงค์ส่งน้ำ 3 เส้นทาง ได้แก่ คลองส่งน้ำของเส้นทางสายตะวันออก, กลาง และตะวันตก เชื่อมต่อแอ่งของแม่น้ำแยงซี, เหลือง, ห้วยและไห่ เพื่อช่วยบรรเทาความขาดแคลนน้ำในเมืองทางตอนเหนือของจีน
1. เส้นทางผันน้ำสายกลาง (The Middle Route)
เส้นทางผันน้ำสายกลางเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคม 2557 ผันน้ำจากเขื่อนในมณฑลเหอเป่ย ทางตอนกลางขึ้นไปยังกรุงปักกิ่งและเทศบาลนครเทียนจินแล้ว 2,700 ล้านลบ.ม.และ 2,200 ล้านลบ.ม.ตามลำดับ ปัจจุบันน้ำใช้ในกรุงปักกิ่งร้อยละ 70 มาจากโครงการนี้ จากเดิมที่พึ่งพาน้ำใต้ดินเป็นหลัก
โครงการผันน้ำสายตะวันออก (ERP) มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในมณฑลเจียงซู มณฑลอานฮุย มณฑลซานตง จังหวัดเหอเป่ย และเทศบาลนครเทียนจิน
โครงการนี้ต้องการการประสานงานอย่างน้อย 15 จังหวัด ระยะทางโครงการ 1,156 กิโลเมตร ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเส้นทางนี้ 14.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหลายพื้นที่เป็นแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งจะต้องเลิกใช้น้ำของตัวเอง มันเกี่ยวข้องกับแหล่งโบราณคดีหลายร้อยแห่ง และผ่านสถานที่ทางศาสนาด้วยเช่นกัน และคนเกือบครึ่งล้านจะต้องถูกโยกย้ายออกจากพื้นที่ การดำเนินโครงการผันน้ำจากใต้ไปยังเหนือสายกลาง สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในเมืองขนาดใหญ่และขนาดกลางกว่า 20 เมือง อาทิ เช่นกรุงปักกิ่ง นครเที
โครงการผันน้ำสายตะวันออกจะเบี่ยงเบนน้ำจากแม่น้ำแยงซีที่อยู่ด้านล่างลำเลียงไปทางทิศเหนือ อัพเกรดคลองใหญ่โดยการใช้สถานีสูบน้ำ 24 ตัว เพิ่มน้ำเป็นระยะๆ ผ่านทางคลองใหญ่ที่มีอยู่ เพื่อลำเลียงน้ำไปยังกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน เมืองสือเจียจวน เพื่อดำเนินโครงการนี้ ต้องเพิ่มความสูงของเขื่อนกั้นน้ำในอ่างเก็บน้ำตันเจียงโข่ว จาก162 เมตรเป็น 176.6 เมตร จึงต้องเคลื่อนย้ายผู้อยู่อาศัยในบริเวณอ่างเก็บน้ำตันเจียงโข่ว ซึ่งอยู่ในมณฑลเหอหนานและหูเป่ยจำนวน 320,000 คนออกจากพื้นที่
3. เส้นทางผันน้ำสายตะวันตก (The Western Route)
โครงการผันน้ำสายตะวันตก มีระยะทางยาว 450 กิโลเมตร อยู่ในขั้นตอนการวางแผน โครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2050 น้ำจากแม่น้ำแยงซีจะถูกลำเลียงลงคลองใหญ่ (Grand Canal) ในตำบล Jiangdu จากนั้นน้ำจะถูกสูบโดยสถานีขนาดยักษ์ 400 m³ /s ที่ตั้งอยู่ริมคลองและถูกลำเลียงผ่านอุโมงค์ใต้แม่น้ำเหลือง ลงท่อระบายน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำใกล้กับเทียนจิน
ในการผันน้ำผ่านการระบายน้ำระหว่างแม่น้ำเหล่านี้ จำเป็นต้องมีเขื่อนขนาดใหญ่และอุโมงค์ยาวเพื่อข้ามที่ราบสูงชิงไห่ – ทิเบต และที่ราบยูนนานตะวันตก เส้นทางนี้ออกแบบมาเพื่อนำน้ำ 3.8 พันล้านลูกบาศก์เมตรจากแม่น้ำสาขาสามแห่งของแม่น้ำแยงซี ระยะทาง 450 กม. ข้ามเทือกเขา Bayankala ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ความเป็นไปได้ของเส้นทางนี้กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา โครงการนี้จะไม่เริ่มในอนาคตอันใกล้ นักสิ่งแวดล้อมได้ยกความกังวลเกี่ยวกับน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้น