Newsletter subscribe

Artificial Intelligence, Innovation

จริงหรือไม่ที่ Google กำลังสร้าง AI ให้กลายเป็น Skynet#7 Global Warming

Posted: 08/09/2020 at 23:16   /   by   /   comments (0)

 

Alan Walker – Diamond Heart

 

 

ก่อน สตีเฟน ฮอว์กิง (Stephen Hawking) จะเสียชีวิตในวัย 76 ปีในเดือนมีนาคม 2018 เขาได้พูดหลายครั้งเกี่ยวกับโชคชะตากรรมของโลกเรา  ภาวะโลกร้อน สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สงครามนิวเคลียร์ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่กำลังจะล้นโลก อุกกาบาตพุ่งชนโลก รวมทั้งการพัฒนาของ AI อาจนำมาซึ่งจุดจบของเผ่าพันธุ์มนุษย์ และเมื่อปี 2017 เขาได้ออกมาเตือนเป็นครั้งสุดท้าย และบอกว่ามนุษย์มีเวลาเหลืออยู่ในโลกอีกเพียงแค่ 200 ปีเท่านั้น หนทางเดียวที่จะรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์คือ ให้ส่งยานอวกาศออกไปเสาะหาดวงดาวใหม่สำหรับการตั้งอาณานิคมใหม่

 

 dailymail.co.uk

gephardtdaily.com

bestlifeonline.com

 

 

OneRepublic – Start Again

  

 

 bankersadda.com

ความตกลงปารีส (2015 Paris Agreement) เป็นความตกลงตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเริ่มนับตั้งแต่ปี 2020 ในความพยายามลดภาวะโลกร้อน (Global Warming) ซึ่งมีผู้นำ 195 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยเข้าร่วมลงสัตยาบันในการต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

news.err.ee

สาระสำคัญของความตกลงปารีสมีดังนี้

◾ ควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกินกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (pre-industrial level) และมุ่งพยายามควบคุมให้ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส

◾ ความตกลงปารีสตั้งเป้าจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงจนถึงระดับที่ต้นไม้ พื้นดิน และมหาสมุทร สามารถดูดซับก๊าซนี้ได้เอง

◾ ให้แต่ละประเทศทบทวนผลของความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุก ๆ 5 ปี

◾ ให้ประเทศที่พัฒนาแล้วช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่ด้อยกว่า ในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน (Global Warming) ในการใช้พลังงานทดแทน แทนการใช้พลังงานจากฟอสซิล (Fossil Fuels) 

 

arstechnica.com

เมื่อเดือนมิถุนายน 2017 Trump ได้ประกาศถอนตัวจากความตกลงปารีส ซึ่ง Trump ให้เหตุผลของการถอนตัวว่าเป็นเพราะข้อตกลงดังกล่าวทำให้สหรัฐเสียเปรียบประเทศต่างๆ สหรัฐจะต้องสูญเสียเงินมหาศาลไปกับการต้องปฏิบัติตามความตกลงดังกล่าว ซึ่งจะส่งกระทบต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานของสหรัฐ

การกระทำของ Trump ครั้งนี้เป็นการกระทำที่ตรงข้ามกับอดีตประธานาธิบดี Obama ที่พยายามหาทางลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ เพื่อต่อสู้กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

การถอนตัวของสหรัฐฯ จะทำให้ประเทศอื่นบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศได้ยากลำบากยิ่งขึ้น เนื่องจากสหรัฐฯเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นอันดับสองรองจากจีน และยังเป็นแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีที่สำคัญต่อประเทศกำลังพัฒนาในความพยายามแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

 

lobelog.com

จากการที่ Trump ประกาศถอนตัวจากความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเมื่อกลางปี 2017 Stephen Hawking ได้ออกมาระบุว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้โลกเปลี่ยนแปลงไป โดยไม่อาจกลับมาแก้ไขได้  และในปีเดียวกัน Stephen Hawking ได้กล่าวว่าวันหนึ่งโลกจะมีอุณหภูมิสูงถึง 460°C เหมือนดาวศุกร์ ถ้าเรายังไม่หยุดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา และกล่าวว่า คราวหน้าถ้าคุณเจอคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ให้บอกเขาไปว่า ให้เดินทางไปดาวศุกร์ ผมจะออกค่าเดินทางให้

 

mysoginy.blogberth.com 

Youtube.com

 

theguardian.com

สหประชาชาติ (UN) รายงานเมื่อเดือน พ.ย 2561 ว่าระดับของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) ในชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน (Global Warming) อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) พุ่งขึ้นถึงระดับสูงสุดทำสถิติใหม่ พร้อมเตือนโอกาสที่จะแก้ไข ใกล้จะถูกปิดลงแล้ว

รายงานขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization; WMO) ของ UN ระบุว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, มีเทนและไนตรัสออกไซด์ อยู่ในระดับสูงกว่ายุคก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม (pre-industrial revolution) เกือบ 50% โดยไม่มีสัญญาณของการที่จะกลับมาอยู่ที่ระดับเดิม

นาย Petteri Taalas เลขาธิการของ WMO กล่าวว่า “ ครั้งสุดท้ายที่โลกมีความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่ากับระดับปี 2561 นี้ คือ เมื่อ 3-5 ล้านปีก่อน ซึ่งเวลานั้นทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-3 องศาเซลเซียส  และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 10-20 เมตร  วิทยาศาสตร์บอกเราอย่างชัดเจนว่า หากเราไม่สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆในบรรยากาศอย่างรวดเร็วได้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตบนโลก จนหมดหนทางแก้ไขให้กลับมาดังเดิมได้ ”

WMO ยังเน้นถึงการค้นพบการผลิตสารเคมีต้องห้าม CFC-11 ซึ่งเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แล้วยังเป็นตัวทำให้โลกร้อนขึ้นและทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ WMO สืบพบว่าบางส่วนของการผลิตสารเคมีชนิดนี้อยู่ที่ประเทศจีน

 

 

Linkin Park – Until It’s Gone

You really don’t know what you’ve got until it’s gone ”

 

 

theatlantic.com

มีเมืองมากกว่า 9,000 เมืองได้ให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงปารีส 2015 ในความพยายามที่จะลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่มากกว่าหนึ่งในสามของเมืองเหล่านี้ยังไม่มีข้อมูลการการปล่อยมลพิษนี้ ซึ่งถ้าเมืองเหล่านี้ศึกษาสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีและมีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้เป็นปัญหาสำหรับเมืองเล็กๆที่มีงบประมาณไม่มากนัก

Google ต้องการช่วยเมืองเหล่านี้ในความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา  Saleem Van Groenou ผู้จัดการโครงการ Google Earth กล่าวว่า “Google ต้องการจะทำหน้าที่ของการเป็นผู้ให้ข้อมูลที่ดี เพื่อให้ประชาชนหรือหน่วยงานได้เข้าใจถึงสถานการณ์สภาพอากาศของเมืองที่อาศัยอยู่ และเมื่อเราเข้าใจและรู้ถึงปัจจัยหรือสิ่งที่สร้างปัญหาสภาพอากาศ เราจะได้เข้าแก้ไขปัญหาได้ถูกจุด”

ขั้นตอนแรกในการดำเนินการคือ Google จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา ได้แก่ ข้อมูลของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ไฟฟ้าในเมือง ข้อมูลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากระบบการขนส่ง (Transportation Emission) และจากตึกราบ้านเรือน (Building Emission)  ซึ่ง Google จะวัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ละเมืองออกมา รวมทั้งให้ข้อมูลของศักยภาพการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Potential) ในการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละเมืองใช้ในการพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมา ไม่ว่าจะเป็น การออกกฎหมาย ข้อบังคับ การหาหนทางแก้ไขปัญหา และติดตามความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหา ซึ่ง Google ผนวกข้อมูลเหล่านี้เข้ากับข้อมูลภูมิศาสตร์แสดงลงใน Google Map ได้เป็นเครื่องมือออนไลน์แบบใหม่ที่เรียกว่า “Environmental Insights Explorer (EIE)” ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย

 

sustainability.google.com

แผนที่จาก Environmental Insights Explorer แสดงข้อมูลการปล่อยปริมาณ CO2 ที่ถูกปล่อยออกมาจากสิ่งปลูกสร้างและจากการขนส่ง พร้อมทั้งแสดงศักยภาพของการใช้ Rooftop Solar (พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา) ในการลดปริมาณ CO2

ขณะนี้ (กันยายน 2018) Google ได้เริ่มใช้เครื่องมือนี้ใน 4 เมือง คือ Pittsburgh, Buenos Aires, Mountain View และ California ในอนาคต Google มีแผนที่จะขยายโปรแกรมนี้ไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนกระทั่งครอบคลุมทั่วโลก โดย Google ยอมรับว่านี้เป็นครั้งแรกที่ Google แชร์ข้อมูลของการขนส่งต่อสาธารณะชน ที่ผ่านมา Google ให้ข้อมูลชนิดนี้แก่หน่วยงานของรัฐเท่านั้น

 

truththeory.com

 

hhhhappy.com

พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เป็นแหล่งพลังงานที่ได้จากธรรมชาติรอบตัวเรา ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่องไม่หมดไป สามารถสร้างขึ้นเองได้ในธรรมชาติ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ  พลังงานชีวมวล (Biofuel) พลังงานคลื่นทะเล พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy) พลังงานกลุ่มนี้ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่่งแวดล้อมและช่วยลดโลกร้อน ทราบกันดีว่าเป็นพลังงานสะอาด (Clean Energy) ที่ทั่วโลกต้องการ

เมื่อสิ้นปี 2017 Google บรรลุถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ ได้ใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) 100% เต็มสำหรับศูนย์ข้อมูล (Data Centers) ของ Google ทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งแหล่งพลังงานส่วนใหญ่ได้มาจากฟาร์มกังหันลม (Wind Farm) และแผงโซล่า (Solar Cell) ที่ Google ซื้อมาจากผู้ผลิตพลังงานเหล่านี้

Urs Holzle รองประธานด้าน Technical Infrastructure ของ Google กล่าวว่า “เราเป็นผู้ซื้อพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) รายใหญ่ที่สุดในโลก”

 

ศูนย์ข้อมูลแห่งหนึ่งของ Google ในเนเธอร์แลนด์ ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนจากฟาร์มกังหันลม (cleantechnica.com)

Google มีแผนที่จะเป็นผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เองในอนาคต ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อนำมาใช้ในหน่วยงานของ Google เองแล้ว ยังมีแผนที่จะขายพลังงานชนิดนี้ให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมทั่วโลก เป็นการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดปริมาณคาร์บอนในบรรยากาศ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2010 Google ได้ลงทุ่มงบประมาณ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐในโครงการพลังงานหมุนเวียน นอกจากนี้ Google ยังแชร์เทคโนโลยีทางด้านนี้ให้กับโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของนักวิจัยหรือองค์กรอื่นๆ

 

blog.google.com

ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ของ Google มี Servers หลายพันตัว ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิในศูนย์ข้อมูลให้มีความเย็นตลอดเวลา ซึ่งต้องใช้พลังงานมาก  ที่ผ่านมา Google ใช้งบประมาณมหาศาลในการซื้อพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) มาใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับศูนย์ข้อมูลที่มีอยู่ทั่วโลกของ Google

Google DeepMind ได้พัฒนา AI มาช่วยจัดการระบบทำความเย็น (Cooling Systems) สำหรับ Servers ในศูนย์ข้อมูล Google พบว่า Machine Learning สามารถช่วยลดการใช้พลังงาน (Energy Saving) ของ Google Data Centers ได้ถึง 40% และยังทำให้ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (Power Usage Efficiency) เพิ่มขึ้น 15%

ในอนาคต Google คาดหวังที่จะมีการใช้ AI ในการจัดการเรื่อง Energy Saving ในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซ CO2 เป็นการเข้าช่วยแก้ปัญหาใหญ่ของโลกในขณะนี้ คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)