Newsletter subscribe
Tag: Alexander Friedmann

ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History Of Time) โดย สตีเฟน ฮอว์คิง#21 บทที่ 3 จักรวาลที่กำลังขยายตัว : รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล

Posted: 27/01/2021 at 09:15   /   A Brief History of Time, Universe

หลายปีก่อนการค้นพบของเอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี 1922 ฟรีดมันน์ตั้งสมมติฐานง่ายๆ สองข้อเกี่ยวกับจักรวาลนั่นคือ จักรวาลมีลักษณะเหมือนกันไม่ว่าเราจะมองไปทางใด และสิ่งนี้จะเป็นจริงเช่นกันหากเราสังเกตจักรวาลจากที่ใดๆ จากแนวคิดทั้งสองนี้ ฟรีดมันน์แสดงให้เห็นว่าเราไม่ควรคาดหวังว่าจักรวาลจะหยุดนิ่ง  ฟรีดมันน์คาดการณ์สิ่งที่ฮับเบิลพบ! สมมติฐานที่ว่าจักรวาลดูเหมือนกันในทุกทิศทางนั้นไม่ถูกต้องในสเกลละเอียด อย่างที่เราเห็นดาวดวงอื่นๆ ในกาแล็กซี่ของเราก่อตัวเป็นวงแสงที่แตกต่างกันทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืนเรียกว่าทางช้างเผือก (Milky Way) แต่ถ้าเรามองไปที่กาแล็กซีที่อยู่ห่างไกล ดูเหมือนว่าจะมีจำนวนเท่ากันไม่มากก็น้อย ดังนั้นจักรวาลจึงดูเหมือนจะเหมือนกันในทุกทิศทาง นี้เป็นมุมมองหนึ่งในสเกลใหญ่เมื่อเทียบกับระยะห่างระหว่างกาแล็กซี่โดยไม่สนใจความแตกต่างของเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย นี่เป็นเหตุผลที่เพียงพอสำหรับข้อสันนิษฐานของฟรีดมันน์ ซึ่งเป็นการประมาณคร่าวๆ กับจักรวาลที่แท้จริง    อเล็กซานเดอร์ ฟรีดมันน์ (Alexander Friedmann; 1888-1925) นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซียเป็นหนึ่งในนักทฤษฎีกลุ่มแรกที่ตั้งสมมติฐานการขยายตัวของจักรวาล เขาได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับจักรวาลในปี 1922: ประการแรกจักรวาลดูเหมือนกันในทุกทิศทาง (isotropic-same in all directions) และประการที่สองจักรวาลมีลักษณะเหมือนกันในทุกที่ (homogeneous-same in all places) แนวคิดเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าจักรวาลไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ เขาทำนายสิ่งที่ Edwin Hubble พบในภายหลังนั่นคือจักรวาลกำลังขยายตัว ถึงกระนั้นงานของ Friedmann ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจนถึงช่วงทศวรรษที่ 1930 เมื่อ Arno Penzias และ […]

No Comments read more