Newsletter subscribe
Tag: Cosmic Microwave Background

ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History Of Time) โดย สตีเฟน ฮอว์คิง#21 บทที่ 3 จักรวาลที่กำลังขยายตัว : รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล

Posted: 27/01/2021 at 09:15   /   A Brief History of Time, Universe

หลายปีก่อนการค้นพบของเอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี 1922 ฟรีดมันน์ตั้งสมมติฐานง่ายๆ สองข้อเกี่ยวกับจักรวาลนั่นคือ จักรวาลมีลักษณะเหมือนกันไม่ว่าเราจะมองไปทางใด และสิ่งนี้จะเป็นจริงเช่นกันหากเราสังเกตจักรวาลจากที่ใดๆ จากแนวคิดทั้งสองนี้ ฟรีดมันน์แสดงให้เห็นว่าเราไม่ควรคาดหวังว่าจักรวาลจะหยุดนิ่ง  ฟรีดมันน์คาดการณ์สิ่งที่ฮับเบิลพบ! สมมติฐานที่ว่าจักรวาลดูเหมือนกันในทุกทิศทางนั้นไม่ถูกต้องในสเกลละเอียด อย่างที่เราเห็นดาวดวงอื่นๆ ในกาแล็กซี่ของเราก่อตัวเป็นวงแสงที่แตกต่างกันทั่วท้องฟ้ายามค่ำคืนเรียกว่าทางช้างเผือก (Milky Way) แต่ถ้าเรามองไปที่กาแล็กซีที่อยู่ห่างไกล ดูเหมือนว่าจะมีจำนวนเท่ากันไม่มากก็น้อย ดังนั้นจักรวาลจึงดูเหมือนจะเหมือนกันในทุกทิศทาง นี้เป็นมุมมองหนึ่งในสเกลใหญ่เมื่อเทียบกับระยะห่างระหว่างกาแล็กซี่โดยไม่สนใจความแตกต่างของเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย นี่เป็นเหตุผลที่เพียงพอสำหรับข้อสันนิษฐานของฟรีดมันน์ ซึ่งเป็นการประมาณคร่าวๆ กับจักรวาลที่แท้จริง    อเล็กซานเดอร์ ฟรีดมันน์ (Alexander Friedmann; 1888-1925) นักฟิสิกส์และนักคณิตศาสตร์ชาวรัสเซียเป็นหนึ่งในนักทฤษฎีกลุ่มแรกที่ตั้งสมมติฐานการขยายตัวของจักรวาล เขาได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับจักรวาลในปี 1922: ประการแรกจักรวาลดูเหมือนกันในทุกทิศทาง (isotropic-same in all directions) และประการที่สองจักรวาลมีลักษณะเหมือนกันในทุกที่ (homogeneous-same in all places) แนวคิดเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าจักรวาลไม่ได้หยุดนิ่งกับที่ เขาทำนายสิ่งที่ Edwin Hubble พบในภายหลังนั่นคือจักรวาลกำลังขยายตัว ถึงกระนั้นงานของ Friedmann ก็ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจนถึงช่วงทศวรรษที่ 1930 เมื่อ Arno Penzias และ […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#22 รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลตอนที่ 2 CMB Anisotropy

Posted: 12/09/2020 at 23:47   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

จากทฤษฎีสภาวะคงที่ (Steady State Theory) จักรวาลไม่มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด จักรวาลมีสภาพดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนานแล้ว และจะคงอยู่ในสภาพนี้ตลอดไป นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงหลายคนในยุคนั้น รวมทั้งไอน์สไตน์เชื่ออย่างยิ่งกับทฤษฎีนี้   slideshare.net การท้าทายแรกต่อทฤษฎีสภาวะคงที่ มาจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (Theory of General Relativity) ที่ไอน์สไตน์ประกาศในปี 1915 ซึ่งทฤษฎีนี้อธิบายว่า มวลสารและพลังงานทำให้เกิดความโค้งของที่อวกาศ-เวลา ซึ่งความโค้งนี้คือความโน้มถ่วง ตอนที่ไอน์สไตน์พยายามสร้างทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป เขาพบว่าทฤษฎีของเขาดูเหมือนจะคาดการณ์การยุบตัวของจักรวาล โดยความโน้มถ่วงจะดึงดวงดาวและสสารอื่นๆเข้าด้วยกัน เป็นสาเหตุทำให้จักรวาลเกิดถล่มตัว (collapse) ลงอย่างช้าๆในตัวของมันเอง ซึ่งบ่งชี้ว่า สสาร พลังงานและเวลา มีจุดเริ่มต้น นั่นหมายความว่าจักรวาลมีจุดกำเนิด ไอน์สไตน์เรียกการค้นพบนี้ว่า “เป็นสิ่งน่ารำคาญ” เขาต้องการให้จักรวาลคงอยู่ด้วยตัวของมันเอง ไม่ขึ้นกับสาเหตุภายนอก เขาจึงเพิ่มค่าคงที่ทางดาราศาสตร์ที่เรียกว่า “Fudge factor (ปัจจัยเหลวไหล)” ลงไปในสมการของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของเขาเพื่อดึงความโน้มถ่วงกลับมา Fudge factor นี้ที่เขาเพิ่มเข้าไปจะอนุญาตให้จักรวาลรักษาสภาพคงที่ไว้ จะได้ไม่ไปขัดแย้งกับ Steady State Theory ที่เขาเชื่ออยู่ในขณะนั้น ประการหนึ่ง ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์มีการส่อความทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่สำคัญ เช่น การมีหลุมดำ (black […]

No Comments read more

กำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล#21 รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลตอนที่ 1 CMB Discovery & CMB Temperature

Posted: 12/09/2020 at 22:43   /   Origin and Evolution of The Universe, Universe

lovinthings.com รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล (Cosmic Microwave Background) เรียกย่อๆว่า CMB เป็นการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ปกคลุมทั่วทั้งจักรวาลอย่างสม่ำเสมอ การศึกษา CMB ทำให้นักจักรวาลวิทยาได้ข้อมูลสำคัญของจักรวาลยุคต้น เพราะมันเป็นรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่เก่าแก่ที่สุด เกิดในช่วงเวลาของการรวมตัวเป็นอะตอม (recombination) 380,000 ปีหลังการเกิดบิกแบง CMB คือความร้อนที่ยังหลงเหลืออยู่จากการระเบิดครั้งใหญ่ หรือเป็นเสียงสะท้อนของบิกแบง (Echo of Big Bang) ถือว่าเป็นหลักฐานที่หนักแน่นที่สุดหรือดีที่สุดที่สนับสนุนทฤษฎีบิกแบง ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบายการกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาลที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ในช่วงเวลาก่อนการค้นพบ CMB มีการถกเถียงการกำเนิดจักรวาลอยู่ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีบิกแบง (Big Bang Theory) และแบบจำลองสภาวะคงที่ (Steady State Model)   prezi.com มันเป็นสิ่งลึกลับว่าจักรวาลเกิดขึ้นได้อย่างไรและเมื่อไรที่จักรวาลจะถึงกาลสิ้นสุด มีการตั้งสมมุติฐานที่เรียกว่าแบบจำลองทางดาราศาสตร์เพื่อพยายามค้นหาคำตอบ มีอยู่ 2 แบบจำลอง คือ แบบจำลองบิกแบง (Big Bang Model) และ แบบจำลองสภาวะคงที่ (Steady State […]

No Comments read more