Newsletter subscribe
Tag: space-time

ประวัติย่อของกาลเวลา (A brief History Of Time) โดย สตีเฟน ฮอวฺ์คิง#15 บทที่ 2 อวกาศ-เวลา : ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์

Posted: 03/01/2021 at 11:02   /   A Brief History of Time, Universe

ในที่สุดในปี 1905 ไอน์สไตน์ได้ประกาศทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (Theory of General Relativity) ไอน์สไตน์ได้เสนอแนะว่าความโน้มถ่วง (gravity) ไม่ใช่แรงเหมือนแรงอื่นๆ แต่เป็นผลมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า อวกาศ-เวลา (space-time) ไม่ได้แบนอย่างที่เคยสันนิษฐานไว้ก่อนหน้านี้ แต่มันโค้งหรือ “บิดงอ” ตามมวลและพลังงานที่กระจายตัวภายใน space-time วัตถุเช่นโลกไม่ได้ถูกทำให้เคลื่อนที่ไปตามทางโคจรที่โค้งโดยแรงโน้มถ่วงตามแบบของนิวตัน แต่มันกำลังเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่ใกล้เคียงกับเส้นตรงที่สุดใน space-time ที่โค้งงอ หรือที่เราเรียกว่า เส้นจีโอเดสิก (Geodesic) จีโอเดสิก (Geodesic) คือเส้นทางที่สั้นที่สุด (หรือยาวที่สุด) ระหว่างจุดสองจุดที่อยู่ใกล้กัน ตัวอย่างเช่น พื้นผิวโลกเป็นพื้นที่โค้ง 2 มิติ Geodesic บนโลกเรียกว่า วงกลมใหญ่ (Great circle) และเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างสองจุด (รูป 2.8) เนื่องจาก Geodesic เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดระหว่างสนามบินสองแห่ง นี่คือเส้นทางที่เจ้าหน้าที่นำทางของสายการบินบอกให้นักบินใช้เส้นทางบินนี้ ในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป วัตถุจะเคลื่อนที่ตามเส้นตรงใน space-time 4 มิติ แต่อย่างไรก็ตามมันดูเหมือนว่าจะเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางโค้งในอวกาศ 3 มิติของเรา (สิ่งนี้ค่อนข้างเหมือนกับการดูเครื่องบินที่บินอยู่เหนือพื้นดินที่เป็นเนินเขา […]

No Comments read more

ประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History Of Time) โดย สตีเฟน ฮอว์คิง#14 บทที่ 2 อวกาศ-เวลา : อวกาศ-เวลาและกรวยแสง

Posted: 31/12/2020 at 09:06   /   A Brief History of Time, Universe

ทฤษฎีสัมพัทธภาพได้เปลี่ยนแนวคิดเรื่องอวกาศและเวลาไปตลอดกาล ในทฤษฎีของนิวตัน ผู้สังเกตการณ์ต่างๆจะวัดเวลาที่แสงใช้ในการเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ค่าเดียวกัน (เนื่องจากเป็นเวลาสัมบูรณ์) แต่วัดระยะทางที่แสงเดินทางได้ค่าแตกต่างกัน (เนื่องจากไม่ใช่อวกาศสัมบูรณ์) เนื่องจากความเร็วของแสงเป็นเพียงระยะทางที่เดินทางหารด้วยเวลา (v = d/t) ดังนั้นผู้สังเกตการณ์ต่างๆ จะวัดความเร็วแสงได้ค่าแตกต่างกัน ในทางกลับกัน ในทฤษฎีสัมพัทธภาพ ผู้สังเกตการณ์ทั้งหมดจะวัดความเร็วแสงได้ค่าเท่ากัน ดังนั้นเวลาที่วัดต้องแตกต่างกัน (เวลามาจากสูตรการคำนวณ ระยะทางที่แสงเดินทางซึ่งผู้สังเกตการณ์ต่างๆ ได้ค่าต่างกัน หารด้วยความเร็วของแสงซึ่งผู้สังเกตการณ์ต่างๆ ได้ค่าเท่ากัน; t = d/v) กล่าวอีกนัยหนึ่งทฤษฎีสัมพัทธภาพปฏิเสธแนวคิดเรื่องเวลาสัมบูรณ์ (absolute time)! ดูเหมือนว่าผู้สังเกตการณ์แต่ละคนจะมีมาตรวัดตามนาฬิกาของตัวเองและนาฬิกาของผู้สังเกตการณ์แต่ละคนไม่จำเป็นต้องตรงกับของผู้อื่น ผู้สังเกตการณ์แต่ละคนสามารถใช้เรดาร์เพื่อบันทึกสถานที่และเวลาของเหตุการณ์ โดยส่งคลื่นแสงหรือคลื่นวิทยุออกมา ส่วนหนึ่งของลำแสงจะสะท้อนกลับมาที่เหตุการณ์ และผู้สังเกตการณ์จะวัดเวลาที่เกิดการสะท้อน เวลาของเหตุการณ์จึงอยู่กึ่งกลางระหว่างเวลาที่ลำแสงถูกส่งออกไปและเวลาที่ลำแสงสะท้อนกลับมา: ระยะทางของเหตุการณ์คำนวณโดยครึ่งหนึ่งของเวลาที่ใช้สำหรับการเดินทางไป-กลับ คูณด้วยความเร็วแสง (ในแง่นี้เหตุการณ์คือสิ่งที่เกิดขึ้นที่จุดเดียวในอวกาศ ณ เวลาที่กำหนด) แนวคิดนี้แสดงไว้ที่นี่ซึ่งเป็นตัวอย่างของตาราง space-time การใช้ขั้นตอนนี้ ผู้สังเกตการณ์ที่เคลื่อนที่สัมพันธ์กัน จะกำหนดเวลาและตำแหน่งที่แตกต่างกันในเหตุการณ์เดียวกัน ไม่มีการวัดของผู้สังเกตการณ์ใดที่ถูกต้องไปกว่าการวัดของผู้สังเกตการณ์คนอื่นๆ แต่การวัดทั้งหมดมีความสัมพันธ์กัน ผู้สังเกตการณ์สามารถกำหนดเวลาและตำแหน่งที่ผู้สังเกตการณ์คนอื่นจะกำหนดให้กับเหตุการณ์ได้อย่างแม่นยำ หากเขารู้ความเร็วสัมพัทธ์ของผู้สังเกตการณ์คนอื่น ๆ ปัจจุบันเราใช้วิธีนี้ในการวัดระยะทางได้อย่างแม่นยำ เพราะเราสามารถวัดเวลาได้แม่นยำกว่าการวัดความยาว ในทางปฏิบัติ หนึ่งเมตรถูกกำหนดเป็นระยะทางที่แสงเคลื่อนที่ไปได้ในเวลา 0.000000003335640952 วินาทีเมื่อวัดโดยนาฬิกาซีเซียม อีกวิธีหนึ่งเราสามารถใช้หน่วยความยาวใหม่ที่สะดวกกว่าเรียกว่า […]

No Comments read more